การจดทะเบียนหย่า รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อชีวิตคู่มาถึงทางตัน

อ่าน 2,931

การจดทะเบียนหย่าต้องทำอย่างไร ไม่รู้เรื่องกฎหมาย จะต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน อ่านเข้าใจง่าย ๆ ได้ที่นี่ ... เมื่อมีรักมีจดทะเบียนสมรส ก็ต้องมีเลิกรักและจดทะเบียนหย่า ใครกำลังมีปัญหาเหล่านี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก

ยามรักกันน้ำต้มผักก็ว่าหวาน แล้วกว่าจะผ่านด่านพ่อตาแม่ยายมาได้

จนมาแต่งงาน จดทะเบียนสมรสกัน สิ่งเหล่านี้ว่ายากแล้ว

แต่การหย่าร้างกันนั้นยากยิ่งกว่า

วันดีคืนดีเกิดโป๊ะแตกจับได้ว่าสามีแอบมีกิ๊กขึ้นมา

มีชู้จนชาวบ้านรู้กันทั่วนั่นแหละค่ะ ลูกก็ทิ้งให้เราเลี้ยง

เงินทองก็ไม่เคยมาส่งเสียเหลียวแล น่าเห็นใจคุณแม่นะคะ

อยากจะให้อดทนนึกถึงตอนรักกันและพูดคุยกันดี ๆ ก่อน

แต่ถ้าไม่ไหวจะเคลียร์แล้วจริง ๆ จะทำอย่างไรดี

มาอ่านข้อมูลตรงนี้ไว้เป็นความรู้กันนะคะ

การหย่านั้นสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

? 1) การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย

ต้องนัดกันไปจดทะเบียนหย่า

เพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย การหย่า

โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่ากันแล้ว

(ปพพ. มาตรา 1515)

? 2) การฟ้องหย่า

ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้หย่าในเมื่อพยายามหาทางพบปะพูดคุยกันหลายครั้งหลายหน

แล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้

เราก็ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมให้เข้ามาช่วยเหลือค่ะ

สาเหตุที่เราจะนำมาฟ้องหย่าได้นั้นอยู่ใน มาตรา 1516

เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1)

สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี

เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (และสามารถเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้อีกด้วย ตามมาตรา

1523)

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร

ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่าย

หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

? (3) สามีหรือภริยาทำร้าย

หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ

หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง

ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

? (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 1 ปี

ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนผิด หรือรู้เห็นด้วย

และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือเดือดร้อน

เกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(4/2)

สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา

ได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3

ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

? (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร

หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

? (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี ถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

? (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9)

สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรค

มีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

? (10) สามีหรือภริยามีสภาพไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

การจดทะเบียนหย่า

ขอให้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถทำความเข้าใจกันได้

เดินมาถึงทางตันของชีวิตคู่แล้ว หากยังพอมีความรักความผูกพัน

ปรับตัวเข้าหากันอีกสักครั้ง

แก้ไขอดีตไม่ได้แต่ทำให้ปัจจุบันและอนาคตดีได้นะคะ :)



บทความแนะนำ


สมรรถภาพทานอาหารโหราศาสตร์ที่เที่ยวเที่ยวต่างประเทศเพียงหนึ่งครั้งความเหงาTheYersเที่ยวในประเทศทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก