ไวรัสตับอักเสบ ภัยเงียบ วายร้ายจอมก่อโรค ที่ต้องเฝ้าระวัง!!

อ่าน 5,511

ไวรัสตับอักเสบ ชนิดบีและซี

เป็นภัยเงียบที่สำคัญที่ประเทศไทยรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้นกำลังเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดอยู่

ซึ่งไวรัสตับอักเสบ ชนิดบีและซี

สามารถก่อให้เกิดภาวะตับแข็งและโรคมะเร็งตับได้โดยจะติดต่อทางเลือด

ทางเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ของร่วมกัน

เราสามารถช่วยกันป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันให้กับเด็กแรกเกิด

รวมถึงตรวจวินิจฉัยผู้ติดเชื้อในระยะแรก และรักษาทันที

เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาด

นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกเป็นห่วงสถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

ให้ทุกประเทศตระหนักและร่วมควบคุมป้องกันโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ, บี, ซี ,ดี, อี และจี

ที่เป็นปัญหาทั่วโลกและในไทยคือชนิดบีและซี ทั้ง 2 ชนิด ติดต่อทางเลือด

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสสารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธ์

และติดต่อจากแม่สู่ลูก

ซึ่งติดต่อกันง่ายกว่าเชื้อเอชไอวีเพราะเชื้อสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน

ภัยเงียบหลังการติดเชื้อคือทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ

คาดว่าตอนนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยประมาณ 400 ล้านราย เสียชีวิต 1.4

ล้านรายต่อปี ประมาณร้อยละ 48 เสียชีวิตจากชนิดซี รองลงร้อยละ 47

เสียชีวิตจากชนิดบี อัตราการตายสูงเป็นลำดับ 7 ของสาเหตุการตายทั่วโลก

และในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ประมาณ 3

ล้านคน และไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ประมาณ 1 ล้านคน

สำหรับการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สามารรถทำได้ดังนี้

1. รณรงค์ให้สาธารณสุขทุกจังหวัดให้ความรู้เรื่องโรค วิธีการป้องกันไม่ให้ป่วย

2. กำชับให้บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยทุกคน ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังตามมาตรการสากลเพื่อป้องกันการติดโรค

3. จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ให้เด็กแรกเกิดทุกรายทั้งเด็กไทยและเด็กต่างด้าวที่คลอดในประเทศ

ซึ่งอยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

เพื่อป้องกันโรคมะเร็งตับในระยะยาว

4. เร่งรัดการตรวจวินิจฉัยผู้ติดเชื้อระยะแรก เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที ตัดวงจรแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด

ด้านนายแพทย์เจษฏา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ 1 มกราคม ? 14 เมษายน 2560

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากไวรัส 3,091 ราย เสียชีวิต 1 ราย

เชื้อที่พบมากที่สุดคือชนิด บี พบประมาณร้อยละ 75 รองลงมาคือชนิดเอ

ส่วนใหญ่เกิดอย่างเฉียบพลันและเป็นเรื้อรัง พบผู้ป่วยได้ทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยโรคตับอักเสบจะมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดท้องบริเวณชายโครงขวา

โรคนี้ไม่มียารักษาให้หายขาด แต่มียาที่สามารถควบคุมเชื้อไวรัส

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคตับอักเสบส่วนหนึ่งกลายเป็นพาหะโรค

สามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้โดยที่ไม่มีอาการป่วย

ดังนั้น เราควรปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันโรค ดังนี้

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ไม่ว่าจะกับต่างเพศหรือรักร่วมเพศ

สามารถช่วยให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิด

2. ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น

3. ไม่สัก ฝังเข็ม หรือเจาะ โดยใช้เข็มหรือหมึกร่วมกัน

4. ไม่ใช้แปรงสีฟันและใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น มีดโกนหนวด มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ

5. ให้ยึดหลัก กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ

ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารปรุงสุกด้วยความร้อน

โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบจะตายที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส

6. ล้างผักสดและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง

7. ขอให้ถ่ายอุจจาระลงส้วม ไม่ถ่ายอุจจาระลงน้ำ ไม่แพร่กระจายสิ่งแวดล้อม

8. ลดละการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ที่มา :www.thaihealth.or.th และwww.tm.mahidol.ac.th



บทความแนะนำ


พ่อขี้ยาตบหัวลูกข่าวล่าสุดภาพยนตร์การศึกษาเรื่องลับแก๊งขนฟูSecretLifePetsTheทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก