ข้อแตกต่างระหว่างอาการโศกเศร้ากับโรคซึมเศร้า

อ่าน 10,595

การเป็นสมาชิกในกลุ่มเจนวายจะถูกมองว่าพวกเขามีนิสัยรักการสำรวจและชอบความสนุกสนาน ทว่าโรคซึมเศร้าก็ไม่ใช่ประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับคนกลุ่มนี้ด้วยเช่นกันเนื่องจากเรามักจะเชื่อมโยงโรคซึมเศร้ากับอาการโศกเศร้าเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกความแตกต่างระหว่างอาการโศกเศร้ากับโรคซึมเศร้า บางคนอาจละเลยและคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงแค่อาการโศกเศร้าขณะที่คนอื่นอาจจะแสดงออกมากเกินไปจนคิดว่าน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า

วิธีง่ายๆในการหาข้อแตกต่าง

ความเศร้าคืออารมณ์ปกติของมนุษย์ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราประสบด้วยตัวเองและพบได้ตลอดทั้งชีวิตของเรา ความรู้สึกโศกเศร้าอาจถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์หลากหลายอย่าง เรามักจะรู้สึกเศร้าเมื่อมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ พฤติกรรม การรับรู้ และความคิดของเรา แต่โรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกระตุ้น มันจะวนเวียนอยู่ในชีวิตของแต่ละคนและทำให้ทุกอย่างน่าพอใจน้อยลง

สัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีลักษณะอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและเพศ จากสถิติพบว่าผู้หญิงในช่วงอายุ 20+ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกันถึงสองเท่า และนี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าหนุ่มสาวในวัย 20+ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าที่จะเป็นแค่อาการโศกเศร้า

ขาดความสนุกสนานพวกเขาจะยังออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนแต่ว่าไม่รู้สึกถึงความสนุกเลยพลังงานต่ำสมาธิลดลงโรคซึมเศร้าอาจกลืนกินความคิดของเราไปจนหมด อาจมีใครสักคนสังเกตว่าจิตใจของพวกเขาเต็มไปด้วยความคิดในแง่ลบหรือทัศนคติเชิงลบในชีวิตเป็นส่วนใหญ่น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงมีความสนใจทางเพศลดลงรู้สึกสิ้นหวังนอนไม่หลับ ตื่นเช้าหรือนอนเยอะเกินไปหรือไม่อยากลุกออกจากเตียงเลยคิดทำร้ายตัวเองประชากรรุ่นเจนวายต้องผ่านประสบการณ์ทั้งทางจิตสังคมและชีววิทยาซึ่งจะทำให้พวกเขาเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าอย่างยิ่ง โดยทั่วไปโรคซึมเศร้าจะถูกกระตุ้นจากการสูญเสียซึ่งในช่วงอายุ 20+ นั้นอาจเต็มไปด้วยการสูญเสียที่เกิดขึ้น เช่น ตกงาน ไม่ได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตรตามที่คาดหวังไว้ เลิกคบกับคนสำคัญ รู้ว่าอาชีพในฝันไม่ประสบความสำเร็จในทันที สูญเสียเพื่อน และอื่นๆ ในบางกรณีวิถีชีวิตบางอย่างก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่น การดื่มจนเมาหัวราน้ำ รูปแบบการนอนที่ไร้คุณภาพ และพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ความกดดันจากการเรียนมักจะทำให้รู้สึกกังวลหรือซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็นความพยายามเพื่อให้ได้เกรดดีๆโดยการเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรหรือการฝึกงาน ?ที่สมบูรณ์แบบ? เพื่อให้ได้งานในฝัน มีหลากหลายวิธีที่สามารถบรรเทาให้ความรู้สึกซึมเศร้าลดน้อยลงได้ แม้ว่าหัวข้อด้านล่างนี้จะไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่างแต่เราก็เน้นเฉพาะกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

1. การบำบัดจิตใจ

การบำบัดจิตใจเป็นวิธีบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักบำบัดจะช่วยระบุปัจจัยต่างๆ ทั้งทางจิตวิทยา พฤติกรรม มนุษยสัมพันธ์ และสถานการณ์ที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าของพวกเขา

2. ขอความช่วยเหลือ

ปกติคนเรามักจะตัดการช่วยเหลือจากสังคม เพื่อนๆ และครอบครัวเมื่อรู้สึกสิ้นหวัง อย่างไรก็ตามการสนับสนุนจากกลุ่มคนเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า

3. ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง

อีกวิธีหนึ่งในการต่อสู้กับอาการซึมเศร้าคือการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และนอนหลับให้ได้อย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง บางครั้งในช่วงเวลาที่เรามุ่งเน้นไปที่ภาวะซึมเศร้าของตัวเอง การช่วยเหลือผู้อื่นก็สามารถทำให้เรามีเป้าหมายและมองโลกในแง่ดีมากขึ้น



บทความแนะนำ


พนมคดีอุ้มเรียกค่าไถ่30ลข่าวบันเทิงFLYOISHIJAPANแก๊งมังกรไต้หวันเจ้าพ่อนักบู๊นักบู๊เมืองไทยศาลอาญาโปรโมชั่นทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก