ไวรัสซิกา ไข้ซิกา โรคติดต่อที่ไร้วัคซีนป้องกัน ภัยเงียบจากยุงลาย

อ่าน 7,680

ไวรัสซิกาหรือ ไข้ซิกา

เป็นอีกหนึ่งโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แม้จะยังไร้วัคซีนป้องกัน

แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน

ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ

ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว

ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ "ไวรัสซิกา" ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558

โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา

โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา

เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ขณะที่ประเทศไทยก็พบผู้ติดเชื้อ แม้จะยังไม่ถึงขั้นมีการระบาด

แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นหนึ่งในโรคติดต่อ

ที่ต้องแจ้งความ ดังนั้นได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้า

เชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว

แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ

ไวรัสซิกา คืออะไร ?

ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus)

มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี

ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก

รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ

และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ

เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก

ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ.

2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย

เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้

และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

ไวรัสซิกา กลุ่มเสี่ยงคือใคร

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์

ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย

คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ

ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของ

โลก

หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ

นอก

จากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ

และผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้

ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไร

ไวรัส

ซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ

ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด

นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์

อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า พบ

ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจาก

ประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด

นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4

ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ

ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่

มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ

รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก

แต่

ถ้าหากปล่อยไว้

อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้

ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์

เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์

ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ

โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ

ไวรัสซิกา รักษาอย่างไร

แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา

ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด

ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ

ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง

นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ

อีกด้วย

ไวรัสซิกา ป้องกันได้อย่างไร

วิธี

ป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด

อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก

เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือ

ไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์

และโรคชิคุนกุนยา

นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไป

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในต่างประเทศ

จากรายงาน

ของขององค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อไวรัสซิกาได้ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้

อย่างหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย

ซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นประเทศที่มีการระบาดหนักที่สุดจนถึงขั้นต้องประกาศ

ภาวะฉุกเฉิน หลังพบเด็กทารกแรกเกิดติดเชื้อและมีความผิดปกติทางสมองเกือบ 4

พันราย

ส่วนในประเทศโคลอมเบียมีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสซิกาอาจทำให้มีผู้

ป่วยถึง 600,000-700,000 คน

ทางกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบียจึงออกประกาศแนะนำให้สตรีเลื่อนการตั้งครรภ์

ออกไป 6-8 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา

ก็วิตกกังวลกับสถานการณ์การระบาดดังกล่าว

จึงออกประกาศเตือนให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไปเลี่ยงการเดินทางไปยัง

ประเทศที่มีการระบาดของโรค

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

โดย แพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า

การประกาศครั้งนี้เพื่อทำให้นานาชาติร่วมมือในการปรับปรุง

และส่งเสริมการตรวจหาผู้ติดเชื้อ

อีกทั้งเพื่อให้เกิดการเร่งมือด้านการพัฒนาวัคซีนและการวินิจฉัยโรคที่ดี

กว่าเดิม แม้ยังไม่จำเป็นต้องออกข้อจำกัดด้านการค้าและการเดินทาง

ทั้ง

นี้ องค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า

การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้สมเหตุสมผลแล้ว

จากเหตุผลทั้งความเร็วของการระบาดของเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะชนิดนี้

และข้อสงสัยที่ว่า

มันอาจมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของเด็กทารกที่เกิดมา

พร้อมภาวะศีรษะเล็กในพื้นที่ที่ไวรัสนี้แพร่กระจาย

ซึ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

เป็นไปตามคำแนะนำของเหล่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอิสระขององค์การอนามัยโลก

สำหรับ

ประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกาตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (ข้อมูล ณ

วันที่ 31 มกราคม 2559) มีทั้งหมด 23 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย

โดมินิกัน นิการากัว เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส

มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาม เวเนซุเอลา เปอร์โตริโก

บาร์เบโดส โบลิเวีย เอกวาดอร์ กัวเดอลุป กายอานา

หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และเกาะเซนต์มาร์ติน เพื่อความปลอดภัย

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในประเทศไทย

ถ้า

ได้ติดตามข่าวคงพอทราบว่า เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559

กองควบคุมโรคของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย

เป็นชายไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวันผ่านทางสนามบินนานาชาติเถาหยวน

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559

โดยได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหลังจากเจ้าหน้าที่สนามบินพบว่าชาย

ดังกล่าวมีไข้สูงผิดปกติจึงนำตัวไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด

ส่วนผู้ร่วมเดินทางมาด้วยกันอีก 2 คน

เมื่อตรวจแล้วก็ไม่พบเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด

ใน

ส่วนของประเทศไทยเอง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จริง ๆ

แล้วไวรัสซิกาสามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบรอยโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ.

2506 แต่มาพบผู้ป่วยรายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555

และตั้งแต่นั้นมาก็พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 2-5 ราย ซึ่งผู้ป่วยทุกรายหายได้เอง

และยังไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์

จนทำให้เด็กเกิดความพิการ

ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 2

กุมภาพันธ์ 2559 กรมควบคุมโรคแถลงว่าพบผู้ป่วยชาย 1 ราย

แต่เข้ารับการรักษาจนหายดีแล้ว

อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย

แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศจัดให้ "โรคติดเชื้อไวรัสซิกา" เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ

ทั้ง

นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก

เพราะถือเป็นสถานการณ์ปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยไวรัสซิกาสามารถหายได้เองใน

7 วัน

ส่วนที่เกิดการระบาดจนองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน

เพราะเด็กที่คลอดออกมามีความพิการทางสมอง จึงต้องออกประกาศดังกล่าว

โดยกำชับให้มีการดูแลหญิงตั้งครรภ์เป็นพิเศษแล้ว

นอกจากนี้ยังไม่ต้องกังวลว่าโรคนี้จะมาในลักษณะข้ามประเทศ หรือ Case Import เพราะในประเทศก็พบเจอได้ เพียงแต่ควบคุมได้

ได้

รู้จักกันมากขึ้นแล้วกับโรคไวรัสซิกา

คราวนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองนี่ล่ะค่ะที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง

ให้ดี

ยิ่งถ้าหากใครที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดก็ควรใส่ใจสุขภาพให้มาก

ไม่อยากเจ็บป่วยทีหลังก็อย่าชะล่าใจนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมควบคุมโรค

Taiwan Centers for Disease Control

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

krobkruakao.com

World Health Organization

paho.org



บทความแนะนำ


หุ่นยนต์เศวตนันทน์พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์วู้ดดี้เกิดมาคุยการศึกษาข่าวบันเทิงทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก