เที่ยวใกล้ตัว กับวัดหลังเหรียญในสกุลเงินของไทย

อ่าน 13,125

ท่องเที่ยวไทยกับสิ่งใกล้ตัว...เที่ยวตามภาพวัดไทยหลังเหรียญกษาปณ์สกุลเงินของไทย กับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในประเทศไทย มีที่ไหนบ้างตามไปดู

เอ...เพื่อน ๆ เคยสังเกต "เหรียญกษาปณ์"

ต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันกันหรือไม่ เราเชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคย

และหลายคนเคยสังเกตแล้วปล่อยผ่านไป

จึงทำให้ไม่เคยรู้ว่าข้างหลังเหรียญกษาปณ์ ตั้งแต่เหรียญ 25 สตางค์, 50

สตางค์, 1 บาท, 2 บาท, 5 บาท และเหรียญ 10 บาท มีภาพสถานที่สำคัญปรากฏอยู่

โดยเหรียญแต่ละชนิดราคาจะมีวัดสำคัญ ๆ แตกต่างกันไป

แหม...พูดมาถึงตอนนี้หลายคนคงกำลังควานหาเหรียญในกระเป๋าขึ้นมาดูล่ะสิ

ว่าด้านหลังแต่ละเหรียญนั้นคือสถานที่ไหน ^^

วันนี้ได้รวบรวมเอาสถานที่สำคัญต่าง ๆ มาไว้ถึงที่แล้ว

ส่วนจะมีที่ไหนบ้างนั้นตามเราไปดูกันเลย

1. พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (เหรียญ 25 สตางค์)

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือภาพนูนต่ำที่พิมพ์อยู่บริเวณหลังเหรียญ 25 สตางค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ

ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน

นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราชที่รู้จักกันดี

สำหรับ "พระบรมธาตุเจดีย์" มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำ

เป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุ

เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย)

ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา

เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมา ประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว

และสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.

1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่

พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร

(กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอด ทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538

จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ

ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง 22 ซุ้ม

แต่ละซุ้มมีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์

ประหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้มั่นคง

นอกจากนี้ยังมีปริศนาธรรมให้ค้นหาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย

ทั้งนี้ผู้มาเยือนที่นี่นิยมนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความเป็น

สิริมงคลแก่ชีวิต

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.

ที่อยู่ : ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โทรศัพท์ : 0 7532 4479

2. พระธาตุดอยสุเทพ (เหรียญ 50 สตางค์)

พระธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร และเป็นภาพนูนต่ำที่พิมพ์อยู่บริเวณหลังเหรียญ 50 สตางค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา เป็นพระอารามหลวง

1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวง หมายถึง

วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าอยู่หัว)

ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก

เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

พระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย

ซึ่งพระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่

ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี นำมาบรรจุไว้ที่นี่

ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน

พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพมันก็ร้องสามครั้ง

พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบแล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก 8

ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม

แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้

จากนั้นถมด้วยหินแล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น

ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ

และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น

ใน

ปี พ.ศ. 2081

สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯ

ให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก

พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์

และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ

ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุในปี 2100

พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง

เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย

ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53

กิโลเมตร เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย

ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา

ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง

ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง

วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล

นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกัน

ทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้วถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 05.30-19.30 น.

ที่อยู่ : ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โทรศัพท์ : 0 5329 5000

3. พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (เหรียญ 1 บาท)

พระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดพระแก้ว" เป็นภาพนูนต่ำที่พิมพ์อยู่บริเวณหลังเหรียญ 1 บาท

เป็นพระอารามหลวงชั้นพิเศษ เป็นเจดีย์ทรงลังกา

ตั้งอยู่ด้านหลังขององค์พระพุทธปรางค์ปราสาท

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ

ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398

เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ทรงได้มาจากลังกา

โดยสร้างตามรูปแบบของพระมหาเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา

เวลาเปิด-ปิด : เปิด

บริการทุกวัน เวลา 08.30-15.30 น. ปิดการจำหน่ายตั๋วเวลา 15.30 น.

(ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม ส่วนชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม 200 บาท/คน)

ที่อยู่ : เขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก ติดท้องสนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

เว็บไซต์ : palaces.thai.net

4. พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชมหาวิหาร (เหรียญ 2 บาท)

พระบรมบรรพต ตั้งอยู่ภายในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งปรากฏเป็นภาพนูนต่ำที่เหรียญ 2 บาท โดย "บรมบรรพต" นามพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเดิมคือ "พระเจดีย์ภูเขาทอง" แต่ชาวไทยนิยมเรียกง่าย ๆ กันว่า "เจดีย์ภูเขาทอง"

พระเจดีย์องค์นี้นับเป็นพุทธสถานที่สำคัญของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่

3) ในวาระที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสระเกศครั้งใหญ่นั้น

ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระเจดีย์เหมือนอย่างวัดภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา

มีคลองมหานาคล้อมรอบวัด

และเป็นคลองที่ชาวพระนครจัดเป็นที่ชุมนุมรื่นเริงลอยเรือเล่นสักวากันครั้ง

สมัยรัชกาลที่ 1 เหมือนอย่างการละเล่นของชาวกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ

ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) เป็นแม่กองในการสร้าง

แรกสร้างพระเจดีย์ภูเขาทองนั้นรูปแบบเป็นปรางค์องค์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมแบบย่อไม้สิบสอง อันเป็นพุทธศิลป์

สถาปัตยกรรมที่นิยมสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ฐานกว้าง 50 วา หรือ 100 เมตร สูง 9 วา หรือ 18 เมตร โดยขุดรากลึกลงไปในดิน

(ริมคลองเป็นดินโคลน) วางท่อนซุงเรียงเป็นแพอัดแน่น

อันเป็นวิธีการสร้างฐานรากเหมือนตอกเสาเข็มแล้วถมดินและหินศิลาแลง

จากนั้นก่ออิฐถือปูนครอบไว้ชั้นนอก

ปรากฏว่าส่วนฐานล่างองค์พระเจดีย์รับน้ำหนักดิน หิน และศิลาแลงที่ถมไม่ได้

ส่วนบนยอดเจดีย์จึงทรุดลงจนไม่สามารถแก้ไขได้และมิได้สร้างต่อให้แล้วเสร็จ

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ

ให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)

เป็นแม่กองซ่อมสร้างพระเจดีย์ภูเขาทองที่ทิ้งค้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อ

โดยซ่อมแปลงแก้ไขพระปรางค์องค์ใหญ่ทำเป็นภูเขาทอง

ทำบันไดเวียนสองข้างจนถึงยอดมีส่วนหนึ่งทำบันไดทอดตรงลงมา ครั้นถึงเดือน 6

ปีฉลู พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์ทรงระฆังไว้บนยอดเขาหนึ่งองค์ ได้เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์และโปรดเกล้าฯ ให้มี "ละครใน" (ละครที่ผู้หญิงแสดงล้วน เป็นมหรสพในราชสำนัก) เป็นมหรสพฉลอง เมื่อแล้วเสร็จพระราชทานนามใหม่ว่า "บรมบรรพต"

การ

บูรณะซ่อมพระเจดีย์ภูเขาทองครั้งที่สองในสมัยรัชกาลที่ 5

อันเป็นการซ่อมเสริมในส่วนที่ยังไม่เรียบร้อยต่อจากสมัยรัชกาลที่ 4

เมื่อแล้วเสร็จในวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บูชาไว้ในพระ

บรมมหาราชวัง ประดิษฐานในพระเจดีย์ภูเขาทองเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2440

โปรดเกล้าฯ กำหนดให้มีงานนักขัตฤกษ์ฉลองพระเจดีย์ภูเขา

ทองและพระอารามหลวงวัดสระเกศ ระหว่างขึ้น 8-15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประจำทุกปี

ต่อมาวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ

ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธกรมขุนนครราชสีมา

เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอินเดีย และนำมาทูลเกล้าฯ

ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

แล้วพระองค์โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระเจดีย์ภูเขาทองเป็นครั้งที่สอง

การพระราชพิธีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีฉลองทั้งกลางวันกลางคืน 3 วัน

พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และถวายภัตตา หารแด่พระสงฆ์จำนวน 100 รูป

ตั้งบายศรีแก้ว เงิน ทอง และเวียนเทียนสมโภช กลางคืนจัดมหรสพสมโภช มีโขน

หุ่น งิ้ว หนัง และจุดดอกไม้เพลิงตามธรรมเนียมโบราณ

จากการพระราชพิธีฉลองใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วนานถึง 50 ปีต่อมา

สมัยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถร

ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ

ทรงมีบัญชาให้กรมชลประทานเป็นแม่กองทำการซ่อมครั้งใหญ่ระหว่างปี พ.ศ.

2493-2497 โดยให้หยุดงานนักขัตฤกษ์ประจำปีไว้ชั่วคราว การซ่อมใหญ่ ได้แก่

องค์พระเจดีย์ภูเขาทองที่ทรุดเอียงซ่อมเสริมเหล็กคานคอนกรีต

ซ่อมกำแพงรอบนอกและบันได ตัดโค่นต้นไม้ที่รกทึบให้โล่งเตียน

เมื่อแล้วเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

เสด็จพระราชดำเนินยังมณฑลพิธี ณ บรมบรรพต

ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ยอดพระมณฑป ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22

มกราคม พ.ศ. 2497

และเปิดให้มีงานเทศกาลนมัสการตามประเพณีโบราณฉลองกันตลอดมา

ทั้งนี้บรมบรรพตปัจจุบันมีขนาดสูงจากฐานถึงยอด 63.6 เมตร

ฐานโดยรอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 150 เมตร ฐานโดยรอบยาว 330 เมตร

มีบันไดทอดขึ้นเป็นบันไดเวียน 344 ขั้น

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. (ชาวไทยไม่เสียค่าบริการ ส่วนชาวต่างชาติเสียค่าเข้า 10 บาท)

ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

โทรศัพท์ : 0 2621 2280

เว็บไซต์ : watsraket.com

5. พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร (เหรียญ 5 บาท)

วัดเบญจมบพิตร หรือชื่อทางการคือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร

ซึ่งพระอุโบสถของวัดได้ปรากฏเป็นภาพพิมพ์นูนต่ำที่อยู่ด้านหลังของเหรียญ 5

บาท เป็นวัดที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า "The Marble Temple" เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี

ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ

จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมาก

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2441

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ

ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน

เพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" (พระราชวังดุสิตในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2

แห่ง คือ วัดดุสิต ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา

และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัด สำหรับตัดเป็นถนน

พระองค์จึงทรงทำผาติกรรม คือการสร้างวัดแห่งใหม่

เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนา

ตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา

ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตดีกว่า

จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม

เป็นนายช่างก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.

2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังวัด

ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคาม

สีมา (เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์สำหรับสร้างพระอุโบสถ) ของวัด

พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเบญจมบพิตร" อันหมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5

และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ต่อมา

พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า "ดุสิตวนาราม" ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดให้เรียกนามรวมกันว่า "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

ในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ถูกจัดให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้นชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย "ราชวรวิหาร" กลายเป็นชื่อ "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร" ในปัจจุบัน

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00-17.00 น.

ที่อยู่ : 69 ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ

โทรศัพท์ : 0 2282 2667, 0 2281 7825

เว็บไซต์ : watbencha.net

6. พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (เหรียญ 10 บาท )

พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา รวมทั้งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ

ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2

ซึ่งเป็นภาพพิมพ์นูนต่ำที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญ 10 บาท

ที่ใช้กันในปัจจุบั

พระปรางค์

เป็นศิลปกรรมที่สง่างามและโดดเด่นที่สุดในวัดอรุณฯ

ตั้งอยู่หน้าวัดทางทิศใต้

พระปรางค์องค์นี้เดิมทีสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อยหน้าพระปรางค์

โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

ทรงมีพระราชศรัทธาจะเสริมสร้างให้สูงใหญ่เป็นมหาธาตุประจำพระนคร

แต่ทรงกระทำได้เพียงโปรดเกล้าฯ ให้กะที่ขุดรากเตรียมไว้เท่านั้น

เนื่องจากสวรรคตเสียก่อน

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่อีกครั้ง

และทรงมีพระราชดำริที่จะสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสริมสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่สูง ถึง 1 เส้น 13 วา 1 ศอก 1

คืบ กับ 1 นิ้ว (สูง 67 เมตร) ฐานพระปรางค์กลมโดยรอบ 5 เส้น 17 วา (234

เมตร) โดยรัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินมาก่อพระฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ เดือน 9

แรม 12 ค่ำ พ.ศ. 2385 สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 ใช้เวลาสร้างถึง 9 ปี

และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อยอดนพศูลพระปรางค์ ปี พ.ศ. 2389

เมื่อยกยอดพระปรางค์ซึ่งเดิมทำเป็นยอดนพศูลตามพระปรางค์แบบโบราณ

แต่ครั้นใกล้วันฤกษ์กลับโปรดให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่อง

ที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล

เมื่อการก่อสร้างสำเร็จแล้วยังไม่ทันมีงานฉลองก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ 3 ในปี

พ.ศ. 2394

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.30-17.30 น.

ที่อยู่ : 158 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

โทรศัพท์ : 0 2891 2185

เว็บไซต์ : watarun.org

เป็นอย่างไรบ้างคะ

กับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ตัวที่เราเพียงแค่พลิกเหรียญกษาปณ์มาดู

เราก็ได้ไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญถึง 6

แห่งกันแล้ว เรียกได้ว่าเป็นความรู้ใกล้ตัวที่เราไม่ควรพลาดเลย

หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ททท, thaifolk.com, watarun.org, doisuthep.com, watsraket.com, bangkokgoguide.com และ watbencha.net



บทความแนะนำ


อ่อนโรยบำรุงผิวหยาบกร้านการศึกษาเรื่องคู่สีน้ำเงินคำทำนายทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก