หลายคนไม่เคยรู้ ตำลึงตัวผู้ กับ ตำลึงตัวเมีย แตกต่างกันอย่างไร?

อ่าน 2,813

ตำลึง หรือ ผักตำลึง ผักธรรมดาๆ บ้านๆ ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่นใส่ในแกงจืด แกงเลียง หรือลวกกินกับน้ำพริก เป็นผักที่ดี มีประโยชน์มาก และราคาไม่แพงแถมยังหาซื้อได้ง่าย จึงเป็นผักที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่เชื่อว่าหลายๆ คนมักไม่รู้ว่า ผักตำลึงมีทั้ง "ตัวผู้" และ "ตัวเมีย"

ซึ่งหากว่าใครที่ไม่รู้จักแล้วไปเกิดเก็บผักตำลึง "ตัวผู้" ไปประกอบอาหารทานเข้าไป ก็จะทำให้ท้องเสียได้ ดังนั้นเรามาดูกันค่ะว่า ตำลึงตัวผู้ กับ ตำลึงตัวเมีย แตกต่างกันอย่างไร? และสังเกตได้อย่างไร ตามไปดูกันเลย

ตำลึงมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ตำลึงตัวผู้ และตำลึงตัวเมีย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสังเกตได้ที่ใบของตำลึง ดังนี้

ลักษณะของใบตัวผู้ : ขอบใบจะหยักเว้าลึก ใบไม่เต็ม หรือ มีหยักเว้ามากกว่าใบตัวเมีย ถ้าเห็นลักษณะใบแบบนี้ไม่ควรเก็บมารับประทาน เพราะจะทำให้ท้องเสียได้

ลักษณะของใบตัวเมีย : ใบหยักตื้น รูปร่างเต็มจนเกือบกลม เป็นลักษณะที่มีประโยชน์ตลาดต้องการ เก็บมารับประทานได้ ไม่มีอาการท้องเสีย

คุณค่าทางอาหารของตำลึง

ในยอดตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเช่นกัน

สารพคุณทางยาสมุนไพรของตำลึง

ใบ : ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน

ใบแก่ ของตำลึงมีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อุดมไปด้วยสาร pectin ซึ่งหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านชาวตะวันออก ได้ใช้รักษาโรคเบาหวานแต่โบราณ

ดอก : แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ

ราก : ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน

น้ำยางจาก ต้น ใบ ราก : แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง

วิธีการใช้

1) รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

2) ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : รับประทานสดๆ เนื่องจากเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

3) ลดอาการคัน อักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)

4) แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

5) แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

6) แก้ตาช้ำตาแดง โดยตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

ใบตำลึงที่เรานำมากินเป็นอาหาร จะเป็นตำลึงตัวเมียค่ะ ส่วนตำลึงตัวผู้ เมื่อกินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจึงไม่ควรกิน แต่ตำลึงตัวผู้ก็มีฤทธิ์ทางยาสูงกว่าตำลึงตัวเมีย คนโบราณจึงมักใช้เป็นยา วิธีสังเกตความแตกต่างง่าย ๆ ก็คือ ใบตำลึงตัวผู้จะเว้าลึกถึงโคนใบ สรรพคุณทางยาของตำลึงก็คือ ช่วยดับพิษร้อน แก้ไข้ ลดระดับน้ำตาลในเลือดจึงดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน และใช้ตำพอกผิวหนังแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยหรือแก้เริม ดอกตำลึงใช้แก้คันผิวหนังได้ ส่วนรากก็ใช้เป็นยาแก้อาเจียนและลดไข้

ได้เข้าใจกันแล้วนะคะ ว่าผักตำลึงตัวผู้และตัวเมียนั้นแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งชนิดที่ทานได้คือตัวเมียนั่นเองค่ะ คราวนี้เมื่อเห็นต้นผักตำลึง เราเองก็สามารถเก็บมารับประทานได้เอง เป็นผักที่มีประโยชน์มากแถมราคาประหยัด หรือเราก็สามารถหามาปลูกไว้ริมรั้วประจำบ้านก็ได้นะคะ

ข้อมูลจาก kaijeaw.com



บทความแนะนำ


นกแอร์โปรโมชั่นปัญหาความรักดูดวงผู้หญิงทายนิสัยความรักผู้ชายทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก