เคล็ดลับ กล้วยหอมไทย ทำอย่างให้ฮิตติดกระแสในญี่ปุ่น

อ่าน 6,301

กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่มีการบริโภคสูงทุดเป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น โดยข้อมูลจากศุลกากรญี่ปุ่นพบว่าปริมาณการนำเข้ากล้วยหอมในญี่ปุ่นอยู่ที่ราว ๆ 1 ล้านตันต่อปี ประเทศที่ญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยเป็นหลักคือ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีความได้เปรียบในการขนส่ง

ในปี 2010 ฟิลิปปินส์ได้ส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นถึงร้อยละ 93 ปัจจุบันในช่วงมกราคม ? กันยายน 2015 ญี่ปุ่นมีการนำเข้ากล้วยหอม 725,069.903 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2014 ร้อยละ 0.44 คิดเป็นมูลค่า 637.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 โดยนำเข้าจากฟิลิปปินส์มากอันดับ 1 และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 86.42 ของตลาดทั้งหมดมีการนำเข้าจากเอกวาดอร์ (ร้อยละ 9.64) มูลค่า 61.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.58 กัวเตมาลา (ร้อยละ 0.79) มูลค่า 5.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.29 ในขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 9 (ร้อยละ 0.24) ช่วงมกราคม ? กันยายน 2010 นำเข้าปริมาณ 1,408.508 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.72 คิดเป็นมูลค่า 1.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.05เมื่อเปรียบเทียบราคานำเข้าเฉลี่ยในช่วง มกราคม ? กันยายน 2015 พบว่าราคานำเข้าจากทั่วโลก อยู่ที่ 0.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกก. ซึ่งสูงกว่า อย่างไรก็ดี ได้ปรับตัวลดลงมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 และ 2014 อยู่ที่ 1.38 และ 1.24 เหรียญสหรัฐฯต่อ กก. ตามลำดับกล้วยหอมพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่กล้วยหอมที่นิยมรับประทานสดGiant-cavendishSenorita (Monkey bananas)

MoradoLatundanกล้วยหอมที่นิยมนำไปปรุงอาหารTindokCardavaLingkitส่วนช่องการจัดจำหน่ายนั้นชาวญี่ปุ่นนิยมซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตมากกว่าซุปเปอร์มาร์เกต และห้างสรรพสินค้า รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์ยังเป็นที่นิยมมมากขึ้น นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังมีการสั่งสินค้าในหมวดอาหารผ่านรายการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับกลุ่มผู้บริโภคในตลาดผลไม้ของญี่ปุ่น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ-กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทำงานนอกบ้าน และพักอาศัยอยู่เพียงลำพัง-กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องทั้งนี้ไทยอาจจะยังเสียเปรียบฟิลิปปินส์ และไต้หวัน เนื่องจากมีราคาสูงกว่า แต่ไทยและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้ากันมายาวนาน มีความคุ้นเคยกับตลาดญี่ปุ่นเป็นอย่างดี จึงทำให้ไทยสามารถทำการค้ากับญี่ปุ่นได้ง่ายกว่าประเทศอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งที่ไทยควรทำคือ การลดราคาต้นทุนในต่ำลง รวมถึงระบบการขนส่งด้วย และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นได้ทราบถึงความพิเศษ หรือเอกลักษณ์ของกล้วยหอมไทยมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่นการเพิ่มเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยหอมไทย ประศาสตร์ หรือวิธีการเพาะปลูกที่แตกต่างจากผู้อื่น เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เป็นต้น



บทความแนะนำ


มหกรรมสุขภาพดีวิถีชุมชนตลาดคลองผดุงกรุงเกษมไข่แดงความงามไข่ขาวที่เที่ยวเที่ยวในประเทศเคล็ดลับเเต่งหน้าทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก