เรื่องใกล้ตัวที่เคยชิน!! 'โรคดึงผมตัวเอง' พร้อมการสังเกตอาการที่ต้องพบจิตแพทย์

อ่าน 9,647

เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนเคยชิน

ซึ่งคราวนี้จะพูดกันถึงโรคที่เรียกว่า "โรคดึงผมตัวเอง" (hair-pulling

disorder) ภาวะที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมถอนผม (ขน) ของตัวเองซ้ำๆ!!! จนทำให้ "ผมแหว่ง" หรือ "ล้าน" เป็นหย่อมๆ พบได้พอสมควร

เพียงแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในบ้านเรา ผู้ป่วยจำนวนมากจึงไม่ได้มาพบแพทย์

ใครที่เป็นอยู่ตอนนี้ หรือชอบดึงบ่อยๆ

ก็คงจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร แล้วจะพบได้บ่อยแค่ไหน??? ทั้งนี้โรคดึงผมตัวเอง

พบได้ประมาณ 1-2% ในประชากรทั่วไป

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ และ "ผู้หญิง"

เป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการหลักก็เป็นไปตามชื่อโรคนั่นแหละ...ผู้ป่วยมักชอบดึงผม

(อาจจะเป็นขนก็ได้) ตัวเองซ้ำๆ

ให้สังเกตุว่า...แต่ละครั้งมักทำไม่นาน

ไม่ได้ดึงติดต่อกันเป็นชั่วโมง แต่ทำบ่อยๆ เป็นพักๆ เรื่อยๆ ทั้งวัน

ซึ่งผลของการดึงผมนั้น ผมจะแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ

บางคนที่อาการหนักติดเป็นนิสัย

บริเวณผมที่หายไปอาจจะใหญ่มากจนเหมือนหัวล้านได้

ซึ่งลักษณะของการดึงผมของผู้ป่วย จะแบ่งได้เป็น 2 แบบ

1.ดึงโดยรู้ตัว

ผู้ป่วยจะรู้ตัวและจดจ่อกับการดึงผมตัวเอง

บางคนสิ่งกระตุ้นอาจเป็นความรู้สึกคันอยากจะถอน

โดยก่อนที่จะดึงอาจมีความเครียด หรือกังวลนำมาก่อน

เมื่อดึงแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ?ฟินอะไรทำนองนั้น?

2.ดึงโดยไม่รู้ตัว

กรณีนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่น ดูทีวีอยู่แล้วก็เผลอเอามือไปดึงออกเอง

โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่าผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมการดึงทั้งสองแบบผสมกัน

หากพูกถึงเรื่องสาเหตุแล้วนั้น...ถ้าเอาคำตอบง่ายๆ

คือ "ไม่ทราบแน่ชัด" แต่จากการศึกษาด้านกรรมพันธุ์

พบว่าคนที่มีญาติสายตรงเป็นโรคนี้ หรือ "โรคย้ำคิดย้ำทำ"

จะมีโอกาสป่วยสูงกว่าคนทั่วไป และจากการศึกษาการทำงานของสมองพบว่า

มีการทำงานที่ผิดปกติบริเวณสมองส่วนหน้า

โดยเฉพาะตำแหน่งของ "เบซัลแกงเกลีย" (basal

ganglia) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่หลัก เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

จึงเป็นสมองส่วนที่สำคัญมาก เพราะชีวิตเราต้องมีการเคลื่อนไหวที่ดี

จึงจะทำให้มีคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้ยังพบว่าอาการของโรคมักเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเครียดอีกด้วย

เหมือนเป็นวิธีลดเครียดอย่างหนึ่ง ทำประจำจนติดนิสัย

ส่วนตำแหน่งของการดึงผมหรือขนที่พบได้บ่อยที่สุด

ก็คือ "การดึงผมที่ศีรษะ" แต่ทว่าการดึงขนบริเวณอื่นๆ ที่พบได้บ้างได้แก่

ขนคิ้ว ขนตา ขนที่แขนขา หรือขนบริเวณอวัยวะเพศ

อาจจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิด "ความเครียด" หรือ "โรคซึมเศร้า" ตามมาได้ ผู้ป่วยมักต้องใช้วิธีต่างๆ เพื่อปิดบังผมที่แหว่ง

เช่น รวบผมเพื่อปิดบังไว้ หรือในรายที่เป็นมากอาจต้องใส่วิก

หรือใส่หมวกเวลาออกไปข้างนอก เป็นต้น

ระยะการดำเนินโรค

อาการมักเริ่มเป็นในช่วงวัยรุ่นอย่างที่บอกไป

แต่จะเรื้อรังต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา มักเป็นๆ หายๆ

เป็นพักๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เครียด กังวล

หรือในผู้หญิงอาการอาจเป็นเยอะขึ้นช่วงมีประจำเดือน เป็นต้น

ซึ่งแนวทางการรักษานั้น ปัญหาสำคัญอย่างแรกสำหรับในบ้านเรา

น่าจะเป็นที่ผู้ป่วยไม่มารับการรักษา ซึ่งคาดว่าเกิดจาก "ความไม่รู้"

ว่ามีโรคแบบนี้อยู่และสามารถรักษาได้

โดยผู้ป่วยที่มารักษาส่วนใหญ่

มักไปพบกับแพทย์ทางด้านโรคผิวหนังมากกว่า

จากนั้นจึงถูกส่งต่อมารักษากับจิตแพทย์อีกที

ซึ่งผู้ป่วยที่มาพบจิตแพทย์เองโดยตรงแต่แรก "มีน้อยมาก"

หากรักษาแล้วถือว่าได้ผลดีพอสมควร พฤติกรรมการดึงผมส่วนใหญ่จะลดลง ส่วนการ "รักษาด้วยยา" ก็ช่วยได้ หรือ "พฤติกรรมบำบัด" ก็ช่วยได้ผลดีเช่นกัน

ซึ่งการใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันจะได้ผลดีที่สุด

แต่อย่าเข้าใจว่าคนที่ดึงผมตัวเองจนแหว่งนี้ เขาเป็น "โรคจิต"

เพราะหลายคนยังมีความคิดเหมารวมว่า คนที่ไปพบจิตแพทย์ ต้องใช่แน่ๆ ต้องเป็น "คนโรคจิต" ซึ่งความเข้าใจผิดตรงนี้

มีส่วนทำให้คนจำนวนมากอายที่จะไปพบจิตแพทย์ จึงรู้สึกมีตราบาป

คุณหมอเองก็ไม่ได้เรียนกัน9ปี 10ปี เพื่อรักษาโรคจิตอย่างเดียวแน่นอน

ขอบคุณเนื้อหาจาก:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), [Online]www.thaihealth.or.th



บทความแนะนำ


คอนเสิร์ตเหรียญ5พันห้าเหรียญ5ปี40มอส-แคท-ไชน่าดอลท้าตำรวจท้าให้จับปราจีนบุรีเหรียญ5บาทปี2540ทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก