เผยเคล็ด(ไม่)ลับ!!! กินมันเทศ..ช่วยลดความอ้วนได้ดีมาก แล้วยังสามารถรักษาโรคร้ายแรงเหล่านี้ได้อีกด้วย

อ่าน 11,572

มันเทศ เป็นพืชไร่ที่คนปลูกจำนวนมาก และนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะนำมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่ก็มีหลายคนหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานเนื่องจากมันเทศเป็นพืชที่จัดอยู่ในอาหารประเภทแป้ง จึงคิดว่าถ้ายิ่งรับประทานยิ่งจะทำให้อ้วน แต่หารู้ไม่ว่ามันเทศนั้นมีประโยชน์มากมาย

ลักษณะของมันเทศ

ต้นมันเทศ มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันมีอายุหลายปี มีความยาวได้ถึง 5 เมตร มีน้ำยางสีขาว ลำต้นทอดเลื้อย มีรากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก รากมันเทศมีระบบรากเป็นแบบรากฝอย ซึ่งจะเกิดจากข้อของลำต้นที่ปลูก หรือเกิดจากลำต้นที่ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน รากมันเทศจะเป็นที่สะสมอาหาร และสามารถใช้รับประทานได้ เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยระบายน้ำดี และชอบแสงแดดจัด โดยพืชที่อยู่ในวงศ์นี้จะพบได้มากในแถบเส้นศูนย์สูตรและภายใต้แถบศูนย์สูตร ส่วนในประเทศไทยมีปลูกกันทั่วไป แต่ส่วนใหญ่แหล่งปลูกจะเป็นจังหวัดในภาคกลาง โดยจังหวัดที่ปลูกมันเทศมาก ได้แก่ เชียงใหม่ เลย นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และตรัง

หัวมันเทศ มันเทศจะลงหัวในระดับความลึกไม่เกิน 9 นิ้วโดยหัวของมันเทศจะเกิดจากการขยายตัวของราก ซึ่งเนื้อเยื่อภายในรากที่เรียกว่า พาเรนไคมา (Parenchyma) เป็นส่วนที่สะสมแป้ง รากที่ขยายตัวเป็นหัวขึ้นมาอาจจะเกิดจากรากของลำต้นที่ใช้ปลูก หรืออาจเกิดจากรากที่เกิดจากข้อของลำต้นที่เลื้อยทอดไปตามพื้นดินก็ได้ ดังนั้นต้นมันเทศหนึ่งต้นอาจจะมีหัวได้หลายหัว หรือมากกว่า 50 หัว โดยลักษณะของหัวส่วนมากจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก หัวเรียว ท้ายเรียว ส่วนตรงกลางป่องออก และสีผิวของหัวและสีของเนื้อในหัวจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ โดยอาจจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีขาว หรือสีนวล และมักจะมีรากแขนงเกิดในร่องของหัว ผิวของหัวอาจจะเรียบหรือขรุขระ หัวมันเทศนอกจากจะให้อาหารจำพวกแป้งแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ (โดยเฉพาะในหัวสีเหลือง) วิตามินบี และวิตามินซีอีกด้วย

ใบมันเทศ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับบนข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ ใบจะมีขนาดและรูปร่างต่างกันแม้จะอยู่ในต้นเดียวกันก็ตาม เพราะบางใบอาจมีขอบใบเรียบ บางใบอาจเป็นรูปหัวใจ หรือบางใบจะมีหลายแฉก โดยปกติแล้วขอบใบจะเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย และมักจะมีสีม่วงตามเส้นใบ ก้านใบอาจยาวหรือสั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ดอกมันเทศ ต้นที่ปลูกในเขตอบอุ่นมักจะไม่มีดอก ส่วนต้นที่ปลูกในเขตร้อนจะออกดอก แต่มักจะไม่ติดเมล็ด ออกดอกเป็นช่อ โดยดอกจะออกตามซอกใบ มีก้านช่อดอกแข็งแรง ซึ่งมักจะยาวกว่าก้านใบ โดยมีความยาวประมาณ 3-18 เซนติเมตร เป็นสัน เกลี้ยงหรือมีขน ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 3-12 มิลลิเมตร มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีชมพูปนสีม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับดอกผักบุ้ง ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน กลีบดอกนอกยาว 7-12 มิลลิเมตร ปกติแล้วกลีบจะแยกจากกันอย่างอิสระหรืออาจจะเชื่อมกันที่โคน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้านและแยกจากกันอย่างอิสระ ก้านชูอับเกสรเพศผู้จะเรียกว่าก้านอับเกสร โดยจะมีความยาวไม่เท่ากันและเชื่อมติดกันอยู่กับฐานของกลีบดอก ส่วนรังไข่มี 2 ส่วน บางดอกอาจมี 4 ส่วน ในแต่ละส่วนจะมีไข่ 1-2 อันที่รับละอองเกสรเพศผู้ มี 2 แฉกอยู่ที่ก้าน เชื่อมติดกับรังไข่

ผลมันเทศ ผลแห้งและแตกได้แบบไม่เป็นระเบียบ ผลมีเปลือกแข็งหุ้ม ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล มีช่อง 4 ช่องหรือน้อยกว่านั้น ภายในเปลือกแข็งจะมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำ ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างแบน ด้านหนึ่งของเมล็ดจะเรียบ ส่วนอีกด้านจะเป็นเหลี่ยม โดยทางด้านเรียบจะเห็นรอยที่เมล็ดติดกับผนังรังไข่ที่เรียกว่า ?ไฮลัม? (Hilum) และมีรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ?ไมโครไพล์? (Micropyle) ส่วนเปลือกของเมล็ดค่อนข้างหนาและน้ำซึมผ่านได้ยาก

ประโยชน์ของมันเทศ 1. มีปริมาณไฟเบอร์สูงมาก จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 2. หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยบำรุงม้ามไต 3. เนื่องจากมีไฟเบอร์สูงจึงดีต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะทานแล้วอยู่ท้องทำให้อิ่มนาน 4. ช่วยลดไขมันในเลือดได้ 5.น้ำคั้นจากหัวใช้เป็นยาทาแก้แผลไฟไหม้ได้ 6. ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด 7. ดีต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากมันเทศสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ 8. ลดความเสี่ยงโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน 9.ใบใช้ตำพอกรักษาฝีได้ หรือจะใช้ใบตำผสมกับเกลือใช้พอกฝีก็ได้ ส่วนตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ยอดและใบมันเทศนำมาตำผสมกับยอดและใบผักขมใบแดงเป็นยาพอกฝี 10. เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชั้นดีเหมาะสำหรับรับประทานก่อนและหลังออกกำลังกาย 11.ทั้งต้นและหัวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา 12. บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งเพราะในมันเทศมีวิตามินซี 13. ยอดอ่อนนำมาแกงให้สตรีหลังคลอดบุตรรับประทานจะช่วยทำให้มีน้ำนม 14. มันเทศสีเหลืองและสีส้มจะมีส่วนช่วยบำรุงสายตาเพราะมีเบต้าแคโรทีนสูง

15. มันเทศสีม่วงสามารถต้านอนุมูลอิสระได้เนื่องจากในมันเทศสีม่วงนั้นจะมีสารแอนโทไซยานินค่อนข้างสูงซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ได้

16. ลดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบได้

17. ในมันเทศอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 จึงช่วยเรื่องเหน็บชาได้

18.หัวเป็นยาแก้บิด

จะเห็นได้ว่า มันเทศ เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก ไม่ใช่แค่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือช่วยในด้านการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจเท่านั้น มันเทศยังมีสรรพคุณหรือประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นใครที่อยากมีสุขภาพที่ดีหรือต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่กล่าวไว้นั้น มันเทศก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ



บทความแนะนำ


กายน้องบรู๊คลินน้องบีน่าดนุพรดาราบรู๊คเทคโนโลยีข่าวบันเทิงวันนี้ข่าวบันเทิงทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก