ไม่กินได้ก็ดี! 7 อาหารควรเลี่ยง ห่างไกล มะเร็งลำไส้ใหญ่

อ่าน 4,135

มะเร็งลำไส้ใหญ่ นับวันยิ่งใกล้ตัวนพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ปีละ 60,000 คนและอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้เพิ่มจาก 1 ต่อ 25 เมื่อ 30 ปีก่อนมาเป็น 1 ต่อ 20 ในปัจจุบัน วงการแพทย์จึงพยายามพัฒนาหาวิธีสำรวจหาปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้คนเป็นมะเร็งชนิดนี้ ตลอดจนหาวิธีตรวจวินิจฉัยโรคให้พบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ คือ

อายุ คนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่คือราว 90% จะมีอายุเกิน 50 ปีเพศ เผ่าพันธุ์ ในชาวอเมริกันนั้นผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มากกว่าผู้หญิง คนผิวดำจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวขาว แต่คนผิวดำในทวีปอัฟริกา กลับมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำมาก ดังนั้นความเสี่ยงเชิงเผ่าพันธุ์ จึงขึ้นกับว่าอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมหรือเปล่าอาหาร อาหารที่อุดมด้วยไขมันและแคลอรี ซึ่งมีเส้นใยอาหารน้อย จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงมะเร็ง,มะเร็งลำไส้ใหญ่,colon cancer,cancer,โรคมะเร็ง,อาหารต้องห้ามโรคมะเร็งเนื้องอกโพลิป ถ้ามีเนื้องอกโพลิปอยู่ด้วยก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นประวัติครอบครัว คนที่มีญาติสนิทที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้น เช่น ถ้ามีน้องเป็นมะเร็งลำไส้ตรงคนหนึ่งแล้ว คนที่เหลือก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งแบบเดียวกัน ได้ราว 10-15 เปอร์เซ็นต์การออกกำลังกาย ผู้ที่มีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายปานกลางจะมีความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยลงแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ คนที่บริโภคทั้งสองอย่างนี้รวมกันจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นโรคของลำไส้ บางอย่างทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

นพ.ชุมศักดิ์ อธิบายว่า การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ ถ้าสามารถรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง ขนาด ชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคที่เป็นอยู่ จะช่วยบอกการพยากรณ์ของโรคได้ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งก้อนที่เป็นอยู่นั้นยังไม่ลุกลามออกนอกโพรงลำไส้ใหญ่ ยังไม่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว โอกาสที่จะผ่าตัดรักษาจนหายก็มี และที่สำคัญคืออัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี (5 year survival rate) ซึ่งเป็นอัตราที่เขาใช้กันเวลากล่าวถึงมะเร็ง จะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ามะเร็งลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองแล้ว อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะลดเหลือ 65 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่านั้น

กินอยู่อย่างไร ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่

อย่ากินอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ (โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ) หรืออาหารที่มีเชื้อรา (เช่น ถั่วลิสงบด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียมที่ขึ้นรา)พยายามหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม หรือ เนื้อสัตว์ ที่หมักโดยผสมดินประสิว (เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม) ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสารไนโตรซามีนเสียก่อนพยายามอย่ากินอาหาร หรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้า (ซึ่งทำให้ดูสีสดใสน่ากิน) หรืออาหารที่มียาฆ่าแมลงเจือปนโดยเฉพาะ ดีดีที หรือยาที่เข้าสารหนูลดอาหารที่มีไขมัน เช่น มันสัตว์ ของทอด ของผัดน้ำมัน อาหารใส่กะทิ และจำกัดการกินน้ำตาล และของหวาน และทางที่ดีควรกินอาหารที่ให้โปรตีน จากถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเช่น เต้าหู้ลดการกินอาหารรมควัน ย่าง หรือทอดจนเกรียม เพราะมีสารก่อมะเร็งจำกัดการกินเกลือและอาหารเค็ม ผู้ใหญ่กินเกลือวันละไม่เกิน 6 กรัม (7.5 มิลลิลิตร หรือหนึ่งช้อนชาครึ่ง) ส่วนเด็กวันละไม่เกิน 3 กรัมต่อ 1,000 กิโลแคลอรี

นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเหล่านี้แล้ว เราควรกินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น เช่น ผักใบเขียว ผักกะกล่ำ ดอกกะหล่ำ ผักคะน้า ผลไม้ เช่น ฝรั่ง แอปเปิล มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ ส้ม เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง งา ลูกเดือย ถั่ว ต่าง ๆ หัวพืชต่าง ๆ เช่น เผือก มัน แครอต หัวไช้เท้า และพวกกล้วย อาหารเหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กาโรคหัวใจ,หัวใจ,ออกกำลังกาย,การออกกำลังกาย,เทคนิค,ประสบการณ์ชีวิต, โรคหัวใจ, เยียวยาโรคหัวใจ ประสบการณ์โรคหัวใจ, heart attack,มะเร็ง,มะเร็งลำไส้ใหญ่,colon cancer,cancer,โรคมะเร็ง,อาหารต้องห้ามโรคมะเร็งกใย สารฟีนอล สารฟลาโวน สารแคโรทีน เป็นต้น

สำหรับผู้อ่านที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจร่างกายประจำปีด้วยนะคะ

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อยากสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวอย่างละเอียด หรือผู้ป่วยมะเร็งชนิดใดก็ตาม ถ้าอยากมีเพื่อนที่เจ็บป่วยแบบเดียวกันเพื่อพูดคุยปรึกษา ชาวชมรมชีวจิต โดยคุณวิจารณ์- คุณสิริแก้ว ยิ่งยืนยง แกนนำรำกระบอง ณ สวนรถไฟจตุจักร บอกผ่านกับเรามาว่า สามารถไปพูดคุยกันได้ที่นี่ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 6.30 น. หรือโทร.สอบถามได้ที่ 081-498-3707 (สามารถนำกระบองไปออกกำลังกายได้เลย อย่าลืมผ้าปูรองนั่ง และอาหารว่างไปรับประทานด้วยนะคะ)

อาการที่พึงระวัง อาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก อุจจาระมีขนาดเล็กลง ปวดมวนท้อง ปวดถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ

ขอบคุณที่มา: http://www.rak-sukapap.com/2016/11/7_4.htmlเครดิต: www.cheewajit.com



บทความแนะนำ


เที่ยวในประเทศที่เที่ยวThinkpadWorkstationLenovoน้ำใจชายพิการมีน้ำใจเกาะไหงรถน้ำมันหมดทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก