วิธีเลี้ยงปลาหมอชุมพร สุดยอดปลาเศรษฐกิจมาแรง...สร้างรายได้หลักล้าน

อ่าน 2,060

การเตรียมบ่อเลี้ยงการเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้

สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อหลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะ ที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60 -100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน

กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น

และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็น อุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา

การตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป

เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรู ปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง

แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้อง ใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย โดยเฉพาะ ในช่วงที่ฝนตกการปล่อยปลาลงเลี้ยงการปล่อยปลาปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธี คือ

การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้า หรือเย็นระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร โดยก่อนปล่อยลูกปลาออกจากถุงที่บรรจุ

ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อ ป้องกันปลาตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน ทำได้โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาที แล้วเปิดปากถุงวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ เทลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.50 เมตร

การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ทำโดย การคัดเลือกพ่อแม่ พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูมเมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่สีเหลืองออกมา ส่วนตัวผู้เมื่อใช้มือบีบที่ท้อง จะมีน้ำเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนมออกมา

เปรียบเทียบปลาหมอชุมพรและปลาหมอนา

เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวรอยู่ในบ่อที่ระดับน้ำไม่ น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผุ้เท่ากับ 1:1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่วันรุ่งขึ้น

เมื่อปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผงหรือ อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาป่น อัตรา1:1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่จนได้ขนาดตลาดอย่างไรก็ตาม สามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีน้ำเชื้อและไข่สมบูรณ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้วได้เช่นกัน โดยให้มีระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซนติดมตร พร้อมทั้งใช้ทางมะพร้าวปักคลุมทำเป็นที่หลบซ่อนและอนุบาลลูกปลาวัยอ่อย

อาหารและการให้อาหาร

ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อ ปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้ น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียอีกด้วย

การเปลี่ยนถ่ายน้ำถึงแม้ว่าปลาหมอเป็นปลาที่มีความอดทนทนทาน และสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำกว่าปกติก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี

ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งต้องแน่ใจว่าคุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ ไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก และสะอาดเพียงพอที่จะไม่ทำให้ปลาในบ่อเป็นโรคได้ ในช่วงเดือนแรกไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่ม ระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้วจึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้งโดยเปลี่ยนถายน้ำครั้งละ 1ใน3 ของน้ำในบ่อหรือขึ้นอยุ่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อ ด้วย

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดย ทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง

โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน หนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งเพื่อเตรียม บ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป

การป้องกันและกำจัดโรค

ในการเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำจืดหรือสัตว์น้ำกร่อย ปัญหาที่ผู้เลี้ยงประสบอยู่เสมอ คือปัญหาการเกิดโรค ดังนั้น การจัดการบ่อที่ถูก ต้องเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันมิให้เกิดโรคกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพราะการปล่อยสัตว์น้ำเกิดโรคจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่การตายของปลาที่เลี้ยงไม่จำ เป็นเสมอไปว่าจะเกิดจากการเป็นโรค เพราะบางครั้งอาจเกิดจากสภาพต่างๆ ในบ่อเลี้ยงไม่เหมาะสม เชายคุณสมบัติของน้ำ ความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง ชนิด และคุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยง ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์จะสามารถแยกได้ว่า สาเหตุการตายของปลาเกิดจากสาเหตุใด โดยทั่วไปโรคปลา หมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำในภาชนะแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้

โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ

โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง

โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้าน บนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก

การป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำ อีก 1-2 ครั้ง

โรคจากเชื้อราอาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา

การป้องกันและรักษา1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง

โรคแผลตามลำตัวอาการ ในระยะเริ่มแรกจะทำให้เกล็ดปลาหลุดและผิวหนังเริ่มเปื่อยลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวเป็นสาเหตุให้ ปลาเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราต่อไปสาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

การป้องกันและการรักษา

1.ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวก ไนโตรฟูราซาน ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ประมาณ 2-3 วัน2. แช่ปลาเป็นโรคในสารละลายออกซิเตตร้าซัยคลินในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของดรค อาจผสมยาปฏิชีวนะจำพวกออกซิเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปล่ 1 กิโลกรัมหรือ ใช้ยาปริมาณ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 5-7 วันวิธีปฏิบัติและข้อควรระวังในการใช้ยาและสารเคมี

การใช้ยาและสารเคมีทุกชนิดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และมีสิ่งควรปฏิบัติ ดังนี้1. ก่อนใช้ยาและสารเคมีทุกชนิด ควรอ่านวิธีใช้ให้ละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น2. เปิดภาชนะที่บรรจุยาด้วยความระมัดระวัง3 . ควรสวมถุงมือและใส่หน้ากากกันฝุ่นขณะใช้ยา4. เมื่อใช้ยาและสารเคมีแล้ว ควรชำระร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่และล้างภาชนะที่ใช้ให้สะอาด5. กรณีที่ใช้ยาผิดขนากกับสัตว์น้ำโดยใช้วิธีแช่ ควรถ่ายน้ำทันที ส่วนวิธีผสมอาหารควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนใช้ข้อควรระวังในการใช้ยา

ฟอร์มาลิน ควรใช้ในบ่อน้ำที่ไม่เขียวจัด และควรใส่ในตอนเช้าแต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ฟอร์มาลีนในบ่อน้ำที่มีสีเขียวจัดควรถ่ายน้ำออกจากบ่อ ประมาณหนึ่งในสาม แล้วเติมน้ำใหม่ก่อนใส่ยาเนื่องจากฟอร์มาลินจะทำให้พืชน้ำสีเขียวขนาดเล็กตาย และอาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้ปลาตาย ได้เกลือ การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นอย่างทันที ปลาอาจปรับตัวไม่ทันโดยให้แบ่งเกลือที่คำนวณได้แล้วออกเป็น 3 ส่วน และใส่ส่วนแรกลงไป เพื่อรอดูอาการปลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ต่อไปการคำนวนยาเพื่อใส่ในบ่อปลา

วัดขนาดความกว้าง ความยาวของบ่อ และระดับความลึกของน้ำในบ่อ (หน่วยเป็นเมตร) แล้วคำนวณปริมาณยาที่จะใช้ เช่น บ่อมีความกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ระดับน้ำลึก 1.50 เมตรปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ= 40 x 40 x 1.50 เมตร= 2400 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลิน ความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม ในการรักษาโรคจะต้องใช้ 25 x 2400 = 60000 ซีซี หรือประมาณ 60 ลิตรแนวโน้มการเลี้ยงปลาหมอไทยในอนาคตปลาหมอไทยในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียได้อีกด้วย ทำให้แนวโน้มของ การ เลี้ยงปลาชนิดนี้ในอนาคตมีลู่ทางแจ่มใส นอกจากนี้เป็นปลาที่อดทนสามารถเลี้ยงแบบหนาแน่น ทั้งในบ่อทั่วไปหรือนากุ้งในพื้นที่น้ำจืด และหากมีการ จัดการบ่อ ที่เหมาะสมถูกต้องแล้ว จะมีปัญหาเรื่องโรคระบาดน้อยข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาช่วงฤดูฝน

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรมักจะประสบปัญหามากมายเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ทำให้ได้รับผลกระทบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้1. อากาศร้อนมาก ๆ ก่อนฝนจะตกซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำอย่างรวดเร็วหลังฝนตกจึงมีผลต่อลูกปลาและปลาที่ปล่อยใหม่ ตลอดจนปลาที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นมากจะมีผลให้ปลาน๊อคหรือปลาตายเนื่องจากปลาปรับตัวไม่ทัน

2. เมื่อฝนตกหนัก จะพัดพาพวกปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ขี้เถ้าแกลบจากการเผาป่า ล้วนเป็นพิษต่อปลา ซึ่งอาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ฝนตกใหม่ ๆ

3. ตะกอนแขวนลอยซึ่งเกิดจากการชะดินของน้ำฝนในช่วงหน้าฝน ตะกอนจะฟุ้งกระจาย ซึ่งสร้างปัญหาเกี่ยวกับเหงือกสัตว์น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สัตว์น้ำจะกินอาหารลดลง เครียด และตาย

4. ถ้าหากฝนตกทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันหลายวัน จนเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อ อาจทำให้คันดินพังหรือน้ำท่วมมิดคันบ่อ ทำให้เกิดความเสียหายได้

5. น้ำฝนจะชะล้างความเป็นกรดจากอากาศและดินลงสู่บ่อ ทำให้ pH ของ น้ำในบ่อต่ำลง ความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่า และแอมโมเนียจะมากขึ้น ทำให้ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ ซึ่งอาจทำให้ปลาเครียด ป่วย และตายได้

6. สภาพอากาศมืดครึ้ม ฝนไม่ตก หรือสภาพอากาศอบอ้าวเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งมีผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างชั้นบรรยากาศกับผิวน้ำได้ลำบาก ทำให้ปลาเกิดสภาพขาดออกซิเจน ปลาจะขึ้นมาลอยหัวหาอากาศบนผิวน้ำจำนวนมาก

7. เมื่อฝนหยุดตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจน และคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน เพื่อป้องกันการแบ่งชั้นน้ำ และลดปัญหาปลาตาย

8.เมื่อฝนตกหนัก ทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะลดการกินอาหาร ดังนั้น การให้อาหารปลา ควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หรืองดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก

วิธีแก้ไข

1.ทำให้น้ำในบ่อมุนเวียนหรือเคลื่อนไหว โดยใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำในบ่อแล้วพ่นน้ำขึ้นบนอากาศให้ตกลงในบ่อเหมือนเดิม หรือเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำในบ่อหมุนเวียน

2.ใส่เกลือแกง 160 กก ต่อไร่ ไม่ควรใส่เกลือแกงพร้อมปูนขาว เพราะจะเกิดการยับยั้งฤทธิ์ซึ่งกันและกัน เกลือควรใส่โดยหว่านเป็นเม็ดให้ทั่วบ่อ

3.ใส่ปูนขาว 5-10 กิโล ต่อไร่ ห่างกันอาทิตย์ละครั้ง ไม่ควรเกิน 60 กิโล ควรละลายปูนขาวในน้ำแล้วสาด

4.ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพ พด 6 หรือ EM เพื่อปรับสภาพน้ำ

5.ควรถ่ายเทน้ำเก่าในบ่อออก แล้วใส่น้ำใหม่แทน ปริมาณเท่าเดิม ให้ตากแดด 3- 5 วัน

อ้างอิงจาก : http://www.thailuxe.com/userfiles/download/cichlids.pdf



บทความแนะนำ


องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้ายSpectreภาพยนตร์การ์เนอร์?เจนนิเฟอร์เอฟเฟลคเบนโปรโมชั่นBuyPowerภาพยนตร์ทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก