ผ้าอนามัยสมุนไพร ใส่แล้วรักษาโรคได้จริงหรือ ?

อ่าน 3,441

ผ้าอนามัยสมุนไพร ใช้แล้วลดปวดประจำเดือน แก้อาการตกขาว คันในช่องคลอด แถมยังบรรเทาริดสีดวงได้ด้วย สรรพคุณที่ว่ามานี้จริงหรือมั่ว ?

ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนว ๆ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

หรือเครื่องสำอาง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีวางขายหลายรูปแบบมาก ๆ แม้แต่ผ้าอนามัย

ของใช้ส่วนตัวคุณผู้หญิงก็ยังมีแบบ "ผ้าอนามัยสมุนไพร" วางขายในอินเทอร์เน็ต แถมยังอ้างสรรพคุณว่าใช้แล้วรักษาโรคได้มากมาย

ทั้งลดอาการปวดประจำเดือน ช่วยอาการตกขาว คันในช่องคลอด

ลดติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร

ลดการติดเชื้อที่ทวารหนักและลำไส้ใหญ่ ฯลฯ

ฟังดูแล้วต้องร้องโอ้โห ผ้าอนามัยสมุนไพรมีสรรพคุณเจ๋งขนาดนี้เลยหรือนี่

? เราเลยนำข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

มาอธิบายให้ฟังกันว่า ผ้าอนามัยสมุนไพร รักษาโรคได้จริงหรือ

...เรื่องนี้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลมาว่า

ผ้าอนามัยสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณช่วยรักษาสารพัดโรคนั้นเป็นคำโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทั้งสิ้น

โดยในความเป็นจริง "ผ้าอนามัย" จัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม

ใช้สำหรับรองรับดูดซับเลือดประจำเดือน (ระดู)

และต้องผลิตขึ้นโดยผ่านการทำให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ แต่

"ผ้าอนามัยสมุนไพร" ผู้ผลิตจะใส่สมุนไพรหรือสารบางอย่างลงในผ้าอนามัย

ซึ่งอาจไม่ส่งผลดีและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เลย

นอกจากนี้ การใช้ผ้าอนามัยสมุนไพร ยังมีข้อควรระวังคือ จากการวิจัยของแพทย์

ส่วนใหญ่เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมักมีการใส่สารสเตียรอยด์

ซึ่งอาจทำให้ผิวผู้ใช้เกิดการติดเชื้อไวรัสในระยะยาวได้ ที่สำคัญ...

ยังไม่มีข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า

ผ้าอนามัยสมุนไพรมีสรรพคุณและข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคดังกล่าวได้จริง

ทางที่ดี ควรใช้ผ้าอนามัยแบบธรรมดา หมั่นดูแลรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้น

คอยดูแลไม่ให้อับชื้น และสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

เพราะหากพบความผิดปกติจะได้ปรึกษาแพทย์อย่างทันท่วงที

อ่านคำชี้แจงจาก อย. แล้ว สาว ๆ ก็คงเข้าใจชัดเจนขึ้นแล้วนะคะว่าควรเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับจุดซ่อนเร้น ซึ่งนอกจากเลือกใช้ผ้าอนามัยที่เหมาะกับตัวเองแล้ว

ก็อย่าลืมเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก 4-6 ชั่วโมง

เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอาการผดผื่นคัน หรืออาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ และโรคติดเชื้อทางช่องคลอด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา



บทความแนะนำ


โบราณสถานเมืองเพชรธรรมชาติToastShibuyaHoneyดวงชีวิตฮันนี่โทสต์ดูดวงผู้หญิงHoneyToastทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก