เช็กความเสี่ยง! โมโนโฟเบีย โรคใหม่ของคนสังคมก้มหน้า

อ่าน 6,921

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่สังคมก้มหน้า

คนกดเล่นโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งแชท เช็กโซเชียล อ่านข่าว

ฟังเพลง หรือเล่นเกม ก็ทำให้เรากลายเป็นคนติดโทรศัพท์ไปโดยปริยาย

เมื่อคนที่เสพติดสมาร์ทโฟนมากๆ จนรู้สึกขาดไม่ได้

จะกลายเป็นโรคโนโมโฟเบียโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว แล้วอาการที่ว่านี้คืออะไร

เราเข้าค่ายมากน้อยเพียงใด ลองมาหาคำตอบกัน

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำว่า "no mobile phone phobia"

เป็นศัพท์ที่หน่วยงายวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี

2010 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดจากความหวาดกลัว

วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร

และอาการนี้กำลังถูกเสนอจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล

งานวิจัยที่เป็นที่มาของโรคนี้ได้ทำการศึกษาผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

2,163 คนในสหราชอาณาจักรและพบว่า 53%

ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักรจะเกิดอาการวิตกกังวลเมื่อพบว่าโทรศัพท์หาย

แบตเตอรี่หมด หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ อีกทั้งยังพบว่า

58% ของผู้ชาย และ 47% ของผู้หญิงที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีอาการของ

nomophobia และในจำนวนนี้มีถึง 9% ของกลุ่มที่ศึกษา

ระบุว่ารู้สึกเครียดมากถ้าโทรศัพท์ของตนเองใช้การไม่ได้

และเมื่อให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ระบุถึงระดับของความเครียดจากการขาดโทรศัพท์มือถือนั้น

ความเครียดที่เกิดขึ้นเทียบเท่ากับความเครียดที่เกิดขึ้นก่อนวันแต่งงานหรือความเครียดระดับเดียวกับการไปพบทันตแพทย์เลยทีเดียว

อีกการศึกษาหนึ่งที่ทำในนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพศชาย 547 คน พบว่า

23% มีพฤติกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกวินิจฉัยได้ว่าเป็น nomophobia และมีอีก

64% ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการนี้ และที่น่าสนใจก็คือ 77%

ของเด็กในกลุ่มที่ถูกทำการวิจัยเช็กโทรศัพท์มือถือของตนเองบ่อยมากโดยเฉลี่ย

35 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว

จากงานวิจัยที่ทำพบว่า โนโมโฟเบียพบมากที่สุดในกลุ่มคนในช่วงอายุ 18-24

ปี โดยคิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมาคือกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-34 ปี

และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีตามลำดับ

ใครบ้างที่เข้าข่ายเป็นโรคโนโมโฟเบีย?

? พกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ รู้สึกกังวลใจมากเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว

? หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความจากโซเชียลมีเดีย

แอพพลิเคชั่นต่างๆ อัพเดทข้อมูลจากโทรศัพท์อยู่ตลอด

หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อย แม้ไม่มีเรื่องด่วน

? เมื่อมีการแจ้งเตือนเข้ามาจากโทรศัพท์

จะให้ความสำคัญกับโทรศัพท์ในทันที ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสมาธิ

มีความกระวนกระวายใจ จนไม่สามารถทำภารกิจที่อยู่ตรงหน้าต่อได้

? เมื่อตื่นนอนก็เช็กโทรศัพท์เป็นอันดับแรก และก่อนนอนก็ยังคงเล่นโทรศัพท์ เล่นเกมส์

? เล่นโทรศัพท์เป็นประจำในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆ

ในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ ขับรถ

หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า เป็นต้น

? เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ จะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมากกว่าสิ่งของอย่างอื่นหาย

? กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม

? ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย

? ในแต่ละวันใช้เวลาพูดคุยกับผู้คนผ่านโทรศัพท์ในโลกออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับผู้คนจริงๆ รอบข้าง

ติดมือถือซะแล้ว ต้องแก้ไขใหม่ !

เพื่อป้องกันโรคทั้งหลาย และไม่ปล่อยให้คุณเสพติดมือถือขนาดหนักอีกต่อไป ลองมาดูคำแนะนำดีๆ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองกัน

? เมื่อรู้สึกเหงา

ให้หากิจกรรมอื่นหรือเพื่อนคุยแทนการใช้โทรศัพท์ เช่น คุยกับคนในบ้าน

เพื่อนร่วมงาน นัดเพื่อนเพื่อมาเจอกัน

ไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับการสนทนาผ่านหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์

ลองตั้งกฎว่าจะไม่แตะต้องโทรศัพท์มือถือภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาที

หรือ 1 ชั่วโมง หากไม่มีธุระจำเป็น แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้ได้มากขึ้น

? ลองกำหนดให้ห้องนอนเป็นเขตปลอดโทรศัพท์มือถือ

แล้วพยายามทำตามให้ได้

เพื่อที่จะไม่ต้องหยิบมือถือมาเล่นทันทีตั้งแต่ลืมตาตื่น

หรือผลอยหลับไปกับมือถือที่เล่นก่อนนอน

หากลองสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองสักนิด

แล้วจะรู้ว่าเรานั้นเข้าค่ายการเป็นโรคโมโนโฟเบียหรือเปล่า

เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแล้ว

ให้ลองหยุดพักการใช้โทรศัพท์หากไม่มีความจำเป็น

จริงอยู่ว่าเทคโนโลยีจะทำให้คนเราใกล้กันมากขึ้น

แต่มันจะไม่ใกล้และง่ายกว่าหรอ

หากเราเริ่มต้นที่จะเงยขึ้นมาคุยกับคนตรงหน้าเสียเอง

ที่มา : www.bangkokhealth.com



บทความแนะนำ


รถถ่ายทำสารคดีเหยียบกันตายมหาเทศกาลโคทาวารีพุชการาลูข่าวอินเดียแจกใบสั่งการศึกษาทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก