แหล่งท่องเที่ยวและศึกษาข้อมูล ตามรอยพ่อหลวง โครงการหลวงแห่งแรก

อ่าน 6,492

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขึ้นครองราชย์ ท่านทรงงานโดยมิได้ว่างเว้น เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนทั่วทุกภาคในประเทศ แม้จะเป็นที่ห่างไกลหรือทุรกันดารเพียงใด ท่านก็ไม่ทรงย่อท้อ พัฒนาพื้นที่จากที่ดินแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก เสมอมา

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ที่ท่านได้สอนให้ชาวดอย ปลูกผัก พืชเมืองหนาว ผลไม้ และดอกไม้ แทนการปลูกฝิ่น และในปัจจุบัน ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาข้อมูลที่นิยมมากๆ แห่งหนึ่งของคนไทย

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาสโครงการหลวงแห่งแรก ?ดอยอ่างขาง?สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ว่า ?ให้ช่วยเขา ช่วยตัวเอง? มีพระราชประสงค์ให้ชาวไทยภูเขาที่พักอาศัยอยู่ตามดอยต่างๆ ทางภาคเหนือเลิกปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ และต้นน้ำลำธารของประเทศถูกทำลาย

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเสด็จฯ โดย เฮลิคอปเตอร์

?ผมขึ้นมาครั้งแรกเดือนเมษายนปี 2517 พื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ชาวบ้านแผ้วถางป่า ทำไร่ แล้วก็เผา?จำรัส อินทร เจ้าหน้าที่รุ่นแรกของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เท้าความหลังถึงสถานีเกษตรหลวงแห่งแรกในความทรงจำ ?พวกเขาเผาทำไร่ฝิ่นครับ? ซึ่งในยุคนั้น ฝิ่นและข้าวไร่ถือเป็นพืชพื้นฐานสองชนิดที่ชาวเขานิยมปลูกบนพื้นที่สูงของไทย ข้าวไร่นั้นปลูกสำหรับบริโภคในครัวเรือน ส่วนฝิ่นนอกจากใช้แทนยาบรรเทาความเจ็บป่วยสารพัดแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกด้วย

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงทรงมีพระราชดำริว่า พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง

และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่งทำหารทดลองปลูก

จากเดิมที่เป็นดอยหัวโล้นแปรสภาพเป็นขุนเขาแห่งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ไม้ผล กว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และดอกไม้เมืองหนาวกว่า 20 ชนิด เป็นถิ่นที่อยู่ของ ชาวไทยภูเขาเผ่าจีนยูนาน ไทใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รับสั่งว่า ?ไม่ใช่ทองคำหรอก แต่เป็นสามเหลี่ยมยากจน คนปลูกฝิ่นไม่ได้เงินเท่าไหร่ คนเอาฝิ่นไปขายต่างหากถึงรวย? หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าถึงที่มาของโครงการหลวง

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ?โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา? เป็นโครงการส่วนพระองค์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ทดแทนฝิ่น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำอย่างเป็นระบบ

ภายหลังโครงการนี้ได้พัฒนาต่อมาจนกลายเป็น ?โครงการหลวง? ซึ่งเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้ และทรงได้พระราชทานนามว่า ?สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง?

หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ชาวเขาเดินเท้าเปล่าหรือไม่ ก็ลากรองเท้าแตะขึ้นดอยจนกลายเป็นความเคยชิน รองเท้า บูตยางจึงเป็น ?ของแปลกใหม่? ที่พวกเขาต้องใช้เวลาทำความรู้จักและรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ฉันใดก็ฉันนั้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนานอย่างการปลูกฝิ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งเวลา ความเข้าใจ และความอดทน

นับแต่วันแรกที่มีการทดลองปลูกพืชทดแทนฝิ่น องค์ความรู้ที่สั่งสมจากการลองผิดลองถูกและการแก้ปัญหาสารพัดบนพื้นที่สูงตลอดกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ หากยังข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงต่างประเทศด้วย ?เดิมอัฟกานิสถานเป็นแหล่งปลูกผลไม้ส่งยุโรป แอปริคอต เขาอร่อยมาก? ทุกวันนี้มูลนิธิโครงการหลวงมีสถานีเกษตรและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงนับสิบแห่งกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ

สถานีเกษตร ดอยอ่างขาง ปัจจุบัน

อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,989 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวม 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร จำนวน 4 เผ่า อันได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนกลางแจ้ง บริเวณสโมสรอ่างขางมีสวนกลางแจ้งหลายสวนที่ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้แตกต่างกันตามความเหมาะสมของฤดูกาล ได้แก่ สวนแปดสิบ สวนดอยคำ สวนหอม สวนสมเด็จ และสวนกุหลาบอังกฤษโรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาว จัดแสดงพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวงโรงเรือนไม้ดอก เป็นการจัดแสดงไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย เช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกินแมลง มุมน้ำตกในสวนสวย ซึ่งดอกดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปีสวนบอนไซ ภายในสวนจัดแสดงต้นไม้ประเภทสาลี่ เมเปิ้ล สน ที่ปลูกแบบบอนไซ นอกจากนี้ยังมีโดมทรงหกเหลี่ยมจัดแสดงพันธุ์พืชภูเขาเขตร้อนและดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุด ซึ่งจะออกดอกเดือนมกราคมของทุกปีพระตำหนักเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีฯ

ขอบคุณรูปภาพ ROD EYE VIEW

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

วิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง นับถือศาสนาพุทธ หากใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพชาวเขาจะไม่ผิดหวังแน่นอนวิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านขอบด้ง เป็นชาวเขามูเซอดำและมูเซอแดง นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอวิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านหลวง เป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมกุหลาบพันปี (Rhododendron) ในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะออกดอกผลิบานตลอดทางเดินจุดชมวิวกิ่งลม สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากท้องฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วยจุดชมวิวหมู่บ้านนอแล นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ความสวยงามของธรรมชาติบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยสัมผัสกับแสงแรกแห่งอรุณ และตะวันลับขอบฟ้าที่สวยงามได้กิจกรรมชมหิ่งห้อย ในยามค่ำคืนนักท่องเที่ยวจะเห็นแสงระยิบระยับของหิ่งห้อยเป็นจำนวนมากขี่จักรยานชมธรรมชาติที่สวยงามของแปลงเกษตรภายในสถานีฯ ในช่วงฤดูหนาว ช่วยเพิ่มความสนุกสนานน่าตื่นเต้นในการเที่ยวชมขี่ล่อชมธรรมชาติ สถานีฯ มีการจัดกลุ่มชาวบ้านนำล่อมาให้บริหารแก่นักท่องเที่ยวได้ขี่ชมสถานที่บริเวณแปลงต่างๆ ล่อเป็นสัตว์ลูกผสมระหว่างม้าและลา ผู้สนใจสามารถติดต่อเช่าขี่ล่อได้ที่สถานีฯดูนก ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ดูนกที่มีนกหลากหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่จะมีนกอพยพที่หาดูยาก

แผนที่การเดินทาง มายัง ดอยอ่างขางการเดินทาง

สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาวบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก(เส้นทางหมายเลข 1ในแผนที่) ถ้าเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกจะผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางจะค่อนข้างแคบแต่จะไม่ค่อยลาดชันเท่าใดนัก และเนื่องจากถนนเกือบตลอดทั้งสายจะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นช่วงเวลาที่จะสัญจรโดยถนนสายนี้ควรจะเป็นช่วงเช้าหรือกลางวันน่าจะดีกว่าช่วงบ่ายไปแล้ว เพราะถ้าเกิดรถเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาจะติดต่อขอความช่วยเหลือค่อนข้างลำบากหากยังไม่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกหมายเลข 1 ก็ขับรถตามถนนเรื่อยมาจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 137 จะถึงเส้นทางหมายเลข 2 ตามที่แสดงในแผนที่ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นสายหลักที่ใช้กันเป็นประจำ เมื่อมาถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขางจะมีป้ายบอกด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถตามถนนขึ้นมาเลย ทางเส้นนี้จะค่อนข้างลาดชันมาก จึงมีบริการเช่าเหมารถคิวสองแถวหน้าปากทางให้ขึ้นมาส่งได้ แต่หากตัดสินใจจะนำรถขึ้นมาเองก็ควรขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษการเดินทางสามารถใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมาประมาณ 1,000-1,500 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 053-884848 / 086-1947484

ขอบคุณที่มา และ ภาพประกอบ : นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก , อัลบั้มรูปสุดรักของคุณเตือนใจ ดีเทศน์, สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง



บทความแนะนำ


AndroidLauncherดูแลผิวความสวยความงามเทคโนโลยีLauncherBetaArrowผู้หญิงชีวิตความรักอาการทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก