เรื่องของญี่ปุ่นที่แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ยังไม่รู้

อ่าน 13,454

หลายเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่พอลองถามคนญี่ปุ่นแต่คนญี่ปุ่นกลับตอบไม่ได้

จริงๆแล้วมีหลายเรื่องเลยล่ะที่คนญี่ปุ่นกว่า 90%

ไม่สามารถตอบได้แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นก็ตาม

วันนี้เราจะยกมาสัก 5 เรื่องที่ไม่ใช่แต่ชาวต่างชาติเท่านั้นที่ไม่รู้

แต่คนญี่ปุ่นเองยังแทบจะตอบไม่รู้เลย

ตู้ไปรษณีย์สมัยโบราณของญี่ปุ่นเป็นสีดำหรอ?

ในตอนต้นของสมัย Meiji

ตู้ไปรษณีย์ของญี่ปุ่นไม่ใช่สีแดงแบบเช่นในทุกวันนี้ เมื่อปี 1871

ซึ่งเป็นปีแห่งการเริ่มต้นระบบไปรษณีย์นั้นถือเป็นการให้กำเนินตู้ไปรษณีย์ตู้แรกด้วยเช่นกัน

ในปีถัดมาหรือปี 1872

จำนวนของที่ทำการไปรษณีย์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้จำนวนตู้ไปรษณีย์ก็เพิ่มตามไปด้วย

จึงได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นโดยการใช้แผ่นไม้สนมาประกอบกันเป็นสี่เหลี่ยม

แล้วใช้แผ่นเหล็กปะตรงมุมแล้วทาสีดำกลายเป็นตู้ไปรษณีย์สีดำ

ซึ่งเจ้าตู้ไปรษณีย์สีดำนี้ถูกใช้มาเรื่อยๆเป็นเวลานานกว่า 30 ปี

สาเหตุที่ตู้ไปรษณีย์เปลี่ยนมาเป็นสีแดงเหมือนในปัจจุบันเป็นเพราะ

ตู้สีดำทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนนั่นเอง ในปี 1901

ได้ลองทำการเปลี่ยนวัสดุทำตู้ไปรษณีย์จากไม้มาเป็นเหล็กที่ทนไฟ

แล้วเปลี่ยนรูปทรงมาเป็นทรงกลม

รวมทั้งเปลี่ยนสีมาเป็นสีแดงที่สามารถมองเห็นได้ง่ายแม้ในความมืดเหมือนตู้ไปรษณีย์ของอังกฤษ

ซึ่งจากการทดลองก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี จนเมื่อปี 1908

จึงได้เปลี่ยนตู้ไปรษณีย์มาเป็นสีแดงอย่างเป็นทางการ

เมืองหลวงของญี่ปุ่น คือ โตเกียวจริงหรือ?

ที่จริงแล้วประเทศญี่ปุ่นไม่มีทั้งเมืองหลวงและผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการ

จริงอยู่ว่าสำหรับเมืองหลวงนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าคือ กรุงโตเกียว

แต่ในทางกฎหมายแล้วไม่ได้มีการระบุเอาไว้ว่าเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ไหน

การระบุเกี่ยวกับเมืองหลวงอย่างชัดเจนเป็นทางการนั้นเกิดขึ้นในสมัย Heian

ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ Heian-kyo หรือที่ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Kyoto

แต่หลังจากสมัย Heian

ก็ได้มีการเปลี่ยนศูนย์กลางทางการเมืองมาเรื่อยๆซึ่งก็คือ Kamakura Bakufu,

Ashikaga Bakufu และ Edo Bakufu

แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเมืองหลวงของประเทศ

สำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้วองค์จักรพรรดิเป็นตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์

ส่วนนายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล

ซึ่งในทางกฎหมายไม่ได้มีการระบุไว้ว่าใครคือผู้นำของประเทศ

นอกจากนี้ก็ไม่ได้มีการระบุไว้ว่ากีฬาของประเทศคือ ซูโม่

และไม่ได้มีการระบุไว้ว่าดอกไม้ประจำประเทศ คือ ดอกเบญจมาศหรือดอกซากุระ

เพราะเหตุใดตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นถึงมีทั้ง Kanji, Hiragana, Katakana

ตัวอักษร Hiragana

ถือกำเนิดขึ้นในยุค Heian

เป็นตัวอักษรที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเพียงแต่เสียงของตัวคันจิ

ซึ่งมีที่มาจากตัวอักษร Manyogana ที่ใช้ในการประพันธ์โคลงกลอนโบราณ

และในเวลาตัวมาตัวอักษร Manyogana ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นตัวอักษร Hiragana

สำหรับตัวอักษร Katakana ก็ถือกำเนิดขึ้นในสมัย Heian ด้วยเช่นกัน

หลายคนคงเข้าใจกันว่าตัวอักษร Katakana

ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอักษรที่แสดงถึงวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น

แต่ที่จริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ที่มาของตัวอักษร Katakana

เกิดจากนักบวชที่มาบวชเรียนอยู่ในวัดได้ดัดแปลงเอาบางส่วนของตัวอักษรคันจิมาทำเป็นตัวอักษรง่ายๆแล้วเขียนไว้ข้างๆตัวอักษรคันจิในพระสูตรเพื่อใช้เตือนความจำให้ง่ายได้ง่ายๆ

แหล่งกำเนิดของ Edomaezushi อยู่ที่ไหน?

Edomaezushi คือการนำเอาปลาที่จับได้จาก Edomae มาปั้นเป็นก้อน

ที่เรียกว่า Edomae นั้นหมายถึงอ่าว Edo หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าอ่าว

Tokyo แต่จำกัดความอยู่แค่บริเวณที่จับปลาตั้งแต่จาก Shinagawa ถึง Kasai

แล้วแหล่งกำเนิดของ Edomaezushi ที่ปั้นจากปลาที่จับได้จาก Edomae

มันอยู่ที่ไหนกันละ? ว่ากันว่า Edomaezushi เกิดจากไอเดียของ Hanayo Yohei

พ่อครัวชื่อดังในยุคนั้นที่ลองนำเอาเนื้อปลาหั่นมาวางลงบนก้อนข้าว Hanayo

Yohei

ได้แรงบันดาลใจในการทำซูชิแบบปั้นที่สามารถทานได้ทันทีมาจากซูชิแบบกดที่มีทานกันอยู่แล้วในสมัย

Edo

หลังจากนั้นก็ได้นำเอาซูชิแบบปั้นออกมาเดินเร่ขายจนขายดิบขายดีจนเปิดเป็นร้านใน

Ryogoku เขต Sumida ดังนั้นสามารถพูดได้ว่า Edomaezushi

หรือซูชิแบบปั้นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันมีที่มาจาก Ryogoku เขต Sumida

นั่นเอง

ทำไมคนญี่ปุ่นถึงยืนต่อคิวกันอย่างเป็นระเบียบไม่ว่าจะอยู่ในรถไฟหรือในร้านต่างๆ?

ชาวต่างชาติหลายๆคนมักจะประหลาดใจกับภาพที่เห็นคนญี่ปุ่นยืนต่อคิวรอขึ้นรถไฟกันอย่างเป็นระเบียบ

หรือแม้แต่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต, ตู้ ATM

หรือจะเป็นที่ไหนก็ตามก็มักจะเห็นภาพคนญี่ปุ่นต่อคิวยาวเหยียดอย่างเป็นระเบียบโดยไม่แสดงอาการรู้ร้อนรู้หนาวอะไร

ในโรงเรียนประถมและมัธยมของญี่ปุ่นจะมีการสอนให้นักเรียนเดินเรียงแถวกันอย่างเป็นระเบียบเวลาเคลื่อนย้ายไปไหนภายในโรงเรียน

ไม่ว่าจะเป็นในสถานีรถไฟ, ร้านอาหาร,

โรงหนัง, ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือที่ไหนก็ตาม

ดูจะเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไปแล้วที่จะต้องรอคิวโดยต่อแถวตามลำดับของตน

ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวได้รับการสอนกันทั้งจากโรงเรียนและครอบครัว

สิ่งต่างๆเหล่านี้คนญี่ปุ่นอาจจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อนและมองดูว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา

แต่สำหรับชาวต่างชาติที่มาจากต่างภาษาต่างวัฒนธรรมแล้วหลายๆเรื่องดูเป็นสิ่งที่ทำให้น่าประหลาดใจได้

ใครที่เคยถามคำถามเหล่านี้กับคนญี่ปุ่นแล้วยังไม่ได้รับคำตอบ

คราวนี้คงได้หายคาใจกันแล้วสินะ

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :

anngle.org

news.livedoor.com



บทความแนะนำ


อุทยานแห่งชาติเขาสกข่าวจีนเขื่อนเชี่ยวหลานอาร์สยมใบเตยไนกี้นิธิดลสุราษฎร์ธานีข่าวล่าสุดข่าวบันเทิงวันนี้ใบเตยสุธีวันลิฟท์หนีบทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก