กินไข่ ทำให้แผลปูด เป็นแผลเป็น จริงหรือไม่?

อ่าน 11,419

กรมสบส.เผยผลสำรวจพบ ประชาชนร้อยละ 60 เข้าใจผิดว่า กินไข่ ทำให้แผลปูด เป็นแผลเป็น

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยผลสำรวจปี 2559 พบว่าประชาชนอายุ 15

ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ยังเข้าใจวิธีการดูแลบาดแผลไม่ถูกต้อง โดยร้อยละ 60

เข้าใจผิดว่ากินไข่แล้วทำให้แผลปูดเป็นแผลเป็น โดยพบในคนภาคเหนือมากที่สุด

ร้อยละ 74 รองลงมาภาคกลางร้อยละ 69 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 62

กทม.และปริมณฑลร้อยละ 55 กลุ่มอายุที่เชื่อมากที่สุดคืออายุมากกว่า 50

ปีขึ้นไปร้อยละ 68

นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

(กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในปีงบประมาณ 2560 นี้

กรมสบส.มีนโยบายเร่งเผยแพร่ความรู้สุขภาพแก่ประชาชนนำไปใช้ปฏิบัติดูแลตัวเองและครอบครัวให้มีสุขภาพดี

ซึ่งปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทยขณะนี้ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความเชื่อที่ถ่ายทอดกันต่อๆกันมา

ซึ่งการปฏิบัติตามความเชื่อจะทำให้บุคคลมีความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัย

ถ้าต้องฝืนปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับความเชื่อ จะรู้สึกไม่ปลอดภัย

เกรงว่าจะเป็นอันตราย จึงไม่ส่งผลดีต่อการรักษาของแพทย์

หัวใจสำคัญของการ ดูแลบาดแผล ทุกชนิดไม่ว่าแผลถลอก แผลเล็ก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกและแผลผ่าตัด มี 2 ประการคือ

1.การรักษาความสะอาดแผล ป้องกันการติดเชื้อโรค และ 2.การบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

โดยสารอาหาร ที่ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ได้แก่

1.โปรตีน ซึ่งมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่

รวมถึงถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น

โปรตีนจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อทำให้เซลล์แต่ละเซลล์

ประสานยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน

2. วิตามินซี ซึ่งมีมากในผลไม้สดทุกชนิดพบมากในฝรั่ง

มะละกอ ส้มต่างๆ และยังพบในผักเช่นบร็อคโคลี่ พริกหวานสีแดง

วิตามินซีจะทำหน้าที่สร้างผนังของเซลล์

ทำให้เส้นเลือดฝอยมีความแข็งแรงและไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ

และยังช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้นและ

3.ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ตับ

ถั่วเหลือง ช่วยให้เซลล์จับกับวิตามินกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น

ดังนั้นไข่จึงไม่ใช่อาหารแสลงหรืออาหารต้องห้ามอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด

ส่วนแผลเป็นที่ปูดโต ไม่ได้เกี่ยวกับการกินไข่แต่อย่างไร

แต่เป็นธรรมชาติของเนื้อหนังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามในการดูแลบาดแผลทั่วไป ขอแนะนำให้ประชาชนทำความสะอาดแผลทุกวัน

หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรกหรือเปียกน้ำ เพราะอาจทําให้แผลเกิดการอักเสบได้

และควรสังเกตลักษณะบาดแผล หากแผลบวม แดง ร้อน สีของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง

ควรรีบไปพบ อสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดูแลรักษาต่อไป

ที่มาจากกลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ



บทความแนะนำ


ผู้ชายความรักผู้หญิงดูแลผิวElderScrollsLegendsบำรุงผิวปัญหาความรักสาวผิวแทนทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก