ระวัง! "โรคฮีทสโตรก" อากาศร้อนจัด เสี่ยงเสียชีวิต

อ่าน 2,469

เข้าสู่ฤดูร้อนของจริง และในปีนี้ประเทศไทยจะร้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดย

อ.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ช่วงวันที่ 17-19 มีนาคมนี้ประเทศไทยจะร้อนที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

เพราะมีมวลอากาศร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากปกติในรอบ 50

ปี พัดเข้ามาปกคลุม อุณหภูมิอาจจะร้อนทะลุ 40 องศาเซลเซียส

หากใครต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งนานๆ ควรหลีกเหลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

เพราะอาจจะเสี่ยงเป็นโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรกได้

ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตกันเลยนะคะ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคฮีทสโตรก พร้อมกับวิธีป้องกันมาบอกทุกคนค่ะ

รู้เท่าทัน โรคฮีทสโตรก(Heat Stroke)

โรคฮีทสโตรก(Heat Stroke) คืออะไร?

โรคฮีทสโตรก คือโรคที่เกิดกับร่างกายในภาวะที่ได้รับความร้อนมากเกินไป

ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส

มีผลทำให้สมองส่วนควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานผิดปกติ

ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง และทันท่วงที ส่งผลร้ายแรง

ทำให้หัวใจหยุดเต้น ถึงขั้นเสียชีวิตได้

8 สัญญาณเตือน โรคฮีทสโตรก

  1. ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อนมาก (ถ้าร้อนแดดทั่วๆ ไปจะมีเหงื่อออก)
  2. ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้หน้าแดง
  3. รู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมาก
  4. วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  5. หายใจเร็ว เกร็งกล้ามเนื้อ
  6. ชัก มึนงง มีอาการสับสน
  7. รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัวลดน้อยลง
  8. อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และหัวใจเต้นเร็ว แต่แผ่วเบา ถ้าช่วยไม่ทันอาจะเสียชีวิต

ช่วยเหลือผู้เป็นโรคฮีทสโตรก อย่างไรให้ถูกวิธี

  1. ปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดย การนำตัวเข้ามาในที่ร่ม
  2. จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง
  3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว และศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  5. หากยังไม่ฟื้น ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็น โรคฮีทสโตรก

  1. ผู้สูงอายุ
  2. เด็ก
  3. ผู้ที่อดนอน
  4. ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด
  5. ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น
  6. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน
  7. นักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก โดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม

วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก

1.ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน

2.ในวันที่มีอากาศร้อนจัด หากมีเหตุจำเป็น ควรใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน

เนื้อผ้าเบาโปร่ง ไม่หนา ระบายอุณหภูมิความร้อนได้ดี ทาครีมกันแดดที่มี

SPF 30 ขึ้นไปก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง สวมหมวกด้วยก็ได้

3.หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน หรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำ ให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม

4.คนทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

6. เด็กเล็ก และคนชรา ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ให้อยู่ในห้องที่มีอากาศระบาย ถ่ายเท ได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก: รพ. เปาโลwww.paolohospital.com, www.thaihealth.or.th, รายการเรื่องเล่าเช้านี้

ภาพ:.freepik.com



บทความแนะนำ


เรียนต่อต่างประเทศอาชีพนักบินอยากเป็นนักบินเผารถเรียนต่อในประเทศทะเลาะกับเมียฉลามหิมะSharknadoผู้รับเหมาSharksAvalancheทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก