Boarding Pass คือ อะไร รู้ไว้ก่อนออกเดินทาง

อ่าน 14,278

สนับสนุนเนื้อหา

ก่อนอื่นต้องบอกว่า

บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง

ของ Boarding Pass เนื่องจาก มัชรูมทราเวลเล็งเห็นแล้วว่า

นักท่องเที่ยวหลายๆ ท่านไม่เข้าใจว่า Boarding Pass คือ อะไร

หลายคนตั้งคำถามว่า Boarding Pass ได้มาหลัง Check in ใช่หรือไม่? Boarding

Pass และ E-Ticket คือตัวเดียวกันรึเปล่า? ทำไม Boarding Pass และ Ticket

ต้องออกคู่กัน? และจริงๆ แล้ว Boarding Pass คือ อะไรกันแน่?

วันนี้เราจะไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ

Boarding Pass คือ ?!!

1. Boarding Pass คือ เอกสารที่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ผ่านขึ้นเครื่องบิน ในสายการบินที่นักท่องเที่ยวได้ทำการจองเอาไว้

2. Boarding Pass และ E-Ticket มิใช่ตัวเดียวกัน เพราะ E-Ticket

เป็นเอกสารยืนยันการเดินทาง ส่วน Boarding Pass คือ

เอกสารยืนยันการขึ้นเครื่อง

3. นักท่องเที่ยวจะได้รับ Boarding Pass

เมื่อไปเช็คอินที่เคาน์เตอร์ของสายการบินที่ได้ทำการจองเอาไว้ในวันที่

ต้องออกเดินทาง เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

เจ้าหน้าที่ก็จะออก Boarding Pass ให้

4. นอกจากนั้น เรายังสามารถรับ Boarding Pass ได้ เมื่อเช็คอินผ่านเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Self Service Check-in Kiosk) ที่สนามบิน

5. วิธีสุดท้ายที่จะสามารถรับ Boarding Pass

ได้ก็คือการเช็คอินออนไลน์ผ่านเว็บไซต์

หรือแอพพลิเคชั่นของสายการบินที่เราจะเดินทาง ซึ่งหลังจากเช็คอินเรียบร้อย

นักท่องเที่ยวก็พริ้นท์ Boarding Pass หรือจะเลือกเป็น E-Boarding Pass

เพื่อเก็บไว้ในโทรศัพท์ก็ได้เช่นเดียวกัน

6. Boarding Pass จะแสดงรายละเอียดการเดินทางของผู้โดยสาร

ในเที่ยวบินนั้นๆ ได้แก่ นามสกุล ชื่อ คำนำหน้าชื่อ เที่ยวบิน วันเดินทาง

ชั้นโดยสาร หมายเลขประตูทางออกขึ้นเครื่อง หมายเลขที่นั่ง เส้นทางการบิน

หมายเลขตั๋วโดยสาร และลำดับการเช็คอิน

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นเครื่อง

สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยขึ้นเครื่องบินมาก่อน

บางคนอาจไม่ทราบว่าคำศัพท์ต่างๆ ที่ระบุไว้บนเว็บไซต์ของสายการบิน

ในสนามบิน หรือบน Boarding Pass นั้นหมายความว่าอย่างไร ไปค่ะ?

ไปไขข้อข้องใจกัน

Itinerary = ใบรายละเอียดการเดินทาง โดยผู้เดินสารจะได้ใบนี้หลังจากที่ซื้อตั๋วเครื่องบินทางอินเตอร์เนตเสร็จแล้ว

Air Ticket = ตั๋วเครื่องบิน

E-Ticket =

ตั๋วเครื่องบินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบกระดาษ A4

ซึ่งทางสายการบินหรือเอเจนซี่จะส่งให้หลังจากการจองเสร็จสมบูรณ์แล้ว

โดยตั๋วชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ขึ้นเครื่องได้เลยนะคะ ต้องไป check in

ที่สนามบินในวันเดินทางเสียก่อน

Boarding Pass = ใบอนุญาตให้ผ่านขึ้นเครื่อง

Departure Time = เวลาเครื่องออก

Boarding Time = เวลาขึ้นเครื่อง

Departing = เครื่องออกจาก (สนามบิน) / เวลาออก

Arriving = เครื่องถึงที่หมาย (สนามบิน) / เวลาถึง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ Boarding Pass

1. พาสปอร์ต และ Boarding Pass คือสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับการเดินทาง

และการโดยสารบนเครื่องบิน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี

ห้ามทำหายอย่างเด็ดขาด

2. หลังจากการจองตั๋วเครื่องบินแล้ว ให้เก็บหมายเลข E-ticket

หรือหมายเลขสมาชิกของสายการบิน เนื่องจากข้อมูลนี้จะต้องใช้สำหรับการรับ

Boarding Pass

3. Boarding Pass จะถูกใช้เฉพาะผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วเครื่องบินเท่านั้น (ซึ่งชื่อและข้อมูลในบอร์ดดิ้งพาสจะยืนยันตัวตนของบุคคลนั้น)

4. ปัจจุบันหลายๆ คนมักจะถ่ายรูป Boarding Pass

ของตัวเองเผยแพร่ลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

เพราะอาชญากรสามารถสแกนบาร์โค้ดใน Boarding Pass ของท่าน

เพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวของท่านได้อย่างง่ายดาย

5. การใช้หรือการปลอมแปลง Boarding Pass ถือเป็นคดีอาชญากรรมที่ร้ายแรง

ขั้นตอนการขึ้นเครื่องบิน

หลังจากที่เราได้จองตั๋วเครื่องบินกับสายการบิน

หรือเอเจนซี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะได้รับ Itinerary หรือ E-Ticket

ซึ่งยังไม่ใช่ตั๋วที่ใช้ขึ้นเครื่องได้เลย เราจะต้องผ่านกระบวนการเช็คอิน

เพื่อยืนยันว่าเรามาถึงสนามบิน พร้อมขึ้นเครื่องแล้ว

(สำหรับผู้ที่เดินทางเป็นครั้งแรก หากกังวลว่าจะตกเครื่องหรือไม่

แนะนำว่าควรไปถึงสนามบินก่อนเครื่องออกประมาณ 2 ชั่วโมงค่ะ) โดยการเช็คอิน

วันนี้มัชรูมทราเวลก็จะมาแนะนำทั้งการเช็คอินที่สนามบิน

และการเช็คอินออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตค่ะ

Check-in ที่สนามบิน

1. พริ้นท์ E-ticket ก่อนออกเดินทางไปสนามบิน เพราะ E-ticket

นี้จะเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเดินทางของท่านรวมทั้งข้อมูลส่วนตัวเพื่อ

ยืนยันการรับ Boarding Pass

และให้ปฏิบัติตามกฎของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติอย่างเคร่งครัดในเรื่อง

ของพาสปอร์ตและกระเป๋าสัมภาระ

ทั้งนี้ผู้โดยสารควรจะไปให้ถึงสนามบินอย่างน้อยที่สุด 1

ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง

2. ปัจจุบันหลายๆ

สายการบินได้มีการติดตั้งเครื่องบริการตัวเองที่ใช้งานอย่างง่ายดายเอาไว้

ที่สนามบิน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนของการเช็คอิน

และไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอยเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการให้บริการ

ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินไปใช้เครื่องเช็คอินด้วยตัวเองที่บริเวณ

?Departures?

3. ป้อนหมายเลขยืนยัน E-ticket ของคุณ และข้อมูลอื่นๆ

ซึ่งอาจรวมถึงการรูดบัตรเครดิต

(เฉพาะผู้ที่ใช้บัตรเครดิตในการซื้อตั๋วออนไลน์)

หรือหมายเลขสมาชิกของสายการบิน (เพื่อใช้สะสมไมล์ของสายการบิน

ในกรณีที่บินบ่อยครั้ง)

4. กรอกข้อมูลไปทีละขั้นตอนตามที่เครื่องร้องขอ

และตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลเที่ยวบินของคุณ (เช่นเมืองที่จะเดินทางไป)

ยืนยันประเภทของที่นั่งและกระเป๋าเดินทาง

เมื่อทำเสร็จทุกขั้นตอนแล้วเครื่องจะพิมพ์ Boarding Pass (จำเป็นต้องใช้)

และแท็กกระเป๋าเดินทาง (ถ้าต้องการ)

5. ตรวจสอบและโหลดกระเป๋าสัมภาระที่เคาน์เตอร์ของตัวแทนสายการบิน

ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องโชว์ Boarding Pass

และพาสปอร์ตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย

ทั้งนี้อาจจะมีการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสักเล็กน้อย

(อาจเกี่ยวกับของที่นำติดตัวขึ้นเครื่อง และของที่โหลดลงใต้ท้องเครื่อง)

จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะติดป้ายแท็กที่กระเป๋าของท่าน

เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

6. เพื่อความปลอดภัย แม้ผู้โดยสารจะมีเพียงกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่อง

หรือมีเพียงกระเป๋าสัมภาระที่ต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่อง

แต่เจ้าหน้าก็จำเป็นที่จะต้องตรวจ Boarding Pass และพาสปอร์ตของท่าน

อันเป็นกฎระเบียบของสำนัก7.งานบริหารการบินแห่งชาติที่ต้องปฏิบัติตามอย่าง

เคร่งครัด

จากนั้นท่านควรเก็บเอกสารทุกอย่างไว้ในที่ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญหาย

Check-in ออนไลน์

1. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน

ผู้โดยสารควรทำการเช็คอินออนไลน์ไว้ล่วงหน้าเสียก่อน

โดยเปิดเข้าไปที่เว็บไซต์สายการบินที่ท่านได้จองตั๋วเอาไว้อย่างน้อยที่สุด

24 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง จากนั้นคลิ้กไปที่แท็บ ?Check-In?

2. กรอกข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วนสมบูรณ์

โดยในขั้นตอนของการเช็คอินออนไลน์

คุณอาจจะต้องใส่รายละเอียดของเที่ยวบินที่ทำการจองหรือหมายเลข E-ticket

(ซึ่งได้รับหลังจากทำการจองผ่านเว็บไซต์แล้วเรียบร้อยผ่านทางอีเมล)

นอกจากนี้คุณอาจจะต้องกรอกนามสกุลและเมืองต้นทางด้วย

3. ทำตามที่เว็บไซต์กำหนดไปทีละขั้นตอน ซึ่งก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการรับ

Boarding Pass บางสายการบินอาจจะมีการตั้งคำถามเพื่อความปลอดภัย

หรืออ้างอิงถึงน้ำหนักกระเป๋าเดินทาง หรือระบุหมายเลขที่นั่ง

ท่านควรเปลี่ยนข้อมูลเท่าที่จำเป็น (เช่นการปรับเปลี่ยนที่นั่ง)

และให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ

และกฎระเบียบของสายการบินว่าด้วยเรื่องสัมภาระที่จะนำติดตัวและโหลดลงใต้

ท้องเครื่อง

4. พริ้นท์ Boarding Pass และเก็บ Boarding Pass

ที่ได้รับรวมทั้งพาสปอร์ต หรือเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ (เช่นใบขับขี่สากล)

ไว้ในกระเป๋าที่ท่านจะต้องถือขึ้นเครื่อง

ห้ามทำหายหรือลืมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด็ดขาด

เพราะนี่คือสิ่งสำคัญสำหรับทริปการเดินทางของท่าน

5. เมื่อไปถึงสนามบิน ให้ไปยังเคาน์เตอร์สายการบินในช่อง ?Flight

Departures? เพื่อสแกนและโหลดกระเป๋าลงใต้ท้องเครื่อง

ขั้นตอนนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะท่านได้ทำการเช็คอินออนไลน์มาจากบ้าน

เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้อาจจะมีการตอบคำถามสักเล็กน้อยเกี่ยวกับสิ่งของที่ท่านได้นำติดตัว

ขึ้นเครื่อง

6. เพื่อความรอบคอบ แม้ว่าท่านจะไม่มีกระเป๋าที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่อง

แต่ก็ควรเดินทางมาถึงสนามบินอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทาง

จากนั้นจึงผ่านขั้นตอนการตรวจ Boarding Pass

กระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องและพาสปอร์ต

เมื่อเสร็จแล้วจึงตรงไปยังประตูขึ้นเครื่องที่กำหนดไว้ใน Boarding Pass

หากทำตามขั้นตอนทั้งหมดที่มัชรูมทราเวลแนะนำนี้แล้ว

นักท่องเที่ยวก็มั่นใจได้เลยค่ะว่า

จะสามารถขึ้นเครื่องได้โดยไม่ต้องตกเครื่องให้ช้ำใจอย่างแน่นอน



บทความแนะนำ


จังหวัดฉะเชิงเทราร้านอาหารที่กินFe'SteakSantaโปรโมชั่นอาร์เอสทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก