วิธีเก็บเงินสำหรับนักเรียนง่าย ๆ ออมเงินวันนี้ เป็นเศรษฐีอายุยังน้อย

อ่าน 7,281

เริ่มต้นปีใหม่นี้หลายคนคงจะตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้หลายอย่าง เพื่อความสำเร็จในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น หรือแม้แต่เรื่อง ?การออมเงิน? ก็เป็นความคิดที่ดีไม่น้อย ที่จะทำให้คุณมีกินมีใช้ไปตลอดทั้งปี เหมือนกับเรื่องราวดีๆ ที่ Life on campus ได้นำมาเสนอเกี่ยวกับการออมเงิน สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่จะทำให้น้องๆ กลายเป็นเศรษฐีย่อยๆ ภายในเวลาไม่กี่ปี จากกระทู้แนะนำเคล็ดลับการออมเงินกระทู้หนึ่งที่ได้โพสไว้ในเว็บไซด์พันทิป ที่เจ้าของกระทู้ได้นำวิธีการออมเงินแสนของเธอมาแชร์ เผื่อใครที่สนใจจะเอาเทคนิควิธีออมเงินของเธอไปทำตามบ้างก็ไม่ว่ากัน... อย่างแรกเราต้องมีเป้าหมายในการออม สำหรับเป้าหมายเรานะ 1. มีเงินเก็บ 5 แสนก่อนจบปี 4 2. พาพ่อกับแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ 3. ตอนรับปริญญา จะให้เงินพ่อและแม่ 200,000 มันอาจเป็นเป้าหมายเล็กๆ ที่จะทำเพื่อตัวเอง และพ่อแม่ ^^ เพื่อนๆ ลองตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น และ ระยะยาว แต่ละอย่างไว้ซัก 5 ข้อ ระยะสั้นก็ประมาณ 3 เดือน ระยะยาว เช่น ภายในสิ้นปีนี้ ลองตั้งเป้าหมาย แล้วเขียนติดไว้ที่ตัวเองเห็นทุกๆวัน ^_^ สำหรับการออมของเรา เราเริ่มคิดออมเงินตอนม.6 เราได้เงินใช้จากครอบครัว เดือนละ 10,000 บาท เราเริ่มจากออมเงิน แบบฝากประจำ 2 ปี เดือนละ 2,000 บาท เริ่มตอนเดือน ตุลาคม 2556 จนตอนนี้ 1 ปี 5 เดือน เรามีเงินเก็บจากบัญชีนี้ 32,000 บาท >>> ฝากประจำ เราจะฝากภายในวันที่ 1-3 ของเดือน เพราะแม่โอนเงินต้นๆเดือน แล้วเราจะรีบกดมาฝากเลย เหลือเท่าไหร่ อยู่ที่เราบริหาร <<< พอมาช่วงปิดเทอม ม.6 รอผลแอดมิชชั่น เราก็ว่างประมาณ 4-5 เดือน เราก็หาอะไรทำ เราอยู่บ้านในหมู่บ้าน ซึ่งมีเด็กเยอะพอสมควร เราก็ทำติวเตอร์สอนพิเศษที่บ้าน แต่ไม่ได้ทำจริงจังมากขนาดนั้น สอนเด็กเล็กๆ จนทำให้เรามีเงินเก็บตรงนี้ประมาน 30,000 บาท ^^ และพอขึ้น ปี 1 เราก็แบ่งการเก็บเงิน โดย 10,000 บาทที่แม่ให้เราใช้จ่าย 1 เดือน เรากดออก 2,000 บาทฝากประจำ เหลือ 8,000 บาท และในแต่ละวันที่มีการใช้จ่าย เราก็จดผ่านแอพ WepleMoney หรืออาจจะจดเอาก็ได้นะ

การใช้เงิน เราจะกดจากตู้ครั้งละ 500 และเก็บสลิปทุกครั้ง เราจะจดแบ่งเป็น วันที่ 1-7, 8-14, 15-21, 22-31 ว่าเรากดเงินช่วงละกี่บาท ตัวอย่างการจดเดือนที่แล้ว (ธ.ค. 57) วันที่ 1-7 กด 1,500 เหลือในบัญชี 6,500 บาท วันที่ 8-14 กด 1,000 เหลือในบัญชี 5,500 บาท วันที่ 15-21 กด 1,000 เหลือในบัญชี 4,500 บาท วันที่ 22-31 กด 1,000 เหลือในบัญชี 3,500 บาท Total กด 4,500 เงินเก็บ 2,000+3,500 = 5,500 บาท บอกก่อนว่า ค่าใช้จ่ายประจำวันทั้งหมดเป็นคนจ่ายเอง (ค่าอาหารทุกมื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าทำกิจกรรม ค่าค่าย ค่าสบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก หรือของอื่นๆในชีวิตประจำวัน) เดือนๆ นึง เรากดเงินใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท ต่อเดือน แต่ก็ไม่ได้ใช้เงินแบบงกขนาดนั้น ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บ เดือนละ 3,000 บาท สรุปเงินที่ครอบครัวให้ใช้จ่ายรายเดือน 10,000 บาท เราก็สามารถเก็บ 2,000+3,000 = 5,000 บาท 1 ปี เราก็จะมีเงินเก็บ 12 x 5,000 = 60,000 บาท และการเก็บเหรียญ !! เราจะไม่ใช้เหรียญ 5 และเหรียญ 10 ค่ะ วิธีการจ่าย เวลาเราจะใช้อะไร 5 บาท ถึงเราจะมีเหรียญบาทถึง แต่เราจะจ่ายแบงค์ 20 เพราะเราจะมีเงินเก็บ 15 บาท ^^ >> วิธีนี้วิธีเล็กๆ น้อยๆ นะ แต่เดือนๆนึงเรามีเงินเก็บจากส่วนนี้ ประมาณ 500 บาทเลยแหละ << จากการที่เราทำแบบข้างบนมาประมาณ 1 ปี ทำให้ตอนนี้ เรามีเงินแสนแรกเป็นของตัวเอง ตอนอายุ 19 ค่ะ กระทู้นี้เราไม่ได้จะมาอวดตัวเอง แต่ตั้งขึ้นมาเพื่ออยากให้ทุกคนมีเป้าหมายในการออมเงิน เชื่อว่ายังไงถ้าเรามีเป้าหมาย ทุกๆคนก็สามารถทำมันได้ค่ะ หลายๆ คนอาจมีรายรับต่างกันไป ก็เอาแนวทางของเราไปปรับใช้ได้นะ อาจจะไม่ได้เป็นวิธีที่ดีมาก และใช้ได้กับทุกคนนะ แต่ก็สามารถไปปรับเปลี่ยนเป็นแนวทางให้กับตัวเองเนอะ มีอะไรสอบถามหรือแนะนำ โพสกันได้นะคะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ ^^ ต้องขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บไซด์พันทิปรวมถึงเจ้าของกระทู้ที่มาช่วยบอกต่อเคล็ดลับวิธีการออมเงินแสนในแบบของตัวเอง ที่ทำแล้วได้ผลจริงมาให้ทุกคนได้ชมกัน นอกจากนี้ Life on campus ยังได้รวบรวมวิธีการออมเงินแบบต่างๆ มาให้ได้ชมกันอีกเพียบ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่รักการออม ชอบและถนัดแบบไหนเลือกทำตามกันได้เลย... 1. เก็บเฉพาะแบงค์ 50

วิธีนี้เราจะเลือกเก็บเฉพาะแบงค์ 50 บาท ตั้งปณิธานไว้ได้เลย เวลาซื้อของแล้วแม่ค้าทอนเงินมาเป็นแบงค์ 50 เมื่อไหร่ เก็บไว้ทันที ลองเก็บดูจนถึงสิ้นปีแล้วมาดูกัน จำนวนเงินจะมากอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว!!! 2. เก็บเฉพาะแบงค์ใหม่

คล้ายๆ กับการเลือกเก็บเฉพาะแบงค์ 50 บาท แต่คราวนี้เรามาตั้งปณิธานใหม่ว่า ?ถ้าเจอแบงค์ใหม่เมื่อไหร่ เก็บให้เรียบอย่าเอาไปใช้เด็ดขาด!!!? อาจจะเริ่มจากแบงค์เล็กๆ ก่อนเช่น 20 50 หรือ 100 บาท ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการออมเงิน แต่ถ้าใครสะดวกจะรวมแบงค์ใหญ่ๆ อย่างแบงค์ 500 หรือ 1000 บาท ไปด้วยก็ได้ไม่ว่ากัน 3. เก็บค่าข้าวกลางวันเข้ากระปุก...ทุกมื้อ

เวลาเราออกไปทานข้าวกลางวันต้องจดไว้เลยว่าวันนี้กินเข้าไปเท่าไหร่ จากนั้นก็จัดเก็บเงินจำนวนนี้เข้ากระปุกโดยพลัน และห้ามเก็บน้อยกว่านี้โดยเด็ดขาด เพราะจำนวนค่าข้าวกลางวันอาจดูไม่เยอะเกินไปเก็บได้สบายๆ แต่ถ้าเก็บครบเดือนแล้วมาดูกันว่ายอดเงินออมค่าข้าวกลางวันนี้จะทำให้คุณยิ้มแก้มปริ... 4. แบ่งเงินใส่ถุงสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน

เป็นอีกหนึ่งวิธีการออมเงินที่จะช่วยให้คุณวางแผนการใช้เงินล่วงหน้าได้ นั่นก็คือ ?การแบ่งเงินใส่ถุง? โดยการคิดคำนวนค่าใช้จ่ายในแต่ละวันว่าต้องใช้วันละเท่าไหร่ แล้วใส่ถุงพลาสติกไว้ จะหนึ่งอาทิตย์หรือหนึ่งเดือนก็ไม่ว่ากัน เวลาจะออกไปข้างนอกก็หยิบไปใช้ 1 ถุง 5. ออมเงินใส่กระปุกท่องเที่ยว

วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ชอบเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ อยากไปเที่ยวไหนหากระปุกมาไว้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ กระบี่ มัลดีฟ ญี่ปุ่น ก็ไปได้ทั้งนั้น เสร็จแล้วแปะป้ายที่ๆ คุณอยากไปไว้แต่ละกระปุก พร้อมกับหยอดเงินใส่ตามกำลังที่เราคิดเฉลี่ยไว้แล้ว รับรองพอถึงเวลาไปเที่ยวจริงๆ คุณก็จะมีเงินสำหรับไปเที่ยวแบบสบายๆ อย่างแน่นอน 6. เก็บเหรียญ แต่ละวันเหลือเหรียญเท่าไหร่หยอดออมสินให้หมด

อย่างแรกที่ต้องเตรียมคือ ?กระปุก? ที่ค่อนข้างจะใบใหญ่สักหน่อย สำหรับเอาไว้ใส่เหรียญ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับ 1 เดือน หรือ 1 ปีก็ตาม จากนั้นในแต่ละวันเหลือเหรียญที่ใช้เท่าไหร่ก็เก็บมาหยอดกระปุกเท่านั้น หรือจะเลือกเก็บเฉพาะเหรียญ 1 บาท, 5 บาท หรือเหรียญ 10 บาท ตามแต่สะดวกได้เลย และนี่คือเคล็ดลับดีๆ ที่ Life on campus ได้นำมาฝากกัน การออมเงินไม่ใช่เรื่องยาก หากรู้จักเลือกวิธีการออมที่เหมาะกับอุปนิสัยของคุณเอง และผลลัพธ์ที่ตามมาอาจทำให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างสบายขึ้น เพราะคำว่า ?ชักหน้าไม่ถึงหลัง? จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่รักการออมอย่างแน่นอน... ที่มาจาก : Pantip.com ขอบคุณภาพประกอบจาก : Internet



บทความแนะนำ


คาวต๋าสุนทรีILLSLICKเวชานนท์เล้าโลมตัวประหลาดเอเลี่ยนซากสัตว์ประหลาดทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก