"ผักแว่น" สุดยอดผักพื้นบ้านคุณค่าเพียบ ใครไม่เคยกินต้องลอง!!

อ่าน 7,411

ผักแว่น เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่นำมารับประทานกันทั่วไป แต่เด็กรุ่นใหม่ๆอาจจะไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ เพราะผักแว่นจะเกิดในที่ลุ่ม ตามห้วย หนอง คลอง บึง

ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเห็นกันบ่อยครั้งตามทุ่งนาที่ปลูกข้าว ทำให้โดยส่วนใหญ่ล้วนไม่เป็นที่รู้จักในคนรุ่นใหม่หรือคนในเมืองเท่าไหร่นัก แต่หารู้ไม่ว่าผักบ้านๆ อย่างผักแว่น มีดีนะจะบอกให้ วันนี้ kaijeaw.com จะพารู้จักกับผักแว่นกันคะ

ผักแว่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามชายตลิ่ง หรือที่แฉะที่น้ำท่วมขัง มักพบเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นเป็นก้านยาวเลื้อยไปตามพื้น แตกรากและใบตามข้อหรือตาที่แตะกับพื้นและงอกเป็นต้นใหม่ มีก้านใบยาว แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ มีราก และใบงอกออกตรงข้อ ลำต้นมีกลิ่นหอมคล้ายรำ เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ตอนแก่มีสีน้ำตาล มีขนอ่อนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปร่างแบบสามเหลี่ยมปลายใบโค้งกลม ยาว 5-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายลิ่ม แตกออกจากปลายก้านใบจุดเดียวกัน โคนใบสอบเข้าหากัน ชอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น หรือเป็นจักฟันเลื่อย ไม่มีดอก แต่จะมีอับสปอร์เป็นเม็ดสีดำ คล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกเป็นช่อที่โคนก้านใบ มีก้านชู ขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ในดินร่วนซุยและต้องการความชื้นสูง ขยายพันธุ์โดยใช้เถาที่มีรากติดอยู่นำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ หรือขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์

สรรพคุณของผักแว่น

1. ผักแว่นมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง (ต้น)

2. ผักแว่นช่วยลดไข้ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)

3. ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ต้น)

4. ทั้งต้นใช้ผสมกับใบธูปฤาษี ทุบพอแตก ใช้แช่น้ำที่มีหอยขมเป็น ๆ อยู่ ประมาณ 2-3 นาที นำมาดื่มเป็นยาแก้ไข้ และอาการผิดสำแดงได้ (ทั้งต้น)

5. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ต้น)

6. ผักแว่นมีรสจืดและมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ระงับอาการร้อนใน แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม,ต้น)

7. ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคตาอักเสบ รักษาต้อกระจก ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน (ใบ, ต้น)

8. น้ำที่ได้จากการนำใบผักแว่นมาต้มช่วยสมานแผลในปากและลำคอได้ (ใบ,ต้น])

9. ช่วยรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)

10. ทั้งต้นใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้เจ็บคอ อาการเสียงแหบ (ใบ,ทั้งต้น)

11. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)

12. เนื่องจากมีเส้นใยอาหารมากจึงช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูกได้ (ต้น)

13. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)

14. ช่วยแก้ดีพิการ (ต้น)

15. ใบสดใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง และช่วยลดการอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทาบริเวณแผล (ใบ)

16. มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)

17. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ต้น)

18. ปัจจุบันมีการนำไปพัฒนาเป็นยาชนิดครีมที่นำมาใช้ทาเพื่อรักษาแผลอักเสบหลังการผ่าตัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)

ประโยชน์ของผักแว่น

1.ใบอ่อน ยอดอ่อน และก้านใบใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ ซุปหน่อไม้ ใช้เป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ทำแกงจืด แกงอ่อม เจียวไข่ เป็นต้นและเมื่อนำมาต้มจะมีลักษณะอ่อนนิ่มทำให้รับประทานได้ง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ

2.ในประเทศอินโดนีเซีย ในเมืองสุราบายา นิยมใช้ผักแว่นนำมาเสิร์ฟร่วมกับมันเทศและเพเซล (Pacel) หรือซอสเผ็ดที่ผลิตจากถั่วลิสงคำแนะนำในการรับประทานผักแว่น

? สำหรับผู้เป็นมะเร็งไม่ควรรับประทาน (ข้อมูลไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ว่าเพราะอะไรถึงไม่ควรรับประทาน)

? ตามตำนานหรือพิธีกรรมทางศาสนาของชาวเหนือมีความเชื่อว่า หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผักแว่น เนื่องจากผักแว่นมีลักษะของลำต้นเป็นเครือ โดยเชื่อว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ไปพันคอของเด็กทารกในท้องได้ ทำให้คลอดยาก หรือมีอาการปวดท้องก่อนคลอดนาน เปรียบเหมือนว่ารากผักแว่นยึดติดกับโคลนอยู่

เห็นได้ว่าผักแว่น นอกจากจะนำมาทำเป็นอาหารหรือเครื่องเคียงของอาหารแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ผักพื้นบ้านอย่างผักแว่นนี้ นอกจากหาซื้อได้ง่ายตามตลาดสดทั่วไปแล้ว ยังเป็นผักพื้นบ้านที่ปลอดสารพิษด้วย เพราะเป็นผักที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คนรักสุขภาพไม่ควรพลาดกันเลยนะคะ

ที่มา...kaijeaw.com



บทความแนะนำ


ผู้หญิงสมาร์ทโฟนยอมแพ้ไม่เคยให้อภัยไม่จริงใจsmartphoneซัมซุงภัยร้ายน้ำอัดลมสุขภาพทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก