28 ธ.ค. วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์พระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี

อ่าน 4,887

28 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันคล้าย วันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี และทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรไทยที่มาจากเชื้อสายจีน

พระองค์ท่านทรงกอบกู้เอกราชให้ประเทศไทย

ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของพสกนิกรชาวไทย

ร่วมน้อมรำลึกถึงมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน วันนี้แคมปัส-สตาร์

ขอนำเรื่องราวพระราชประวัติมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ

สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277

มีพระนามเดิมว่า สิน พระราช

บิดาเป็นพ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋ว นามว่า ?นายไหฮอง แซ่แต้? พระมารดา

เป็นหญิงไทยนามว่า ?นกเอี้ยง?

สำหรับถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นน่าจะเกิดในแถบภาคกลาง

มากกว่าเมืองตาก ซึ่งมักว่ากันว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

ขณะทรงพระเยาว์

คลอดได้ 3 วัน มีงูเหลือมใหญ่เลื้อยเข้าไปขดรอบตัวทารก เป็นทักขิณาวัฏ

ขุนพัฒผู้เป็นบิดาเกรงว่าเรื่องนี้อาจลางร้ายแก่สกุล

จึงยกบุตรคนนี้ให้แก่เจ้าพระยาจักรี

แล้วเจ้าพระยาจักรีได้เลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม

และตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้เด็กน้อยคนนี้มา

ลาภผลก็เกิดมากมูลพูนเพิ่มมั่งคั่งขึ้นแต่ก่อน

เจ้าพระยาจักรีจึงกำหนดเอาเหตุนี้ขนานนามให้ว่า สิน

การศึกษา

ครั้นเมื่ออายุได้ 7 ขวบ เจ้าพระยาจักรีนำเข้าฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ต่อมาได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

เมื่ออายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดงานมงคลตัดจุกนายสิน

เป็นการเอิกเกริกและในระหว่างนั้น

มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏอยู่ถึง 7 วันจึงหนีไป

และในระหว่างนี้ นายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ในภาษาต่างประเทศ มี

ภาษาจีน (ในที่นี้หมายถึงภาษาหมิ่นใต้), ภาษาญวน และภาษาแขก

จนสามารถพูดคล่องได้ทั้ง 3 ภาษา และยังได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอม และคัมภีร์พระไตรปิฎก

วันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว

ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึงลงโทษทุกคน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายสิน โดยให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำประจานให้เข็ดหลาบ

นายสินถูกมัดแช่น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ พอดีเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น

พระอาจารย์ทองดีไปสวดพระพุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ

พระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอันเตวาสิก

ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ง มือยังผูกมัดติดอยู่กับบันได

แต่ตัวบันไดกลับหลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์

เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว

พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์

แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการรับขวัญ

ผนวช

ต่อมาเมื่อนายสินเรียนจบการศึกษา

เจ้าพระยาจักรีก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการภายใต้หลวงนายศักดิ์นายเวร

ภายหลังเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์จนมีอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์

เจ้าพระยาจักรีได้จัดการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้

โดยได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส และบวชอยู่นานถึง 3 พรรษา

ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุสินได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ ทองด้วง

เป็นประจำ เพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี

ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน

วันหนึ่ง ทั้งสองได้พบกับซินแสหมอดูชาวจีนผู้หนึ่ง

ซึ่งทำนายว่าทั้งสองมีลักษณะมีบุญที่จะขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นพระมหา

กษัตริย์ ซึ่งในเวลาต่อมา ทองด้วง สหายของสิน

ได้กลายมาเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลถัดจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์

แห่งกรุงศรีอยุธยาในทางพิธีการ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ขณะพระชนมายุได้ 34

พรรษา

พระปรมาภิไธย

  • สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า ?พระศรีสรรเพชร

    สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์

    หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร

    บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์

    มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ

    กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ

    ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน?

  • พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
  • จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ

    ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช

    1140 ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ

    พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร

  • ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
  • พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้

    48 พรรษา รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 15 ปี

    พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ

  • กอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น
  • ทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ

    ขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น

    เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง น

  • ทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม
  • ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา

    เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่

    28 ธันวาคมของทุกปีเป็น ?วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน?

    และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

ปราบดาภิเษก

ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และการเมืองเป็นสำคัญ ทำให้เจ้าตากมา ?ยับยั้ง?

อยู่ ณ เมืองธนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นราชธานีไม่ถาวร ก่อนหน้านั้น

เมืองธนบุรีถูกทิ้งร้าง มีต้นไม้ขึ้นและซากศพทิ้งอย่างเกลื่อนกลาด

ทำให้ต้องมีการเกณฑ์แรงงานจัดการพื้นที่ขึ้นมาใหม่

เจ้าตากยังมีรับสั่งให้คนไปอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยตอนปลายอยุธยาจาก

เมืองลพบุรีมายังเมืองธนบุรี

และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศตามโบราณราชประเพณี

หลังจากที่อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่

เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

แต่เอกสารทางราชการสมัยกรุงธนบุรียังคงเรียกนามเมืองหลวงตามเดิมว่า

?กรุงพระมหานครศรีอยุธยา?

เจ้าตากทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามแบบพระเจ้าแผ่นดิน

ครั้งกรุงเก่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129

ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้เฉลิมพระปรมาธิไธยว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ในขณะที่ยังมีพระชนมายุ 34

พรรษา

ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีผู้ที่มีแนวคิดต้องการรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยา

ขึ้นมาใหม่มาเข้าร่วมด้วยกับชุมนุมของพระองค์เป็นอันมาก

ทำให้สถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น

อีกทั้งพระองค์ยังทรงเริ่มประกอบพระราชกรณียกิจตามแบบอย่างพระมหากษัตริย์

แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึงสิทธิธรรม

การเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานียังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟู

เศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามกับพม่าด้วย

หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี

หรือ พระราชวังเดิมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310

เป็นพระราชวังหลวงซึ่งใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุง

?ป้อมวิไชยเยนทร์? และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?ป้อมวิไชยประสิทธิ์?

ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์

สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล

อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย

ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ



บทความแนะนำ


ภาพยนตร์ข้อมูลเที่ยวบินแอร์เอเชียเอ็กซ์ไทยแอร์เอเชียบุกยิงเกาหลีใต้สังเวียนเดือดSouthpaw:ข่าวล่าสุดผัวเก่าทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก