10 สัญญาณเตือน ที่บอกว่าแฟนคุณเป็นโรคกลัวความผูกพัน

อ่าน 5,241

ความรักไม่ใช่เพียงแต่สร้างความสุขอย่างมากที่สุดอย่างที่เข้าใจ ในทางกลับกัน มันยังสร้างความทุกข์ทรมานใจอย่างสาหัสได้เช่นกัน และหากว่ามีความรักและคนรักแล้วยังรู้สึกว่าเป็นเช่นนั้น แสดงว่าต้องมีอะไรที่ผิดปกติอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับคนใดคนหนึ่ง

ถ้าคุณสังเกตได้ว่าแฟนของคุณมีความผิดปกติต่อไปนี้ เป็นไปได้ว่าเขาหรือเธอน่าจะมีปมกับอดีตที่เลวร้าย เป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจให้เขาหรือเธอโดยด่วน !

1. ความสัมพันธ์ในอดีตมักมีระยะเวลาที่สั้น หรือไม่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ผูกมัด ถ้าแฟนของคุณยังไม่เคยแต่งงานมาก่อน และมีประวัติการคบหาแต่ละที่สั้น ๆ มีแนวโน้มได้ว่าเขาหรือเธอเป็นคนที่ไม่ชอบผูกมัดตัวเองกับใคร อย่างไรก็ตาม นี่แค่ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น เพราะบางทีแล้วเขาหรือเธออาจไม่ใช่คนเลวร้ายอย่างที่คิดเสมอไป ถ้าปัจจุบันเขาหรือเธอเข้ากับคุณได้ดี มันก็น่าจะโอเคที่สุดแล้ว

2. ไม่เต็มใจที่จะออกเดทหรือไปค้างคืนที่ไหนด้วยกันนาน ๆ เขาหรือเธอมักจะกลัวว่าระยะเวลาที่นานเกินไปในการอยู่ด้วยกันอาจทำให้อีกฝ่ายไม่สบายใจ จึงชอบที่จะขอผ่อนผันเป็นการออกเดทในระยะสั้น ๆ แบบรีบไปรีบกลับ กลัวว่ายิ่งอยู่นานจะยิ่งสร้างความผูกพันมากเกินไป (บางทีแล้วเขาหรือเธออาจมีธุระจำเป็นจริง ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตกลงกันอย่างไรให้รู้เรื่อง)

3. ไม่กล้าออกปากชวนคุณไปงานเลี้ยงส่วนตัว ไม่ว่าคุณจะรู้หรือไม่ก็ตาม ถ้าแม้แต่เดทกันสองต่อสองยังเป็นเรื่องที่คิดแล้วคิดอีก ก็อย่าหวังว่าคุณจะทราบข่าวว่าเขาหรือเธอจะเปรยถึงงานเลี้ยงที่บริษัทหรืองานเลี้ยงทานข้าว ของครอบครัวให้ได้ยิน เพราะเขาหรือเธอก็ชอบเป็นพวกที่หาความแน่นอนไม่ได้แม้กระทั่งจากตัวเอง ชอบที่จะเป็นพวกแว้บไปแว้บมามากกว่า เพราะไม่สามารถตอบตกลงใครได้แน่ชัด อาจจะเพราะกลัวคนอื่นยกเลิกนัด กลัวต้องไปพบเจอใครที่ไม่อยากพบเจอ หรือมีเหตุผลใดก็ตามที่ไม่สะดวกใจจะเข้าร่วมงานจริง ๆ (โรคกลัวการผูกมัดมิใช่เป็นแต่เพียงกับแฟน แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ที่ทำงาน ที่บ้าน เพื่อนฝูง)

4. พยายามใช้ถ้อยคำที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ไม่มีความแน่นอนอย่างเห็นได้ชัด เขาหรือเธอมักจะมีคำว่า ?บางทีแล้ว ...?, ?อาจจะ ...?, ?บางทีอาจจะไม่ ...?, ?ฉันน่าจะ ...?, ?ฉันไม่น่าจะ ...? และอะไรก็ตามอีกมากมายที่แสดงให้เห็นว่าไม่กล้าแสดงความชัดเจนให้เห็น มันทำให้เขาหรือเธอสามารถพลิกลิ้น มีข้อแก้ตัวและข้ออ้างได้เสมอ

5. กระตือรือร้นในเรื่องทางเพศมาก และบางทีก็เป็นแค่พวกรักสนุก คนที่เป็นโรคกลัวความผูกพันมักต้องการที่จะใกล้ชิดสนิทสนมกับทุกคน แต่ในทางกลับกันไม่ต้องการให้คนอื่นมาตีสนิทมากเกินไป และเพื่อเป็นการชดเชยในจุดนี้ เขาหรือเธอจึงเลือกที่จะให้ความสนใจในเรื่องเพศมาก และคิดว่ามันเป็นเงื่อนไขที่แฟร์ที่สุด แค่สนุกด้วยกัน เมื่อจบเกมส์ก็แยกกันไป

6. ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่มักหาคำอธิบายไม่ได้ แม้ว่าจะคบกับใครก็ตามมาเป็นเวลายาวนาน คนที่เป็นโรคกลัวความผูกพันกลับไม่สามารถบอกได้ว่าคนในความสัมพันธ์นั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร มีความทรงจำอะไรบ้าง เพราะเขาหรือเธอไม่ได้ใส่ใจพอที่จะเห็นความสำคัญเลย

7. ไม่กล้าพูดคำว่ารัก คนที่เป็นโรคกลัวความผูกพันเป็นคนที่แสดงออกได้ยาก และเข้าถึงความรู้สึกบางอย่างได้ยาก เขาหรือเธอจึงไม่ชอบพูดคำว่ารัก ในขณะที่คุณเข้าใจความหมายของคำนั้นได้ดีและกล้าพูดกล้าแสดงออกมาได้

8. เขาหรือเธอไม่ชอบใช้คำว่า ?แฟน? คนที่เป็นโรคกลัวความผูกพันไม่ชอบการตีตราตัวเองว่าเป็นใคร และหลีกเลี่ยงที่จะอธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณคืออะไร เขาหรือเธอสบายใจที่ได้อยู่ในสถานะที่คลุมเครือกันอย่างนี้เรื่อย ๆ

9. เขาหรือเธอเป็นคนที่ไม่มีเพื่อนสนิท เขาหรือเธออาจจะรู้จักใครต่อใครมากมายที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเพื่อน แต่สำหรับเพื่อนสนิทที่รู้ใจกันดีนั้นไม่มีสักคนเลย เพราะเขาหรือเธอคิดว่าคนอื่นไม่น่าไว้ใจเท่าตัวเอง ไม่มีใครที่สามารถรับฟังและเข้าใจยามที่เขามีปัญหาได้อย่างแท้จริง

10. เขาหรือเธอเป็นพวกที่คาดเดาอะไรไม่ได้ คุณไม่มีทางจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ, พฤติกรรม, อารมณ์, นิสัยที่แท้จริงที่เขาหรือเธอเป็นได้เลย เพราะเขาหรือเธอชอบทำตัวเป็นปกติ กลาง ๆ ไม่ว่าจะอยู่กับใครในสถานะใดก็ตาม ไม่เคยมีอะไรที่สร้างความเซอร์ไพรส์หรือเป็นจุดเด่นที่พอจะจำได้เลย

ดูเพียงผิวเผินอาจเป็นธรรมชาติของเขาที่คุณอยากปล่อยผ่าน แต่เมื่อใดก็ตามที่สัญญาณเตือนเริ่มสั่นสะเทือนถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเขา ถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับความเข้าใจกัน เพื่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้น



บทความแนะนำ


ผู้หญิงความสวยความงามการศึกษาทายนิสัยรสชาติอาหารทำนายนิสัยทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก