อุปกรณ์จดจำ ( MEM ) สำหรับผู้พิการทางสายตา

อ่าน 14,921

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา เป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับผู้ที่ตาบอด หรือผู้พิการทางสายตา เมื่อ มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มทรู ( true innovation )ได้พัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์จดจำ ( MEM )เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะ ในการติดต่อสื่อสารให้กับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ฝีมือคนไทย ที่สามารถใช้ทดแทนเครื่องเขียนอักษรเบรลล์ด้วยมือชนิดพกพา ( Slate and Stylus ) และสามารถทดแทนBraille Notetakerจากต่างประเทศซึ่งราคาหลักแสนด้วย

มูลนิธิพุทธรักษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และ True Innovationได้ส่งมอบอุปกรณ์จดจำ (MEM)ซึ่งเป็นนวัตกรรมของคนไทยที่ช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา ส่งมอบให้กับ สำนักงานพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ. ) และวิทยาลัยราชสุดา ไว้ใช้ในการเรียนการสอนกับผู้พิการทางสายตาด้วย

อุปกรณ์จดจำ ( MEM )เป็นผลงานจากกลุ่มนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทเมล็ดพันธุ์ความคิด ในโครงการประกวด true innovation awards 2012 อุปกรณ์จดจำ ( MEM ) นี้ มีลักษณะเป็น อักษรเบรลล์ keyboard ที่มีหน่วยความจำในตัวสามารถจดบันทึกและแสดงข้อมูลด้วยเสียง

อีกทั้งสามารถใช้เป็นคีย์บอร์ด ควบคุมคอมพิวเตอร์ , สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ผ่านการเชื่อมต่อ usb bluetooth ผู้ใช้งาน สามารถย้อนกลับไปฟังความถูกต้องของข้อมูล ที่จดบันทึกและส่งข้อมูลที่บันทึกไปยังอุปกรณ์ไอที เพื่อส่งต่อและแชตสื่อสารกับคนอื่นได้

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าศูนย์นวัตกรรม True Corporation กล่าวว่า true มีความภาคภูมิใจที่อุปกรณ์จดจำ ( MEM ) ซึ่งเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย สามารถนำไปใช้ได้จริง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งผู้พิการทางสายตาในไทยตอนนี้มีมากถึง 7 แสนคน แม้อุปกรณ์จดจำ ( MEM ) นี่้จะคล้ายคลึง Braille Notetaker แต่ใหม่ในระดับโลก ซึ่งคิดโดยคนไทย รองรับภาษาไทย การออกแบบที่น้ำหนักเบา แสะสามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว ในราคาเพียงหลักหมื่น ทั้งนี้กลุ่ม true จะพยายามคิดค้นเพื่อประโยชต์ต่อสังคมต่อไป

นอกจากนี้ มูลนิธิพุทธรักษา โดยครอบครัวเจียรวนนท์ ได้สนับสนุนในการผลิตอุปกรณ์จดจำ จำนวน 100 เครื่อง ส่งมอบให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 เครื่อง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ และโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ และมอบให้แก่วิทยาลัยราชสุดา สถาบันอุดมศึกษาสำหรับผู้พิการของมหาวิทยาลัยมหิดล อีกจำนวน 50 เครื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนต่อไป ถือว่าเป็นการช่วยเหลือเด็กผู้พิการทางสายตา ในด้านการศึกษา การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น และทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากไอทีได้ด้วย



บทความแนะนำ


ภาพยนตร์มนต์เลิฟสิบหมื่นปาล์มมี่คอนเสิร์ตช่ารุ่นใหญ่ทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก