ใครว่าผอมแล้ว ไขมันในเลือดสูงไม่ได้! มาทำความรู้จักกับไขมันร่างกายกันเถอะ

อ่าน 5,482

เคยเป็นไหม เห็นผู้หญิงหุ่นดีๆ เดินผ่านแล้ว

ก็เกิดคำถามขึ้นภายในใจว่า?เขากินข้าวบ้างหรือเปล่าอะ

เอาไขมันไปเก็บไว้ที่ไหนหมด

แล้วก็รู้สึกว่าอยากผอมและดูเพรียวบ้างจะต้องทำยังไง

สิ่งเหล่านี้เป็นการตัดสินจากภายนอก

ที่มองเพียงแค่รูปร่างเท่านั้นรู้ไหมว่าคนที่ดูผอม หุ่นดี หุ่นเพรียว

ก็สามารถเสียงที่จะมี ไขมันในเลือด สูงได้เหมือนกันนะ

เพราะไขมันที่ละลายอยู่ในกระแสเลือดนั้นเป็นคนละส่วนกับไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ไขมันในร่างกาย ประกอบด้วย ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง

ไขมันเหล่านี้มาจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ จากอาหารที่บริโภคและจากการที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง

ไขมันจะถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน นำไปสร้างฮอร์โมน

นำไปสร้างน้ำดีเพื่อช่วยในการดูดซึมอาหารไขมัน

และใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างเนื้อเยื่อของเซลล์

ไขมันในเลือด อยู่ในรูปไลโปโปรตีน

คือ เป็นสารประกอบของไขมันและโปรตีน

ซึ่งไลโปโปรตีนที่อยู่ในเลือดสามารถผสมเข้ากันกับส่วนประกอบต่างๆของเลือดได้

ส่วนของไขมันไลโปโปรตีนมีทั้งที่เป็น โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์

ฟอสโฟลิปิด และ กรดไขมันอิสระ ไขมันแต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างๆกัน คือ

โคเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้

และได้รับจากอาหารที่รับประทาน

ไขมันชนิดนี้เป็นสารตั้งต้นที่นำไปสร้างน้ำดี

เพื่อช่วยในการดูดซึมอาหารไขมัน และใช้สร้างฮอร์โมนบางชนิด

ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้และได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปโดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง

หรืออาหารที่มีรสหวาน ไขมันชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายสะสมไว้ใช้

ฟอสโฟลิปิดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์

ส่วนกรดไขมันอิสระเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย

ไลโปโปรตีนแบ่งตามความหนาแน่นของโมเลกุลได้เป็นหลายชนิด

แต่ที่เรารู้จักกันดี คือแอลดีแอล (Low density lipoprotein ? LDL) เป็น

ไลโปโปรตีนที่มีโคเลสเตอรอลประกอบอยู่ถึง 60%

ไลโปโปรตีนชนิดนี้จึงมีหน้าที่นำเอาโคเลสเตอรอลไปยังเซลล์ที่ต้องการใช้โคเลสเตอรอล

แต่หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

และหากมีโรคเบาหวานหรือมีโรคหัวใจร่วมด้วยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มขึ้น

วีแอลดีแอล (Very low density lipoprotein ? VLDL)

เป็น ไลโปโปรตีนที่สร้างจากตับประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ 45-60%

จึงมีหน้าที่นำไตรกลีเซอไรด์ไปเนื้อเยื่อต่างๆ

เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยเอมซัยม์ LPL จะสลาย ไตรกลีเซอไรด์ใน VLDL

ให้เป็นกรดไขมันอิสระที่พร้อมจะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ภาวะ VLDL

ในเลือดสูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน

เอชดีแอล (High density lipoprotein ? HDL)

เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย

มีหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่สะสมตามผนังหลอดเลือดหรือที่เนื้อเยื่ออื่นๆ

ไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL ในเลือดสูง

จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง การออกกำลังกายทำให้ค่า HDL ในเลือดเพิ่มมากขึ้นได้

จะเห็นได้ว่าร่างกายมีทั้งกระบวนการสร้างและย่อยสลายไขมัน

ตลอดจนกระบวนการนำไขมันที่สะสมในบริเวณที่ไม่สมควรกลับเข้าสู่ตับ

แต่ภาวะไขมันในเลือดสูงก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันภาวะไขมันในเลือดสูงจัดเป็นหนึ่งภาวะของกลุ่มอาการอ้วนลงพุง

(Metabolic Syndrome ซึ่งประกอบด้วย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ

ภาวะไขมันในเลือดสูง) ฉะนั้นคนอ้วน

(สตรีที่มีเส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ80 เซนตเมตร

และผู้ชายที่มีเส้นรอบเอวมากกวาหรือ เท่ากับ 90เซนติเมตร)

ก็น่าจะมีโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้มากกว่า

ทั้งนี้เพราะไขมันในช่องท้องจะทำให้เกิดกลไกการเผาผลาญน้ำตาลที่ผิดปกติมากกว่าไขมันที่กระจายอยู่บริเวณอื่นในร่างกาย

ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น

และเมื่อเป็นโรคเบาหวานก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูงด้วย

ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง เกิดจากการสะสมของน้ำตาลที่แปรสภาพเป็นไขมัน

แล้วไปเกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย หรือที่เห็นเป็นชั้นหนาๆ

ของไขมันบริเวณหน้าท้องนั่นเอง

ไขมันชั้นนี้ไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงมากนัก

เพราะเป็นไขมันที่สามารถกำจัดได้ง่ายกว่าไขมันในส่วนอื่น

ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)

ก็เป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนังเช่นกัน

เกิดจากการสะสมตัวของสารอาหารประเภทไขมันในอาหารที่ร่างกายเผาผลาญเป็นพลังงานไม่หมด

ทำให้ไปเกาะอยู่ตามบริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้องในลักษณะแทรกตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อของเซลล์ต่างๆ

ฉะนั้นเมื่อมองจากภายนอกแล้วเห็นเป็นหน้าท้องยื่นออกมา

แต่ถ้าหากลองอัลตร้าซาวด์ดูจะพบว่าอวัยวะภายในถูกห่อหุ้มไว้ด้วยถุงไขมันสีเหลือง

ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่อันตรายมากเมื่อเทียบกับไขมันบริเวณอื่นของร่างกาย

เพราะไขมันชนิดนี้จะสลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระ

สามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ

ดังเช่นการไปสะสมที่ตับจนเกิดภาวะไขมันพอกตับ เป็นต้น

นอกจากนี้ไขมันในช่องท้อง ยังเผาผลาญออกให้หมดยากกว่าไขมันในบริเวณอื่นด้วย

ผลเสียที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งคือ

กรดไขมันอิสระในกระแสเลือดที่เพิ่มขึ้นจะไปยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของกลูโคสที่กล้ามเนื้อ

ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง

จากชนิดต่างๆ ของไขมันจะเห็นได้ว่า

การที่จะบอกว่าคนๆ หนึ่งผอมหรืออ้วน

ประเมินจากการสะสมของไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง

แต่การจะบอกว่าคนๆ หนึ่งมีไขมันในเลือดสูงหรือไม่นั้น

ไม่สามารถประเมินด้วยตาเปล่า

ต้องรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจะทราบว่ามีไขมันในเลือดสูงหรือไม่

เพราะฉะนั้นคนผอม หุ่นดีก็มีภาวะไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน

ที่มา :www.thaihealth.or.th



บทความแนะนำ


ความห่างไกลอบอุ่นความเหงาเก่าแก่ที่สุดของโลกพ่อโสพ่อแต่งโมข่าวบันเทิงสเปิร์มฟอสซิลรังไข่-สเปิร์มแตงโมภัทรธิดาทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก