ปิล๊อก สัมผัสเสน่ห์หมู่บ้านเล็ก ๆ กลางหุบเขาในกาญจนบุรี

อ่าน 1,055

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

ปิล๊อก หมู่บ้านเล็ก ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี จากอดีตเหมืองปิล๊อกที่รุ่งโรจน์ ที่วันนี้คงเหลือไว้แต่ความทรงจำและสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ ท่ามกลางขุนเขาและวิถีชีวิตผู้คนที่เงียบสงบ

"ปิล๊อก" จังหวัดกาญจนบุรี

ตำบลเล็ก ๆ ที่ในอดีตคือเหมืองแร่ที่รุ่งเรืองมาก

ก่อนจะเกิดวิกฤตเกี่ยวกับราคาแร่ทำให้ต้องปิดตัวลง

และกลายเป็นหมู่บ้านที่เงียบสงบ แต่ถึงอย่างนั้นความงดงามของธรรมชาติ

รวมถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คนในท้องถิ่นก็ยังคงมีปรากฏให้เห็น

จึงไม่แปลกที่ไม่ว่าการเดินทางจะลำบากยากเย็นเพียงใด

แต่ยังมีผู้คนแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนสถานที่ที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาแห่งนี้

เสมอ วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ

ข้ามทะเลภูเขาเพื่อไปสัมผัสมนตร์เสน่ห์ของสถานที่ท่องเที่ยวเล็ก ๆ

ที่ผ่านทั้งช่วงเวลาแห่งอดีตอันรุ่งโรจน์และตกต่ำนามว่า "ปิล๊อก" กันสักครั้ง

เรื่องเล่าที่สืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งเกี่ยวกับปิล๊อก

บอกเราให้รู้ว่าภาพชวนฝันของระลอกคลื่นเขาอันสลับซับซ้อนที่ใครหลายคนเห็น

ผ่านตาตามหน้าหนังสือ

จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติและกลิ่นอายของสายหมอกแห่ง

นี้ ในทุกตารางพื้นที่ของปิล๊อกกลับบรรจุไว้ด้วยเรื่องราวต่าง ๆ

จนคุณเองก็คาดไม่ถึง เชื่อว่าหลายคนน่าจะติดใจกับชื่อ "ปิล๊อก" เพราะฟังดูเหมือนจะเป็นภาษาไทยก็ไม่ใช่ ภาษาเพื่อนบ้านก็ไม่เชิง จะบอกให้รู้ว่า "ปิล๊อก" เป็นการเพี้ยนเสียงมาจากสมญานามที่ใครฟังแล้วต้องขนหัวลุกว่า "เหมืองผีหลอก" ครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ปราบปรามกรรมกรพม่าที่ลักลอบเข้ามาขุดเหมืองแร่ภายในบริเวณนี้นั่นเอง

ภาพจาก SeeWorld88 / shutterstock.com

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นภายหลังที่กรมโลหกิจ

องค์การเหมืองแร่ของรัฐบาลไทย

ประกาศจัดตั้งเหมืองแร่แห่งแรกขึ้นที่บริเวณบ้านอีต่อง เมื่อประมาณ พ.ศ.

2483 ด้วยเพราะไม่ต้องการให้กรรมกรชาวพม่าได้เข้ามาลักลอบขุดแร่ต่าง ๆ

เพื่อนำไปขายให้กับอังกฤษ จนทำให้เกิดเหตุการณ์การปราบปราม

และมีผลทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นานวันเข้าจึงมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาเป็นระยะ

ถึงความเป็นเหมืองผีหลอกที่พูดกันปากต่อปาก

บวกกับการออกเสียงเรียกที่เพี้ยนไปของชาวพม่า จากเดิม "ผีหลอก" ก็กลายเป็น "ปิล๊อก" จนมาถึงทุกวันนี้

เมื่อความไม่แน่นอนดูจะเป็นสัจธรรมสากลของโลก

ปิล๊อกเองก็ไม่พ้นวังวนของวัฏจักรนี้ด้วยเช่นกัน

จากเมื่อครั้งที่ปิล๊อกได้พาตัวเองมาถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดของเหมืองแร่

(ในช่วงเวลานั้นมีเหมืองแร่เกิดขึ้นมากมาย

จนเหมือนเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าบรรดานักแสวงโชคที่อยากจะร่ำรวยจากการขุด

แร่ขายแร่) จนเมื่อราคาแร่ในตลาดโลกดิ่งตัวตกต่ำอย่างรุนแรง

ตามมาด้วยการล่มสลายของสภาเหมืองแร่โลกประมาณปี พ.ศ. 2527

ซึ่งแน่นอนว่าเหมืองแร่ปิล๊อกก็ไม่สามารถหนีรอดพ้นวิกฤตเหล่านี้ไปได้เช่น

กัน

เป็นเวลานานหลายสิบปีที่ปิล๊อกแอบเก็บตัวอยู่เงียบ ๆ

ในฐานะตำบลเล็ก ๆ ของอำเภอทองผาภูมิ แต่ดูเหมือนว่าจะเก็บตัวอยู่ได้ไม่นาน

ชื่อของปิล๊อกถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง

แต่คราวนี้ดูจะต่างไปจากบริบทเดิมอยู่มาก

ปิล๊อกในวันนี้ไม่ใช่พื้นที่รวมตัวของเหล่าบรรดานักขุดแร่แสวงโชคอีกต่อไป

หากแต่เป็นพื้นที่มหัศจรรย์ที่รวมตัวนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติ

อยากจะแสวงหาความสุขสงบ ท่ามกลางวิถีชีวิตผู้คนและธรรมชาติที่งดงาม

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

จากอดีตที่ปิล๊อกเป็นขุมทรัพย์เหมืองที่ยิ่งใหญ่หลายสิบหลายร้อยเหมือง

คงจะไม่ผิดนักที่วันนี้นักท่องเที่ยวและชาวบ้านจะยกให้ "เหมืองสมศักดิ์"

กลายเป็นสัญลักษณ์ภาพแทนอดีตรุ่งโรจน์ของปิล๊อก ภายใต้นาม "สมศักดิ์ เสตะพันธุ" ผู้บุกเบิกขุมเหมืองยิ่งใหญ่แห่งนี้ หากแต่ปัจจุบันคงเหลือไว้แต่ผู้เป็นภรรยา "ป้าเกล็น" ที่

ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล

นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนในเหมืองยังได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นบ้านพักเรียบง่าย

ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา

เสมือนเป็นจุดพักปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่มุ่งหน้าฝ่าฟันเข้ามาสัมผัส

เหมืองกลางป่าของป้าเกล็น (สอบถามรายละเอียดบ้านพักได้ที่ โทร. 081 325

9471, 092 695 6345)

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

พลาดไม่ได้กับการเที่ยวชมหมู่บ้านเล็ก ๆ ติดชายแดนชื่อว่า "อีต่อง"

ในอดีตหมู่บ้านนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งศูนย์รวมความเจริญต่าง ๆ

ใครอยากจะได้เสื้อผ้า ยารักษาโรค อาหาร

หรือแม้แต่เที่ยวเล่นสถานบันเทิงก็มีบริการเสร็จสรรพ

ขออย่างเดียวใครที่จะมาที่นี่ขอให้มีเงินเป็นพอ

หากแต่อาจเป็นเพราะความลื่นไหวของเวลา

ที่ดูเหมือนจะนำพาอดีตที่รุ่งโรจน์เหล่านั้นติดมือไปด้วย

คงเหลือไว้แต่กลิ่นอายของอดีตที่ยังคงติดค้างหลงเหลือตามอาคารบ้านเรือนหลัง

เก่า ๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นร้านค้า

หรือแม้แต่ฝากไว้กับลมหายใจของคนงานเหมืองเก่าที่ผันตัวเองไปยึดอาชีพอื่น

จนดูคล้ายกับว่าอดีตที่รุ่งโรจน์ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องเศร้าเสียดายของผู้

คนที่นี่อีกต่อไป

ภาพจาก SeeWorld88 / shutterstock.com

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

นอกจากนี้รอบบริเวณหมู่บ้านอีต่องยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่อีกที่ คือ "เนินช้างศึก" หรือ "ฐานช้างศึก"

อยู่ในเขตความรับผิดชอบของตำรวจตระเวนชายแดน ร้อย ตชด.135

ทางขึ้นจะอยู่ระหว่าง สถานีตำรวจปิล๊อก กับ หมู่บ้านอีต่อง

ทางขึ้นจะเขียนว่า อุโมงค์เหมือง และ จุดชมวิว

ปัจจุบันทางเจ้าหน้าที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมและพักกางเต็นท์ได้

ในบริเวณที่ทางเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้

(แต่นักท่องเที่ยวจะต้องเตรียมสัมภาระและอาหารต่าง ๆ ไปเอง)

ที่นี่เองมีจุดชมวิวให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความสวยงามของพระอาทิตย์ขึ้น

และตกดินสวยที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

แต่อยากกระซิบบอกนิดหนึ่งว่า?ทางขึ้นค่อนข้างแคบ เวลาขับรถ ต้องคอยระวัง

และใช้แตรเสมอ ทางบางช่วงไม่เป็นคอนกรีต ถ้าวันไหนฝนตก ถนนจะเลวร้ายมาก

ใครไปเที่ยวที่เนินช้างศึกควรให้ความเคารพต่อสถานที่

ตลอดจนเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

และไม่ลืมที่จะรักษาความสะอาด

เพื่อลดภาระสำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลสถานที่แห่งนี้

(นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกางเต็นท์แต่อย่างใด)

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin

ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสักนิด

ถ้าใครก็ตามที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้แล้วเกิดอยากจะเดินทางมาเที่ยวที่ปิล๊อก

ดูสักครั้ง ดินแดนมหัศจรรย์กลางผืนป่า ที่ซึ่งสายลม ทะเลหมอก ท้องฟ้าสีคราม

ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาทักทายนักท่องเที่ยวไม่ซ้ำกันตลอดทั้งปี

และถึงแม้ว่าปิล๊อกในวันนี้จะเป็นแค่อดีตเหมืองแร่ที่เคยรุ่งเรือง

หากแต่ยังร่ำรวยด้วยธรรมชาติอย่างยากที่จะบรรยาย

ใครที่อยากพบกับความมหัศจรรย์เหล่านี้แล้วละก็

อย่าลืมพาตัวเองมาเที่ยวที่ปิล๊อกกันให้ได้นะคะ

ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ โทร. 081 382 0359, 034 532 114

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

เฟซบุ๊ก Somsak Mining, เฟซบุ๊ก Sayompon A Pinnin, เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี



บทความแนะนำ


ผู้หญิงความรักเคล็ดลับการเรียนการแต่งงานเรียนเก่งการศึกษาผู้ชายเจี๊ยบลลนาของชำร่วยทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก