นาเฮียใช้ สุพรรณบุรี ศูนย์ศึกษาเรียนรู้พันธุ์ข้าวที่น่าสนใจ

อ่าน 13,605

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

นาเฮียใช้ หรือศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่รวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในวิถีของเกษตรกรที่ทรงคุณค่าให้ได้ศึกษาและเรียนรู้

ชวนไปท่องเที่ยวสัมผัสจิตวิญญาณของชาวนาไทย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชีวิตการเกษตร ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ นาเฮียใช้

พื้นที่เกษตรน่าเรียนรู้ขนาดใหญ่

ที่โดดเด่นน่าเข้าไปสัมผัสด้วยภาพแปลงนารูปสวยในมุมสูง ๆ

เป็นจุดท่องเที่ยวที่พลาดไม่ได้เมื่อมาเยือนจังหวัดสุพรรณบุรี

แต่ก่อนจะไปเที่ยวชมที่นี่ลองไปทำความรู้จักกับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันก่อน

ดีกว่าค่ะ

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

ก่อนจะมาเป็น...นาเฮียใช้

ในอดีตบิดา-มารดาของเฮียใช้มีพื้นเพเดิมมาจากหมู่บ้านเซ่งจิว ตำบลโคยหน่ำ

อำเภอเก๊กเอี๊ย จังหวัดซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2468

เนื่องจากเกิดสภาวะฝนแล้งติดต่อกัน 3 ปี

จึงได้ตัดสินใจเดินทางจากบ้านเกิดโดยทางเรือ

มาอาศัยอยู่ภายใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 7) และย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านป่าสำดำ ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง

จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่ บ้านสะแกย่างหมู

อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยอาศัยที่ดินของพ่อตู้ขุน แม่ตู้คำ

กุณฑา

เมื่อเฮียใช้อายุประมาณ 1 ขวบ

ได้ย้ายมาอยู่บ้านอู่ยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ขณะนั้นมารดาประกอบอาชีพหาบของ แลกข้าวเปลือก ขายข้าวแกง ร้านกาแฟ

และร้านขายของชำ เฮียใช้จบการศึกษาระดับชั้น ป.4 จากโรงเรียนบ้านลาดตานวล

(โรงเรียนวัดอู่ยาในปัจจุบัน)

และเมื่อเฮียใช้เติบโตขึ้น

ได้เข้ามาช่วยครอบครัวในการรับซื้อข้าวเปลือกและรับจ้างบรรทุกของ ในปี พ.ศ.

2540 ครอบครัวได้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ

จากรับซื้อข้าวเปลือกมาเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการค้าโดยมีลูก ๆ

คอยช่วยดูแล เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เรียนรู้ลองผิดลองถูก

โดยการสร้างเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวมีกำลังการคัดได้ 6 ตันต่อวัน

ด้วยงบประมาณ 350,000 บาท

และนับได้ว่าเป็นเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเครื่องแรกในภาคเอกชน

ภายใต้เครื่องหมายการค้า เฮียใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ตั้งแต่กระสอบแรกที่บรรจุ

และพัฒนาระบบการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์สูงผ่านตามเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.

พันธุ์พืชกำหนด

ในปัจจุบันได้เข้าร่วมโครงการรับรองระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์

ที่ทางกรมการข้าวร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

(มกอช.) และได้รับการรับรองระบบในปี 2558

จึงเห็นได้ว่ามีการใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิต

เพื่อให้ได้ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

โดยหัวใจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเฮียใช้

คือการค้นหาเกษตรกรที่มีความขยัน ซื่อสัตย์

และรับผิดชอบในหน้าที่มาเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ

ในปัจจุบันมีครอบครัวชาวนาที่เข้าร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 300 ครอบครัว

โดยทุกแปลงทีมงานเฮียใช้จะเป็นผู้เพาะกล้าพร้อมปักดำให้กับสมาชิก

เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์สูงไว้สำหรับบริการพี่น้องชาว

นา

ความเป็นมา...นาเฮียใช้

นาเฮียใช้ สร้าง

ขึ้นจากความจงรักภักดีและสำนึกในคุณงามความดีของในหลวง

พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อประชาชนคนไทย ก่อตั้งโดย คุณนิทัศน์

เจริญธรรมรักษา ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับชาวนาและข้าว

ใช้ชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อผลิตเมล็ด

พันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

พร้อมเล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้และการทำนาอย่างถูกวิธี

ซึ่งจะมีประโยชน์แก่ส่วนรวมและสมาชิกของสมาคม ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค

ให้บุคคลทั่วไปที่เห็นความสำคัญของข้าวและชาวนา

อีกทั้งยังเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้สนใจได้เข้าชม

ซึ่งแต่ละโซนจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับ

โซนต่าง ๆ อีกด้วย

ส่วนไฮไลท์ในการเข้าชมภายในศูนย์เรียนรู้คือการชมแปลงนาสวย ๆ

ที่ปลูกให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ อาทิ แผนที่ประเทศไทย

หรือการปลูกข้าวสีเขียวสลับกับต้นข้าวสีดำด้วยการแปลงเป็นอักษรรูปร่างต่าง ๆ

อีกด้วย

นอกจากนี้ภายในศูนย์การเรียนรู้แบ่งพื้นที่เรียนรู้ออกเป็นหลายส่วน ได้แก่

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

เรือนศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ

เรือนไทยที่สร้างด้วยความตั้งใจในการแสดงความจงรักภักดีต่อพ่อหลวงของแผ่น

ดิน ตัวเรือนไทย สร้างสรรค์ด้วยรูปแบบที่มีความโดดเด่นงดงามเป็นพิเศษ

ภายในมีการจัดแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จขึ้นครอง

สิริราชสมบัติ พระบรมฉายาลักษณ์ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ จัดแสดงพระบรมรูป

และพระบรมสาทิสลักษณ์ราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9

จัดแสดงพระบรมรูปพระบรมราชชนก พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระบรมรูปสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 9 ช่วงพระชนมายุ

ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

นอกจากนั้นยังมีรูปบุคคลสำคัญ ๆ

ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาวงการข้าวไทย

และการสร้างศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย

ทั้งข้าราชการและประชาชนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่งเรือนหลังนี้

ถือเป็นเรือนแห่งคุณค่าทางจิตใจซึ่งผู้เข้าชมสามารถเข้าถวายราชสักการะ

แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความซาบซึ้งในพระมหา

กรุณาธิคุณที่พระองค์มีต่อพสกนิกรชาวไทย

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

? เรือนพระแม่โพสพ

ยลโฉม "องค์พระแม่โพสพ"

ทำมาจากไม้สักที่แกะสลักอย่างประณีตงดงามโดยช่างแกะสลักฝีมือดีจากจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา จนได้องค์พระแม่โพสพที่งดงามสมสัดส่วน

เป็นองค์พระแม่โพสพประคองรวงข้าวอันเป็นการสื่อความหมายถึงการทะนุถนอม

ประดุจแม่ประคองลูกอย่างอบอุ่น นัยเสมือนพระแม่โพสพประคองข้าว

อันเป็นอาหารที่นำมาหล่อเลี้ยงชุบชีวิตให้มนุษย์เจริญเติบโต

ภายในเรือนยังมีรูปหล่อพระแม่โพสพในยุคต่าง ๆ

ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระแม่โพสพ ที่หล่อในปี 2500

โดยได้จัดพิธีพุทธาภิเษกที่ท้องสนามหลวง โดยเรียกองค์พระแม่โพสพในยุคนี้ว่า

?รุ่น 25 ศตวรรษ? จัดแสดงพระแม่โพสพและพิธีกรรมต่าง ๆ

ครั้งในอดีตในช่วงการทำนา

เพื่อให้ชาวนาและคนรุ่นหลังเข้าใจในวัฒนธรรมที่ได้สืบต่อกันมา

และอนุรักษ์มิให้สูญหาย

? เรือนหนังสือพระราชกรณียกิจและเรือนหนังสือข้าว

เรือนไทยทรงปั้นหยา จำลองรูปแบบให้เหมือนโรงเรียนในสมัยอดีต

ภายในเรือนเก็บรวบรวมหนังสือพระราชกรณียกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หนังสือข้าวได้รับการอนุเคราะห์จากกรมการข้าวและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ได้ให้การสนับสนุนหนังสือความรู้เรื่องการทำนา ปัญหาต่าง ๆ ของการทำนา

ชนิดพันธุ์ข้าว และองค์ความรู้ต่าง ๆ

ที่สามารถค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้

? เรือนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต

การก่อสร้างเรือนไทยด้วยความประณีตวิจิตรบรรจง

การออกแบบที่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยรูปทรงประกอบด้วยเรือนไทย 3 หลัง

คือ เรือนไทยหลังใหญ่ เรือนลูกซ้าย เรือนลูกขวา และครัวไฟ

อันเป็นสถานที่ประกอบอาหารในอดีต เรือนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต

เป็นเรือนไทยยกพื้นสูง ใต้ถุนเป็นสถานที่จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในอดีต

เช่น อุปกรณ์หีบอ้อย ซึ่งรวบรวมไว้หลายแบบ

แสดงถึงภูมิปัญญาไทยในการออกแบบเฟืองที่หลากหลาย

แสดงพาหนะในอดีตที่ใช้ในการเดินทางคือ เกวียน

เป็นการออกแบบที่สวยงามมีศิลปะ และจัดแสดงเครื่องโม่แป้ง เครื่องบดยา

ตลอดจนเปลเด็กแบบต่าง ๆ

ต่อเนื่องจากเรือนไทยเชื่อมด้วยยุ้งเก็บข้าวที่จำลองแบบจากอดีตอย่างครบถ้วน

นอกจากนี้ ได้มีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น

เครื่องมือในการทำนา เครื่องมือในการดักจับปลา และเครื่องมือในการทำงานไม้

รวมทั้งคอกควายซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวนาไทย

แต่ดั้งเดิม

? หอเตือนภัยชาวนา

หอคอยสูง 3 ชั้น ความสูง 14.5 เมตร ก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง

ออกแบบด้วยความประณีตเป็นเอกลักษณ์ มีความมั่นคงแข็งแรง

สามารถรับน้ำหนักผู้เข้าชมจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย

หอเตือนภัยชาวนานี้เป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามอีกหนึ่งจุด

สำหรับผู้เข้าชมสามารถมองทัศนียภาพรอบ ๆ

ในมุมสูงได้อย่างงดงามสร้างความประทับใจแล้ว

ยังมีการติดตั้งเครื่องขยายเสียงและสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้ชาวนาระวังได้

อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

? ร้านโชห่วยหรือร้านขายของในอดีต

เป็นการจำลองรูปแบบของร้านค้าในอดีตซึ่งได้เก็บรวบรวมส่วนประกอบต่าง ๆ

ของร้านค้าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางสินค้า โต๊ะและเก้าอี้

รวมทั้งสินค้าที่เคยจำหน่ายในครั้งอดีตซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น

ลอตเตอรี่เก่าสมัยก่อน จึงนับได้ว่าจุดแสดงร้านโชห่วย หรือร้านขายของในอดีต

จะเป็นจุดย้อนรำลึกถึงความหลัง

สำหรับผู้เข้าชมที่มีวัยอยู่ในยุคสินค้าเหล่านั้น

จัดวางจำหน่ายและแสดงให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตไทยในอดีต

ผ่านรูปแบบและชนิดสินค้าต่าง ๆ ที่จัดแสดง

? อุโมงค์โรค แมลง ข้าววัชพืช และวัชพืชข้าว

สิ่งที่ทำให้ชาวนาประสบความล้มเหลวในการทำนา

ผลผลิตไม่ได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้

นอกเหนือจากการเลือกใช้ชนิดพันธุ์ข้าวที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะอากาศแล้ว

ยังมีปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญ คือ โรค แมลง ข้าววัชพืชและวัชพืชข้าว

จึงเป็นที่มาของการสร้างอุโมงค์ที่ให้ความรู้ วิธีการป้องกัน วิธีการแก้ไข

ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายของภัยต่าง ๆ เหล่านี้ โดยใช้ชื่อว่า อุโมงค์โรค

แมลง ข้าววัชพืช และวัชพืชข้าว

ภายในอุโมงค์จะรวบรวมต้นข้าวที่ถูกการเข้าทำลายของโรค แมลง ศัตรูข้าว

ลักษณะของต้นข้าววัชพืช และวัชพืชในนาข้าว

ในรูปแบบตัวอย่างของจริงและภาพประกอบ เพื่อให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ โรค

แมลง รู้จักวิธีป้องกัน และแนวทางการแก้ไขที่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

จะทำให้ชาวนามีโอกาสประสบความสำเร็จในอาชีพทำนามากยิ่งขึ้น

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

นอกจากนี้ยังมีบริการศูนย์ของฝาก ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากภายในไร่ อาทิ

- ร้านกาแฟสดเฮียใช้

เป็นร้านที่จำลองบรรยากาศของร้านกาแฟในอดีต

พร้อมวิวทิวทัศน์ของทุ่งนาเขียวขจี

ภายในถูกตกแต่งด้วยข้าวของเครื่องใช้จากสมัยโบราณ เช่น รถเข็นกาแฟโบราณ

นาฬิกาโบราณ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนภาชนะที่ใช้เสิร์ฟเครื่องดื่มมีหลากหลายรูปแบบ

อาทิ หม้ออวยโบราณหลากสีสัน แก้วรูปทรงหลอดไฟ เป็นต้น

นอกจากจะจำหน่ายเครื่องดื่มร้อน-เย็น ขนมเค้ก ยังมี ชาข้าวเหนียวลืมผัว

ไว้ให้ลูกค้าที่รักในสุขภาพทดลองชิมฟรี

- ผักปลอดสารพิษ ของ

ฝากอีกอย่างสำหรับคนที่ใส่ใจ และรักสุขภาพ

ที่ไม่ควรพลาดจากศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้)

ก็คือ ผักปลอดสารพิษ สด สะอาด ที่ปลูกภายในและภายนอกมุ้งป้องกันแมลง

ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตฯ เช่น คะน้า

กวางตุ้งฮ่องเต้ กระเจี๊ยบเขียว ชะอม ผักหวานบ้าน ถั่วฝักยาว มะเขือยาว

เป็นต้น

- ก๋วยเตี๋ยวโกวเจ็ง

คือร้านอาหารประจำศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย ราคาย่อมเยา

ที่นี่มีบริการก๋วยเตี๋ยวหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณ (หมูสับน้ำใส)

ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา-หมู

ลูกชิ้นลวกจิ้ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีน้ำแข็งไสเย็น ๆ หรือขนมถ้วยหวานมัน

ไว้ให้เลือกรับประทานในวันที่อากาศร้อน

- ร้านจำหน่ายของฝาก

นอกจากจะเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงศึกษาเรื่องข้าว

และวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีตแล้ว

ยังสามารถเลือกซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านกันได้อีกด้วย

โดยสินค้าหลักเป็นข้าวเพื่อสุขภาพหลากหลายชนิดพันธุ์

ที่เป็นที่นิยมของแต่ละภูมิภาค เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี

ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหนียวลืมผัว

และข้าวนาปรังที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ในรูปแบบของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ

และข้าวขาว

บรรจุอยู่ในแพ็กสุญญากาศเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ

นอกจากนั้นยังมีผักต่าง ๆ ที่ปลูกในโรงเรือนปลอดสารเคมี

เสื้อที่ระลึกของศูนย์เรียนรู้ฯ ปิ่นโต จาน ช้อน แก้วสังกะสี หมออวย

หลากหลายสีสัน ไว้คอยบริการผู้เยี่ยมชมทุกท่าน

อัตราค่าบริการ

1. บุคคลทั่วไปเยี่ยมชมฟรี

2. นักเรียนชั้นระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่รวมการดำนา

3. ระดับชั้นอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ครึ่งราคา และไม่รวมการดำนา

4. บุคคลทั่วไป (ศึกษาดูงานไม่รวมค่าอาหาร, ค่าห้องอาหารติดแอร์ และค่าดำนา)

- ไม่เกิน 50 ท่าน อัตราเหมาจ่ายราคา 2,500 บาท

- 50 ท่านขึ้นไป ท่านละ 50 บาท

5. บุคคลทั่วไป (ศึกษาดูงานรวมค่าอาหารบุฟเฟ่ต์ไม่รวมค่าห้องอาหารติดแอร์)

- บุฟเฟ่ต์กับข้าว 2 อย่างพร้อมผลไม้ ราคาท่านละ 70 บาท

- บุฟเฟ่ต์กับข้าว 3 อย่างพร้อมผลไม้ ราคาท่านละ 120 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม รายการอาหาร

หมายเหตุ : รับได้ตั้งแต่ 1-150 ท่าน

? ห้องอาหารติดแอร์ ราคา 1,000 บาท (รับประทานได้ 50 ท่าน)

? ศึกษาดูงาน ไม่รวมการดำนา หากประสงค์จะดำนา โปรดแจ้ง

? 30 ท่านแรก ราคา 1, 500 บาท

? 30 ท่านขึ้นไป ราคา 2,000 บาท

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

ที่อยู่ : เลขที่ 150/6 หมู่ 8 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

โทรศัพท์ : 0 3544 6955 หรือสนใจติดต่อดูงานเป็นหมู่คณะ โทรศัพท์ 09 2626 1515

E-mail : [email protected]

เว็บไซต์ : herechai.com, เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

herechai.com, เฟซบุ๊ก ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย - นาเฮียใช้



บทความแนะนำ


ver.88ตัวหนังสืออ่านให้จบจุดสำคัญโปรโมชั่นลิปเนือ้แมทลิปแท่งดินสอWorkshopSeasonSaleEndlipliplinerทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก