ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กับ 13 สถานที่น่าเรียนรู้ในเมืองไทย

อ่าน 6,619

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเดินทางท่องเที่ยว ถือเป็นวิธีเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกแบบหนึ่ง ที่ทุกเพศทุกวัย ไมว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ สามารถทำได้ และได้รับความบันเทิง ความสนุกสนาน และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากเรื่องราวมากมายรอบตัวไปพร้อมกัน

ดังนั้น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท.จึงได้ร่วมมือกับ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดำเนินงานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คัดเลือกกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองจำนวน 13 กิจกรรมจากพื้นที่พิเศษทั้ง 6 แห่งของ อพท.มาแนะนำ

และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจอยาก ?เที่ยวไปเรียนรู้ไป? ซึ่งตรงกับแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่มุ่งหวังการท่องเที่ยว ที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้ง โดยผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของวัฒนธรรม ไม่เน้นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่เป็นกิจกรรมที่เน้น ?คุณค่า? ของชุมชนเป็นสำคัญ

หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจกิจกรรมสนุกๆ เหล่านี้ ก็สามารถวางแผนเดินทางไปเที่ยวกันได้ บอกเลยว่า แต่ละแห่งไปเที่ยวได้ทุกช่วง ทุกเวลา พร้อมแล้วก็คว้าเป้ใบโปรดของคุณ แล้วออกเดินทางไปท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ตามที่ชอบกันได้เลย

#?????????????????#

การทำงอบ

1. เรียนรู้วิถีชีวิตมุสลิมจาม บ้านน้ำเชี่ยว Muslim Cham?s Way of Life at Ban Nam Chiao

บรรพบุรุษของมุสลิมจามบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด นั้นอยู่ที่อาณาจักรจามปาประเทศเวียดนาม ก่อนที่จะอพยพโยกย้ายมาที่กัมพูชา และประเทศไทย ในช่วงสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์

มุสลิมจามกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ชุมชนบ้านครัว กรุงเทพมหานคร กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ที่ปากคลอง จังหวัดระยอง และอีกกลุ่มหนึ่งได้ตั้งรกรากอยู่ทางภาคตะวันตกสุดของประเทศ ที่บ้านน้ำเชี่ยว และได้รับการขนานนามว่าเป็น ?ชุมชนสองศาสนา สามวัฒนธรรม? ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสอดประสานกลมกลืนของกลุ่มชุมชนมุสลิม ไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีน ในขณะที่ยังคงธำรงรักษาศาสนาและวัฒนธรรมของตนได้อย่างแน่นแฟ้น

สุรัตนา ภูมิมาโนช คือผู้ที่จะแนะนำและเชื่อมต่อ ให้นักท่องเที่ยวได้พบกับผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญของชุมชน เพื่อร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจมรดกวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของมุสลิมจาม บ้านน้ำเชี่ยว ชนมุสลิมภาคตะวันออกของประเทศ

นักท่องเที่ยวจะได้เปิดประสบการณ์ใหม่ ผ่านการลงมือ งมหอยปากเป็ด เย็บ ?งอบบ้านน้้าเชี่ยว? ดึง ตังเมกรอบ และ ทำ ?ขนมยาหน้า? ซึ่งถือเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในวัฒนธรรมมุสลิมจามบ้านน้ำเชี่ยวเท่านั้น โดยอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมแท้จริงและดั้งเดิมของชุมชน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณสุรัตนา ภูมิมาโนช (พี่หน่อย)

ที่ตั้ง: 42 หมู่ 1 ต.น้้าเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด

โทรศัพท์:08-4892-5374

#?????????????????#

2.เรียนรู้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน: บ้านบางละมุง Coastal Fishery at Ban Bang Lamung

ท่ามกลางแสงสีของเมืองพัทยาที่อยู่ในเวิ้งอ่าวด้านหนึ่ง และท่าเรือแหลมฉบังอันพลุกพล่านในเวิ้งอ่าวอีกด้านหนึ่ง คุณธวัชชัย ประคองขวัญและคุณนพพร ศรีเกษตร ซึ่งเป็นผู้นำของ?กลุ่มประมงเทศบาลบางละมุง? ยืนหยัดที่จะดำรงวิถีชีวิตประมงแบบพื้นบ้านในพื้นที่ซึ่งระหว่างความเป็นเมืองและเขตอุตสาหกรรม

ชุมชนยืนยันที่จะยึดถืออาชีพทำการประมงเพื่อเลี้ยงครอบครัวด้วยการสืบทอดภูมิปัญญาและวิถีชีวิตประมงชายฝั่ง การกันพื้นที่ชายฝั่งเป็นเขตอนุรักษ์และการจัดตั้ง ?ธนาคารปูม้า? ในช่วงเวลาไม่กี่ปี ชุมชนประสบผลสำเร็จที่จะฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง และด้วยความภาคภูมิใจของความเป็นชุมชนประมงเก่าแก่ของเมืองพัทยา

ชุมชนบ้านบางละมุงได้เลือก ?จั่นดักปูม้า? ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงดั้งเดิมของชุมชน ให้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งทางทรัพยากรทางทะเลของชุมชน (ปูม้า) และขณะเดียวกันแสดงให้เห็นถึงความขยันหมั่นเพียรของผู้ประกอบอาชีพประมงของบ้านบางละมุง

นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของการทำประมงของเมืองพัทยาในอดีต เรียนรู้ การถักอวน การทำจั่นดักปู การลงอวนดักปู การเลี้ยงหอยหวาน การตกหมึก และกิจกรรมทางทะเลต่าง ๆ

กิจกรรมดังกล่าวนี้ นอกจากเป็นการสืบสานเรียนรู้การท้าอาชีพประมงของเมืองพัทยาแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจ ?จิตวิญญาณ? ดั้งเดิมของพื้นที่เมืองพัทยาอีกด้วย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณธวัชชัย ประคองขวัญ และคุณนพพร ศรีเกษตร

ที่ตั้ง: 98 ม.2 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

โทรศัพท์: 08-6816-9003

#?????????????????#

3.เรียนรู้ นาฏศิลป์สุโขทัย วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย Sukhothai Classical Dancing Class

วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยในฐานะที่เป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนาฏศิลป์ของชาติ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะที่เกี่ยวข้องนาฏศิลป์พื้นบ้านของสุโขทัย เช่นการตีกลองและรำ ?มังคละสุโขทัย? หรือ?ระบำลีลาลายสังคโลก?

ซึ่งอาจารย์มัชฌนันทน์ สืบสายจันทร์ และอาจารย์อโนทัย ส้มอ่า อาจารย์ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายของเครื่องถ้วยสังคโลก ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและชุมชนมาผสานเข้ากับนาฏศิลป์ไทย

นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย เรียนรู้ภาษานาฏศิลป์ (จีบยาว ยืนเข่า ทลายท่า ฯ ) ฝึกท่านาฏยศัพท์เบื้องต้น (วงจีบ ฉายเท้า กล่อมไหล่ ฯ) ก่อนที่จะได้รับชมและ ทดลองเรียนรู้ร่ายรำ ระบำลีลาลายสังคโลกด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุโขทัย ที่ได้รับแรงดลใจจากพื้นที่

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: อาจารย์มัชฌนันทน์ สืบสายจันทร์ และอาจารย์อโนทัย ส้มอ่า

ที่ตั้ง: 5 หมู่ 4 วิทยาลัยนาฎศิลป์สุโขทัย ต.บ้านกล้วย อ. เมือง จ.สุโขทัย

โทรศัพท์: อาจารย์มัชฌนันทน์ สืบสายจันทร์ โทร.08-6782-4945, อาจารย์อโนทัย ส้มอ่า โทร.09-1661-5996

#?????????????????#

4. เรียนรู้สังคโลกบ้านเกาะน้อย เกศอนงค์ พูนดี Sukhothai Celadon Workshop at Ban Koh Noi

บ้านเกาะน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ริมฝั่งแม่น้ำยม ตำบลหนองอ้อ อ้าเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งหัตถอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องสังคโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-22 เนื่องจากขุดพบเตาเผาเครื่องสังคโลก (เตาทุเรียง) จำนวนมากมายเรียงรายไปตามริมฝั่งแม่น้้ายม

นอกจากจะพบเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ และแบบเคลือบสีเขียวไข่กาหรือเซลาดอนแล้ว ที่บ้านเกาะน้อยยังพบตุ๊กตาสังคโลกเป็นจำนวนมากซึ่งเชื่อได้ว่าอาจเป็นแหล่งผลิตสำคัญ

เกศอนงค์ พูนดี ในฐานะที่เป็นคนในพื้นที่บ้านเกาะน้อย และยึดอาชีพช่างปั้นเครื่องสังคโลกในชุมชนบ้านเกาะน้อยมาเป็นเวลานานนับสิบปี นอกจากจะสามารถบอกเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชนในฐานะของชุมชนผลิตสังคโลกที่สำคัญแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสังคโลกแบบบ้านเกาะน้อย รวมถึงการปั้นแบบขึ้นรูปอิสระเป็นตุ๊กตาสังคโลกพร้อมกับการเรียนรู้รูปแบบและความเชื่อของชุมชนเกี่ยวกับ ?ตุ๊กตาเสียกบาล?

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณเกศอนงค์ พูนดี

ที่ตั้ง: 139/1 ม.5 ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

โทรศัพท์: 09-5314-1380

#?????????????????#

5.เรียนรู้พระเครื่องเมืองสุโขทัย บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ Sukhothai Votive Tablet Workshop

?พระพิมพ์ของเมืองสุโขทัย? ทั้งที่ขุดพบจากเมืองเก่าสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจำนวนไม่ต่ำกว่า 850 แบบที่รวบรวมไว้โดย ?บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์? ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองสุโขทัย

นอกจากจะเป็นแหล่งสำหรับเรียนรู้รูปแบบและลักษณะทางศิลปะของพระพิมพ์แบบต่างๆ แล้ว พระพิมพ์จำนวนมากเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงศรัทธาและความเชื่อในทางพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยเมื่อครั้งอดีต

นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้รูปแบบของพุทธศิลป์สุโขทัยในแบบต่างๆ แล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้เรียนรู้การเตรียมดิน การ ?พิมพ์พระ? และการเผาเพื่อให้ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อแกร่งจากคุณณรงค์ชัย และคุณญาณภัทร์ โตอินทร์ ซึ่งสามารถให้ความรู้ทั้งในด้านประวัติของพระพิมพ์เมืองสุโขทัยและในด้านเทคนิคของการพิมพ์พระ

การร่วมทำกิจกรรม ?พิมพ์พระ? ไม่ใช่เป็นเพียงแต่การเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมของพื้นที่ที่ได้ท่องเที่ยวเท่านั้น แต่นักท่องเที่ยวจะได้มีส่วนร่วมในการ ?สืบต่อพระพุทธศาสนา? ตามคติโบราณของไทยที่นิยมทำพระพิมพ์ดินเผา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณณรงค์ชัย โตอินทร์ (พี่กบ) และ คุณญาณภัทร์ โตอินทร์ (พี่แก้ม)

ที่ตั้ง: 51/7 หมู่ 8 บ้านเชตุพน ต้าบลเมืองเก่า อ้าเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

โทรศัพท์: 08-9643-6219, 08-1197-0535

#?????????????????#

6. เรียนรู้ เซรามิคสุโขทัย ภารุจีร์ บุญชุ่ม Sukhothai Ceramic Workshop

การ ?ปั้นสัตว์มงคลสุโขทัย? ในรูปแบบของเซรามิคที่ผ่านการปั้น การเผาและการเคลือบ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตุ๊กตารูปสัตว์สังคโลกขนาดเล็ก (figurines) ของอาณาจักรสุโขทัย ที่ถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของงาน ?ศิลปะพื้นบ้าน? ที่มีคุณค่าทางประติมากรรมของสุโขทัยอีกประเภทหนึ่ง

ภารุจีร์ บุญชุ่ม เป็นชาวสุโขทัยรุ่นใหม่ที่มีความสนใจศึกษาการปั้นงานเซรามิคด้วยตนเอง และด้วยการแสวงหาแรงบันดาลใจผ่านพื้นที่ของเมืองสุโขทัยจนเกิดเป็นผลงานเซรามิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะได้แรงดลใจมาจากสัตว์มงคลของสุโขทัยในอดีตที่ยังคงมีความหมาย ความสำคัญอยู่ในความเชื่อหรือชีวิตประจ้าวันของชาวสุโขทัย เช่น นกคุ้ม ปลาพระร่วง หรือลวดลายรูปสัตว์และพรรณพืชจากแผ่นกระดานชนวนสมัยสุโขทัยของวัดศรีชุม ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้การประยุกต์และการผสมผสานวิธีการปั้น การเคลือบแบบดั้งเดิมให้เป็นผลงานเซรามิคร่วมสมัยที่ยังคงมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับคติความเชื่อและตำนานของกรุงสุโขทัยในอดีต

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณภารุจีร์ บุญชุ่ม (ปุย)

ที่ตั้ง: Puipood Ceramic 170/5 หมู่1 ต.บ้านหลุม อ.เมือง จ.สุโขทัย

โทรศัพท์: 08-9484-9136

#?????????????????#

7.เรียนรู้งานปั้นและเขียนลายสังคโลก สุเทพสังคโลก Ceramic Forming and Painting Workshop

อาณาจักรสุโขทัยได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสังคโลก เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-20 ซึ่งนอกจากผลิตเพื่อใช้ทั้งในชีวิตประจ้าวันและในรูปแบบของประติมากรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบกับสถาปัตยกรรมของยุคสมัยแล้วยังผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

แม้ในปัจจุบันเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยยังคงเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมและพิพิธภัณฑ์จากทั่วโลก ในปัจจุบัน ที่จังหวัดสุโขทัยยังคงมีการผลิตเครื่องสังคโลกทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ที่อาศัยวิธีการปั้น การเคลือบ การเขียนสีและลวดลายตามอย่างในอดีต เช่นที่ สุเทพสังคโลก ที่นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาเรียนรู้รูปแบบและลวดลายของเครื่องสังคโลกได้ก่อนที่จะทดลองปั้น เขียนลวดลายได้ด้วยตนเอง โดยผ่านการแนะนำจากช่างผู้ช้านาญการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียดชนิดแตกลายงาสีเขียวไข่กาทีเรียกว่า เซลาดอน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณอลงกต สุขดี (หนึ่ง)

ที่ตั้ง: 203/2 หมู่ 3 ต้าบลเมืองเก่า อ. เมือง จ.สุโขทัย

โทรศัพท์: 08-4494-8890

#?????????????????#

8.เรียนรู้เขียนลวดลายสังคโลกลงผืนผ้า บ้านปรีดาภิรมย์ Sukhothai Motive: Art Workshop

กิจกรรมการเรียนรู้และวาดลวดลายสังคโลกผ่านผืนผ้าของบ้านปรีดาภิรมย์ โดยคุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและความหมายของลวดลายสังคโลก ซึ่งถือเป็นงานหัตถอุตสาหกรรมที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

ลวดลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลวดลายสัตว์ (ลายปลา ลายนกคุ้ม) ลวดลายพืชพรรณ (ลายดอกบัว ต้นไม้) และลวดลายเรขาคณิตแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม ความเชื่อและรูปแบบศิลปะเฉพาะของสุโขทัย การเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและความส้าคัญของลวดลายต่างๆ ของนักท่องเที่ยวพร้อมกับการลงมือคัดลอกหรือวาดลวดลายลงบนผืนผ้า เสื้อยืดหรือโคมไฟ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะท้าให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของ ?จิตวิญญาณของพื้นที่? เมืองสุโขทัย

นักท่องเที่ยวจะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบลวดลายที่มีความเกี่ยวข้องกับเขตพื้นที่ และเข้าใจอัตลักษณ์ของความเป็นเขตพื้นที่สุโขทัยมากขึ้น

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ (ฝน)

ที่ตั้ง: 271/1 ม.3 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย

โทรศัพท์: 09-5609-7855

#?????????????????#

9. เรียนรู้งานปั้นและเขียนลายสังคโลก โมทนาเซรามิค Mothana Ceramic Workshop

เครื่องเคลือบดินเผาสมัยสุโขทัย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในนามของ ?เครื่องสังคโลก? เป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้คุณเฉลิมเกียรติ และคุณอนุรักษ์ บุญคง ผู้ก่อตั้ง ?โมทนาเซรามิค? ได้ผสมผสานรูปแบบการปั้น การเคลือบและเทคนิคการเผาแบบดั้งเดิมจนสามารถพัฒนาการปั้นและสร้างสรรค์ลวดลายและการเคลือบสีของตนเองจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

โมทนาเซรามิคจึงเป็นพื้นที่ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้ ฝึกฝน ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อที่จะแปร ?จิตวิญญาณของพื้นที่? และ ?ความจริงแท้ดั้งเดิม? ออกมาเป็นผลงานผ่าน การปั้นด้วยมือ (hand forming) การกด (Jiggering) และการใช้แป้นหมุน การวาดลวดลายและการเคลือบให้เป็นผลงานเซรามิคร่วมสมัยของสุโขทัยด้วยตนเอง

โดยอาจแสวงหาแรงบันดาลใจผ่าน ?พิพิธภัณฑ์โมทนาเซรามิค? : พิพิธภัณฑ์แห่ง ?คุณค่า? และ ?มูลค่า? ของเครื่องสังคโลก ที่จะมีส่วนท้าให้นักท่องเที่ยวได้ค้นพบความท้าทายศักยภาพของตนเองในการสร้างผลงานเซรามิค

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณเฉลิมเกียรติ (อู๊ด) และคุณอนุรักษ์ (ไก่) บุญคง

ที่ตั้ง: 912 ต.เกาะตาเลี้ยง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย

โทรศัพ: 09-9369-8263, 08-6442-4745

#?????????????????#

10.เรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านด่านซ้าย แม่คำพัน อ่อนอุทัย Dan Sai Delicacies Cookery Class

ด่านซ้าย เป็นเมืองในหุบเขา ที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างภูเขาและแม่น้้า เป็นเมืองที่อยู่ระหว่างรอยต่อของวัฒนธรรมล้านช้าง ล้านนาและสยาม จึงมีวัฒนธรรม ความเชื่อที่ผสมผสานและมีลักษณะจ้าเพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารของเมืองด่านซ้ายมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มี ?น้้าสะทอน? (ซึ่งได้มาจากการตำ หมัก ต้มและเคี่ยวใบของต้นสะทอน จนได้น้้าปรุงที่มีกลิ่นหอมที่เป็นพืชประจำถิ่น) เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรุง

แม่คำพัน อ่อนอุทัย ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 ด้านโภชนาการ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร ?สำรับพื้นบ้านเมืองด่านซ้าย?จะเป็นผู้ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจ ?การกินอยู่อย่างคนด่านซ้ายไทเลย?

ที่นี่นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมด้านอาหารของคนด่านซ้าย (วัตถุดิบ กรรมวิธีการปรุง) แล้ว จะได้ลงมือปรุงอาหาร ?สำรับพื้นบ้านเมืองด่านซ้าย? ที่ประกอบด้วยอาหารประเภท แกงซั่ว ซุบหน่อไม้ แจ่ว (ปลา) ลาบ (หมู) และหมก (ไก่) รวมถึงการใช้ ?น้้าผักสะทอน? เป็นเครื่องปรุงรส

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณคำพัน อ่อนอุทัย

ที่ตั้ง: 162 หมู่ 1 ตำบลนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

โทรศัพท์: 0-4208-7450, 08-7217-8104

#?????????????????#

11. เรียนรู้การทาผ้าห่มนวมเชียงคาน ร้านสุณีพร Chiang Khan Cotton Quilt Workshop

เมืองเลยมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีความหนาวที่สุดในประเทศไทย และด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเย็น เมืองเลยจึงเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายที่มีคุณภาพในอดีต

?ผ้าห่มนวมเชียงคาน? เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้การปลูกฝ้ายของจังหวัดเลยจะลดน้อยลงกว่าเดิมอย่างมาก แต่ ?ผ้าห่มนวมเชียงคาน? ยังคงสืบเนื่องการผลิตมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาของการทำผ้าห่มนวมเชียงคาน จึงเป็นการผสมผสานระหว่างผลงานของธรรมชาติร่วมกับภูมิปัญญาของชุมชนที่จะใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

การท้าผ้าห่มนวม ถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดมานับตั้งแต่อดีต การนำดอกฝ้ายมาแปรเปลี่ยนให้เป็นผืนผ้านวมที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายนั้น เป็นกรรมวิธีที่ดูเรียบง่ายแต่น่ามหัศจรรย์ การเรียนรู้การปูแผ่นฝ้ายลงบนตารางของเส้นด้ายที่ขึงตรึงอยู่กับ ?กง? แล้วค่อยๆ ?ผุน?

โดยนักท่องเที่ยวที่สนใจการเรียนรู้ภูมิปัญญาการท้าผ้าห่มนวมกับจ่าเอกทองหล่อ เสวตวงษ์และผู้เชี่ยวชาญในการทำผ้าห่มนวม จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการทำความเข้าใจมรดกวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่จะท้าให้นักท่องเที่ยวเองได้ทาความเข้าใจ ?จิตวิญญาณของพื้นที่? ผ่านการพัฒนาศักยภาพของตนเอง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: จ่าเอก ทองหล่อ เสวตวงษ์

ที่ตั้ง: 215 ม.2 ถ.ศรีเชียงคาน ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย

โทรศัพท์: 04-2821-1468

#?????????????????#

12. เรียนรู้การทา ?ตุงค่าคิง? วัดพระเกิด ชุมชนวัดพระเกิด Lanna Ceremonial Flags (Tung) Workshop at Phra Kerd Temple

ตุง คือ ธงแขวนในวัฒนธรรมล้านนาประเภทหนึ่ง ใช้ประกอบในการประดับหรือประกอบพิธีกรรม ตุงล้านนามีหลากหลายรูปแบบ อาจทำด้วยกระดาษ ผ้า ไม้หรือโลหะ

ในจังหวัดน่านมีความเชื่อและการทำ ?ตุงค่าคิง? (ตุงก้าคิง) หรือตุงที่ขนาดความยาวเท่ากับความสูงของผู้ทำหรือผู้อุทิศ (ค่า-เท่ากับ/คิง-ตนเอง) โดยถือว่าเป็นการทำเพื่อการเสดาะห์เคราะห์หรือจัดทำขึ้นในช่วงพิธีสงกรานต์หรือช่วงปีใหม่ของล้านนา

คุณลุงคำรบ วัชราคม คือผู้น้าที่บุกเบิกการท้า ?ตุงค่าคิง? ให้เป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของชุมชนวัดพระเกิด อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และเป็นพื้นที่ของการศึกษาเรียนรู้และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ความหมาย ความสำคัญของ ?ตุงค่าคิง? ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง

นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ความหมายของสัญลักษณ์ในตุงที่เชื่อมโยงกับหลักธรรมของพุทธศาสนา และนักท่องเที่ยวจะได้ถวายตุงให้กับพระสงฆ์ของวัดตามพิธีกรรมของคนล้านนา การท้าตุงค่าคิง ที่วัดพระเกิดจึงไม่เป็นเพียงแต่การเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมของชุชนเท่านั้น แต่นักท่องเที่ยวจะได้เข้าร่วมในความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนด้วยแม้ว่าในปัจจุบัน คุณลุงคำรบ วัชราคม จะยุติภาระกิจของการเป็นผู้สอนและการสื่อความหมายของการท้า ?ตุงค่าคิง? ให้นักท่องเที่ยวอย่างไปโดยสิ้นเชิงแล้วก็ตาม แต่สมาชิกของชุมชนวัดพระเกิดยังคงพร้อมที่จะสืบทอดภาระกิจนี้ต่อไปอย่างเข้มแข็ง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ชุมชนวัดพระเกิด วัดพระเกิด ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ. น่าน

โทรศัพท์: 08-1882-3188

#?????????????????#

13. เรียนรู้การทาลูกปัดแบบโบราณ สมนึก ทองรักชาติ U-Thong Bead Making Workshop

อาณาจักรทวารวดีในอดีตเป็นรัฐพุทธศาสนาโบราณที่สำคัญของลุ่มแม่น้้าเจ้าพระยา เติบโตและรุ่งเรืองขึ้นในฐานะเป็นเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับต่างชาติ อาณาจักรทวารวดีเป็นดินแดนที่เชื่อมโยงอารยธรรมทั้งจากจีน อินเดียและวัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

?เมืองโบราณอู่ทอง? อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นอกจากจะปรากฏคูน้ำคันดินที่แสดงให้เห็นว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณในยุคทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) และพบโบราณวัตถุเช่นธรรมจักรศิลาที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาแล้ว ยังพบลูกปัดโบราณจ้านวนมากที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรสำคัญของโลกเช่น อินเดีย อาหรับและโรมัน ลูกปัดที่พบมีทั้งที่ผลิตจากดินเผา กระดูกสัตว์ หิน แก้วและทองคำ

การเรียนรู้การร้อยลูกปัดและการผลิตลูกปัดแก้ว โดยสำนึก ทองรักชาติ เป็นส่วนหนึ่งของการแนะนำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความเป็นมาและความสำคัญของลูกปัด ?ทวารวดี? ในฐานะที่เป็นวัตถุพยานของความมั่งคั่งในอดีตของอาณาจักรโบราณของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมโยงกับอารยธรรมอื่นๆ ของโลก

และในขณะเดียวกัน การร้อยลูกปัดและการผลิตลูกปัดของนักท่องเที่ยวก็จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ความสำคัญ ความประณีตของการผลิตลูกปัดผ่านศักยภาพของตนเอง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณสมนึก ทองรักชาติ

ที่ตั้ง: 1111/2 ม.6 ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

โทรศัพท์: 08-6393-5353



บทความแนะนำ


ที่เที่ยวดูดวงหวานแหววความสัมพันธ์คู่รักทิปส์ท่องเที่ยวทายนิสัยทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก