"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จ.นครปฐม

อ่าน 2,758

ที่แห่งนี้จะพาเราย้อนเข้าไปในยุคอดีต สมัยที่ปู่ย่า ตายาย

หรือพ่อแม่ของเราตอนเด็กๆ ได้ชมภาพยนตร์กันในยุคนั้นๆ

เป็นสถานที่ที่รวมประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของไทย

รวบรวมภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ ทั้ง ฟิลม์

สิ่งพิมพ์การโฆษณาเผยแพร่ภาพยนตร์

วัตถุและอุปกรณ์เกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์หนังสือและวารสารเกี่ยวต่างๆ

ที่หาดูได้ยากและมีคุณค่า

หอภาพยนตร์ได้อนุรักษ์เก็บรักษาไว้ อีกทั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด มีการจัดนิทรรศการกลางแจ้งรวมฉากสถานที่ที่เป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของตนเองไม่น้อยหน้าประเทศใดในโลกโดยเฉพาะมีการผลิตภาพยนตร์มาก

เคยติดอยู่ในอันดับที่ 12ของประเทศผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของโลก

คือผลิตภาพยนตร์เรื่องมากว่า 100เรื่องต่อปีเลยทีเดียว

โรงหนังตังค์แดง (Nikelodeon)

จำลองโรงหนังถาวรแรกมีในโลกซึ่งดัดแปลงขึ้นจากห้องแถวหลาย

ๆ ห้องทำเป็นโรงมหรสพ เก็บค่าเข้าชมเพียง 5 เซ็นต์ หรือ 1 นิเกิล

เมื่อรวมกับคำภาษากรีกว่า โอเดียน ซึ่งแปลว่า โรงมหรสพ

ชาวบ้านจึงนิยมเรียกโรงมหรสพราคาถูกแบบนี้ว่า นิเกิลโลเดียน (หรือถ้าเป็นไทยก็อาจเรียกว่า โรงหนังตังค์แดง) เริ่มเปิดแห่งแรกที่เมืองพิทท์สเบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย ในปี พ.ศ. 2448 ก่อนจะขยับขยายไปทั่วอเมริก

บรรยากาศภายในโรงหนังตังค์แดง Nikelodeon

โรงละครมงคลบริษัท (Mongkol Company Theatre)

โรงละครสมัยรัชกาลที่ 5 ของหม่อมเจ้าอลังการ ชาวบางกอกเรียกกันว่าโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ เปิดกิจการเมื่อ พ.ศ. 2439 เป็นโรงมหรสพที่โอ่โถงและคึกคักที่สุดของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น

ปีต่อมามีฝรั่งไม่ทราบสัญชาติ ชื่อ เอส. จี. มาร์คอฟสกี มาขอเช่าโรงเพื่อแสดงการละเล่นแปลกใหม่ เรียกว่า ซีเนมาโตรแครฟ คือรูปที่สามารถกระดิกแลทำท่าทางต่าง ๆ ได้ และเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรกในสยาม เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ถือเป็นวันกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม


มายาพาณิชย์ (Maya Panich)

ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกของหอภาพยนตร์ อาทิ พวงกุญแจ กระเป๋าผ้า เสื้อ แสตมป์ แก้วน้ำ ร่ม ฯลฯ รวมทั้งดีวีดีภาพยนตร์ ตลอดจนหนังสือและวารสารที่จัดพิมพ์โดยหอภาพยนตร์ ตั้งอยู่ในมงคลบริษัท


ประตูสามยอด (Sam Yot City Gate)

ประตูเมืองกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณต้นถนนเจริญกรุง และถูกรื้อถอนไปในช่วงปลาย รัชสมัย อดีตเป็นย่านชุมชนการค้าที่คึกคัก มีทั้งโรงบ่อน โรงหวย โรงมหรสพ และที่หลังโรงหวยริมประตูสามยอดนี้ เป็นที่ตั้งของโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ สถานที่จัดฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในสยาม ถือเป็นหลักหมายเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย


สถานีรถไฟศีนิมา

จำลองอาคารสถานีรถไฟสมัยรัชกาลที่ ๗ ในสถานีมีขบวนรถไฟสายภาพยนตร์จอดเทียบชานชาลาอยู่ นำขบวนด้วยหัวรถจักรไอน้ำ C56 ของญี่ปุ่น ที่กองทัพญี่ปุ่นส่งเข้ามาประจำการในภารกิจสงครามในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ่วงต่อด้วยตู้โดยสารชั้น ๑ ที่ภายในจัดแสดง ?นิทรรศการภาพยนตร์กับรถไฟ? จอดรอรับผู้โดยสารเพื่อพาสู่โลกของภาพยนตร์ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับรถไฟมาอย่างยาวนาน


รถหนังขายยา

หนังขายยา มหรสพยอดนิยมของชาวบ้านทุกท้องถิ่นทั่วประเทศที่เฟื่องฟูอย่างยิ่งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว ภายในนิทรรศการจัดแสดงรถฉายหนังขายยาของห้างขายยาเพ็ญภาคตราพระยานาค

วัตถุจัดแสดงชิ้นเอกประจำพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย อวดโฉมโดดเด่นท่ามกลางบรรยากาศการฉายหนังขายยายามค่ำคืน นอกจากนี้ยังมีฉากหนังขายยาจากภาพยนตร์ไทยเรื่องต่าง ๆ ให้ได้รับชม รวมทั้งจัดแสดงสิ่งของเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวข้องกับวิถีการชมภาพยนตร์ประเภทนี้


โรงถ่ายแบล็คมารีอา Black Maria

นิทรรศการกลางแจ้งจำลองโรงถ

่ายหนังแห่งแรกของโลก ?แบล็คมารีอา? ของโทมัส เอดิสัน ที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตภาพยนตร์ป้อนฉายในร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป ของเขา

รอบโรงถ่ายประดับแผ่นจารึกอนุสรณ์ของนักประดิษฐ์ผู้มีส่วนในการกำเนิดภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยุคเริ่มแรก พร้อมสัมผัสประสบการณ์การถ่ายหนังโบราณ โดยร่วมเป็นผู้แสดงในภาพยนตร์โบราณของหอภาพยนตร์เรื่อง ?คนกินกล้วย? เพียงครั้งละ 100 บาท พร้อมจัดส่งดีวีดีหนังคนกินกล้วยให้ทางไปรษณีย์


ลานดารา

ลานเกียรติยศดาราไทย จัดทำขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ดาราภาพยนตร์ไทย โดยเชิญมาประทับรอยมือรอยเท้า และจารึกชื่อบนลานดาราหน้าโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Chinese Theatres ฮอลลีวูด เพื่อเป็นอมตนุสรณ์ให้แฟนภาพยนตร์และผู้สนใจได้เรียนรู้และรำลึก


โรงแรมสคริบ Hotel Scribe

จำลองอาคารโรงแรมสคริบ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่ซึ่งพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของพวกเขาฉายภาพยนตร์ขึ้นจอเก็บค่าดูเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ภายในจัดแสดงนิทรรศการ Grand Caf? & Salon Indien ที่จะพาผู้มาเยี่ยมชมย้อนเวลาไปสู่วันที่ภาพยนตร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกอย่างเป็นทางการ


ร้านถ้ำมองคิเนโตสโคป (Kinetoscope Parlor)

จำลองร้านแสดงเครื่องคิเนโตสโคป ประดิษฐกรรมภาพยนตร์แบบถ้ำมองของโทมัส เอดิสัน ผู้คิดค้นภาพยนตร์ได้สำเร็จเป็นรายแรก ๆ ของโลก แต่เป็นภาพยนตร์แบบใส่ไว้ในตู้ ๆ ละ 1 เรื่อง ๆ ละประมาณ 1 นาที ให้หยอดเหรียญดูได้ทีละคน เปิดให้บริการร้านแรกที่ย่านบรอดเวย์ในนิวยอร์ก เมื่อ พ.ศ. 2437 ได้รับความนิยมจนขยายกิจการไปยังเมืองใหญ่ทั่วอเมริกาและทั่วโลก

ถ้ำมองคิเนโตสโคป (Kinetoscope Parlor) :หนังถ้ำมอง คิเนโตสโคป ซึ่งถือได้ว่าเป็นประดิษฐกรรมชิ้นแรกๆของโลก ที่ประสบความสำเร็จในการทำภาพให้เคลื่อนไหวได้

ประดิษฐกรรมคิเนโตสโคป เป็นประดิษฐกรรมของ โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือมานับร้อยนับพันชนิด ตั้งขึ้นเมื่อปี 1894 หรือ พ.ศ.2437 ร้านแรกตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

หนังทุกเรื่องที่ฉายในร้านหนังถ้ำมองนี้ จะถูกถ่ายทำขึ้นในโรงถ่ายแห่งแรกของโลกที่ชื่อว่า แบล็คมารีอา และเมื่อตัดต่อเสร็จสิ้น จะนำมาจัดฉายที่ร้านในลักษณะถ้ำมองแบบนี้ ซึ่งคิเนโตสโคปที่จัดแสดงในส่วนนี้สามารถชมได้โดยการหยอดเหรียญสิบบาทที่บริเวณหน้าตู้ และก้มดูจากช่องดูด้านบน


ซาลอน อินเดียน Salon Indien

ส่วนจัดแสดงแห่งนี้คือนิทรรศการ การจำลองฉายหนังขึ้นจอครั้งแรกของโลก นักประดิษฐ์สองพี่น้องชาวฝรั่งเศสนามว่า พี่น้องลูมิแอร์ ได้เผยประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ของตนให้ชาวโลกได้เห็นในชื่อว่า ซีนีมาโตกราฟ

การเช่าสถานที่ห้องโถงใต้ดินร้านกาแฟกร็องด์คาเฟ่ ที่ตั้งอยู่ในโรงแรมสคริบบ์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในคืนวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2438 หรือปีค.ศ.1895 ในค่ำคืนนั้นมีคนเข้าชมเพียง 33 คนเท่านั้น

โดยในห้องนี้ได้จำลองบรรยากาศการชมภาพยนตร์ที่ฉายขึ้นจอและเก็บค่าเข้าชมตามธรรมเนียมของการดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ภายในค่ำคืนดังกล่าวจริงๆ เพื่อให้ทุกท่านได้สัมผัสและดื่มด่ำไปกับความรู้สึกนั้นในวันแรกที่ถือได้ว่าเป็นวันเกิดภาพยนตร์โลก


กร็องด์คาเฟ่ Grand Caf?

จำลองร้านกาแฟในฉากโรงแรมสคริบบ์โดยภายในนี้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มหลากหลายชนิด ขนม และไอศกรีม

ที่อยู่:94หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล นครปฐม73170

โทรศัพท์ : 02-4822013, 02-4821087-88

เปิดให้บริการ :

  • ห้องสมุด: วันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 09.00 ? 17.00 น.
  • พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยและเมืองมายา :วันเสาร์ ? อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ 5 รอบ เวลา 10.00น. 11.00น. 13.00น. 14.00น. และ 15.00 น.
  • โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา วันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา

    17.30 น. วันเสาร์ ? อาทิตย์ เวลา 13.00 น. 15.00 น. และวันหยุดนักขัตฤกษ์

    เวลา 13.00 น.

    (กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในวันดังกล่าว)

เว็บไซต์ :http://www.fapot.org/th/home.phpฟสบุ๊ค :https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/



บทความแนะนำ


โปรโคดิลข่าวล่าสุดการศึกษายาแก้ไอเรียนเมืองนอกญี่ปุ่นสตูดิโอยูนิเวอร์แซลคอสเพลย์เรียนต่างประเทศเที่ยวญี่ปุ่นทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก