ถ้าไม่รู้ ! "ไตพัง ไม่รู้ตัว" เพราะ 7 พฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย

อ่าน 1,256

ใครที่เคยเชื่อว่าโรคไตเกิดจากการบริโภค "เค็ม" แต่เพียงอย่างเดียว ต้องคิดใหม่ แท้ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันเป็นโรคไตกันมากขึ้น ครึ่งหนึ่งมาจากโรคเบาหวานเรื้อรังอีก 25% มาจากความดันโลหิตสูง ที่เหลือเกิดจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม เช่น เนื้อเยื่อในไตอักเสบ กรรมพันธุ์บางอย่าง เป็นซีสต์ที่ไตแล้วทำให้ไตไม่ดี หรือเป็นนิ่วในไตแล้วอุดตันไตทำให้ไตเสีย โรคไตปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในโรคฮิตของคนเมือง ซึ่งนับวันจะยิ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ ป่วยเพิ่มปีละ 15,000-25,000 คนเป็นที่น่าสังเกตว่าทุกวันนี้มีโรงพยาบาลโรคไตโดยเฉพาะ มีศูนย์ไต สถานให้บริการฟอกไตมากขึ้น ในแง่หนึ่งนับเป็นข่าวดีที่มีการบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงแม้กับโรคเฉพาะทางอย่างโรคไต ทว่าในทางตรงกันข้าม นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวาระวันไตโลก (World Kidney Day) ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมาหลาย ๆ หน่วยงานจึงพร้อมใจกันจัดงานรณรงค์เพื่อสร้าความเข้าใจ สร้างความตระหนักในปัญหาของโรคไต ซึ่งเราสามารถหยุดยั้งสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินการอยู่การนอนอย่างเหมาะสม นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ ผู้อำนวยการสถานโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคไตมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถิติปีหนึ่ง ๆ คนเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15,000-25,000 คน และเป็นสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีคนเป็นโรคไตวายที่ต้องฟอกไตประมาณ 70,000 คน นั่นหมายความว่าต้องได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิต ไม่เช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนไต ซึ่งปีหนึ่งเราเปลี่ยนไตได้เพียง 600 คนเท่านั้นเองอย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดกับคนไทยเท่านั้น แต่คนทั่วโลกก็เช่นกัน สาเหตุสำคัญมาจากวิถีการกินการอยู่ของคนยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงกินอาหารรสจัดมากขึ้น หนักคาร์โบไฮเดรต ไขมัน แต่เรายังกินอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น อาทิ บะหมี่สำเร็จรูป (บางคนกินเป็นขนมขบเคี้ยว) ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ซึ่งโดยมากมีปริมาณโซเดียมสูง ยกตัวอย่างเช่น แฮมเบอร์เกอร์ดับเบิลชีส เฟรนช์ฟรายส์ แคทฉัพ โค้กอีก 1 แก้ว จะได้รับเกลือโซเดียมในประมาณเท่ากับที่ควรจะได้รับทั้งวัน "วันหนึ่งเราไม่ควรกินเกลือโซเดียมเกินกว่า10 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับจากอาหารปกติที่รับประทานเข้าไปอยู่แล้ว"อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่โรคไต ที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากเบาหวาน กับอีกหลาย ๆ โรคก็เช่นกัน อาทิ ถ้าอาการเส้นเลือดตีบจากเบาหวานเกิดกับตาจะทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับสมองจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าเกิดที่หัวใจจะเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น

กรณีของ "ความดันโลหิตสูง" ก็เช่นกัน ถ้าเราปล่อยนาน ๆ ไปเป็นสิบปี ความดันจะสูงไปเรื่อยๆ และทำลายเส้นเลือดที่ไตทำให้ไตเสีย ซึ่งในกรณีนี้ต่างจาก "ไตวายเฉียบพลัน" ที่โดยมากเกิดจากการเสียเลือดมากจนช็อก เมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตหยุดทำงาน ภาวะนี้เรียกว่า "ไตวายชั่วคราว" แต่ถ้าได้รับการแก้ปัญหาภายใน 1-2 สัปดาห์ ไตยังสามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ตามปกติ ไตวายเรื้อรัง ภัยเงียบที่มองไม่เห็น ดังที่กล่าวมาข้างต้น อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งโลกที่น่าสนใจ คือ ไต เป็นอวัยวะที่ไม่เหมือนอวัยวะอื่น ตรงที่ผู้ป่วยแม้จะไตเสียไปแล้ว 60-70% ยังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป โดยที่ไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนแต่ประการใด บางคนเป็นนักกีฬาด้วยซ้ำ ต่อเมื่อถึง 80-90% เมื่อนั้นอาการจึงจะปรากฏชัด เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีด คันตามตัว มีจ้ำตามตัว ฯลฯ เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสียในเลือด เมื่อไตไม่ทำงาน ของเสียจึงคั่งค้างอยู่ในเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ซึ่งในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต จึงจำเป็นต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือทำการผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งหลังจากเปลี่ยนไตแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้สำหรับโรคไตในเด็ก ซึ่งปีนี้ทางสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดงานสัปดาห์วันไตโลก เร่งสร้างความตระหนักไม่บริโภคเค็ม เนื่องจากมีการรับประทานเค็มในเด็กเกินความพอดีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้เป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและเสียชีวิตในที่สุดผอ.วิรุฬห์อธิบายเพิ่มเติมว่า โรคไตในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1. เกิดจากพันธุกรรม เช่น เกิดมาแล้วไตเล็กผิดปกติ ท่อปัสสาวะในไตผิดปกติ มีซีสต์หรือถุงน้ำที่ไต ซึ่งเมื่อมีถุงน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เป็นโรคไต2. เกิดจากโรคอ้วน เพราะกินแป้ง กินหวาน กินเค็ม และทำกิจกรรมน้อยลง และไม่ออกกำลังกาย "เด็กเหล่านี้เมื่ออ้วนตอนอายุ 10 กว่าขวบ ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจนเป็นวัยรุ่นจะอ้วนขึ้น พออายุ 30 กว่า ๆ เบาหวานก็มาเยือนแล้ว ทำให้เป็นโรคไตในเวลาต่อมา เราจึงพบว่าคนวัยทำงาน บางคนอายุ 30-40 ปี จะเริ่มมีเบาหวาน ความดัน และไขมันสูง" ผอ.วิรุฬห์บอกอีกว่า ความเค็มนั้นเหมือนรสนิยม ความเค็มทำให้อาหารอร่อยขึ้น ทำให้คนจำนวนไม่น้อย "ติดรสเค็ม" แม้จะเปลี่ยนยาก แต่ก็เปลี่ยนได้ ทางที่ดี ควรได้รับการตรวจไต (ตรวจสุขภาพ) เป็นประจำทุกปี เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์เพราะ "เค็ม" ไม่จำเป็นต้องเป็นเกลือเสมอไป อย่างโค้ก หรือโซดา เป็นโซเดียมไบคาร์บอเนต ก็มีโซเดียม หรือในผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล มะเฟือง ส้มก็มีโปรแตสเซียม ซึ่งคนเป็นโรคไตบางอย่างก็กินผลไม้ไม่ได้ หมอเท่านั้นจะรู้ว่าจะกินได้หรือไม่ได้



บทความแนะนำ


เบี้ยวค่าตัวกันตถาวรเบี้ยวค่าตัวกันต์เครื่องสำอางลิฟท์หนีบข่าวล่าสุด(ต์)รายการไปไหนไปกันข่าวจีนแต่งหน้าเครื่องสำอางน้อยชิ้นแต่งหน้าทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก