คูเวต-ซาอุดิ อาระเบียฆ่าตัดคอเจ้าชายและนักโทษแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย

อ่าน 11,129

Sheikh Faisal Abdullah Al-Jaber Al-Sabah was executed for the murder of his nephew in 2010 (Photo: Twitter)

สำนักข่าวคูนา (KUNA) สำนักข่าวทางการของประเทศคูเวตรายงานว่าเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2017 นักโทษคูเวต 7 คนถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเรือนจำกลางของประเทศ รวมทั้งเจ้าชายผู้หนึ่งในราชตระกูล อัล-ซาบาห์ (Al-Sabah) ผู้ครอบครองประเทศคูเวตด้วย ส่วนซาอุดิ อาระเบีย ก็ประหารชีวิตด้วยการฆ่าตัดคอเจ้าชายอีกผู้หนึ่งด้วย

ถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าชายในราชตระกูลถูกสั่งประหารชีวิต ทั้งๆที่อิมีร์เป็นผู้ทรงสิทธิขาดในประเทศ ทั้งนี้ ชิ๊ค ไฟซาล อับดุลลาห์ อัล-จาเบอร์ อัล-ซาบาห์ (Sheikh Faisal Abdullah Al-Jaber Al-Sabah) ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2011 ข้อหาฆ่าหลานชายของตัวเองซึ่งก็เป็นเจ้าชายเช่นกัน

เจ้าชายอัล-ชาบาห์ต้องโทษข้อหาฆาตกรรมรวมทั้งมีอาวุธและกระสุนปืนไว้ในครอบครองที่ไม่มีใบอนุญาต

ส่วนชายคูเวตอีกคนก็ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอร่วมกับชาวต่างชาติอีก 5 รายแยกเป็นชาวอียิปต์ 2,สตรีฟิลิปปินส์ 1 และชาวเอธิโอเปีย 1 ทั้งหมดต้องข้อหาฆาตกรรม,พยายามฆ่า ส่วนชายชาวบังคลาเทศต้องข้อหาลักพาและข่มขืน

พฤติกรรมแห่งคดีของชี๊คไฟซาล

ชี๊คไฟซาลถูกตั้งข้อหาว่าฆาตกรรมหลานชายของตัวเองคือ ชี๊ค บาซิล ซาเลม ซาบาห์ อัล ซาเลม อัล มูราบัค อัล ชาบาห์ เมื่อปี 2010 ชี๊คไฟซาลเดินทางไปเยี่ยมหลานชายของตัวเองที่วังมาซีลาห์ หลานชายนั้นเป็นลูกของพี่ชาย Sheikh Salem Sabah Al Salem Al Sabah เคยเป็นทูตคูเวตประจำสหรัฐอเมริกา

ทั้งคู่นั่งอยู่ในห้องด้วยกันจากนั้นชี๊คไฟซาลก็เชิญหลานชายออกไปขอคุยส่วนตัว สักพักเสียงปืนดังขึ้น ชิ๊คบาซิลถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่จับกุมชี๊คไฟซาลข้อหาฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ระบุว่าการสังหารหลานชายครั้งนี้น่าจะมีแรงจูงใจทางการเมือง โดยชี๊คไฟซาลเป็นร้อยเอกของกองทัพบกคูเวต ส่วนหลานไม่มีตำแหน่งใดในราชการ

เรื่องนี้เซราห์ เลียห์ วิทสัน ผู้อำนวยการกลุ่มฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ประจำตะวันออกกลางออกแถลงว่าการคูเวตประหารชีวิตนักโทษวันเดียว 7 คนถือว่าเดินมาผิดทางเป็นการส่งสัญญาณแนวโน้มกระจายออกไปทั่วภูมิภาค

ทั้งๆที่คูเวตระงับโทษประหารมาตั้งแต่ปี 2013

"รัฐบาลคูเวตควรสั่งระงับโทษประหาร" คำแถลงระบุ " การสั่งแขวนคอถึง 7 คนในวันเดียวถือเป็นแนวโน้มในภูมิภาคที่จะกลับมาใช้โทษประหารชีวิต"

เจ้าชายซาอุดิ อาระเบียก็ถูกตัดคอเดือนตุลาคม 2016

ไม่เพียงคูเว็ตเท่านั้น เจ้าชายเตอร์กิ บิน ซาอูด อัล-กาบีร์ แห่งราชวงศ์ซาอูด ผู้ครอบครองซาอุดิ อาระเบียก็ถูกประหารชีวิตเมื่อเดือนตุลาคม 2016 หลังจากที่รับสารภาพว่าได้สังหารเพื่อนร่วมชาติ นายเอเดล บิน สุไลมาน บิน อับดุลการีม อัล-มูไฮมีด ในระหว่างมีเรื่องชกต่อยกัน เหตุเกิดที่เขต อัล-ทูมามา นอกกรุงริยาร์ด ศาลสั่งประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2013 ด้วยการตัดคอ นับเป็นราชวงศ์องค์แรกถูกสังประหารชีวิตนับตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2017 เจ้าหน้าที่ซาอุดิ อาระเบียได้ตัดคอนายมามดูห์ อัล-อานซี หลังจากที่เขามีเรื่องทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมชาติและใช้ปืนยิงผู้อื่นตาย เหตุเกิดที่เมืองอาราร์ ทางตอนเหนือของประเทศบริเวณชายแดนซาอุดิ อาระเบีย-อิรัก

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่ากรุงริยาร์ดให้เหตุผลว่าการมีโทษประหารชีวิตภายใต้กฎหมายอิสลามของประเทศ แม้จะเป็นกฎหมายที่หนัก แต่เพื่อปราบปรามการก่ออาชญากรรมหรือบุคคลที่ประพฤติตนต่อต้านคุณค่าของรัฐ อีกทั้งการประหารชีวิตเจ้าชายในราชวงศ์ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า "ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย" ( nobody was above the law)

เจ้าชายเตอร์กิ บิน ซาอูด อัล-กาบีร์ ถูกประหารชีวิตด้วยการตัดคอเมื่อเดือนตุลาคม 2016 ( Photo/Wochit News)

ข้อมูลการสั่งประหารชีวิต

เมื่อปี 2015 ซาอุดิ อาระเบียสั่งประหาร 158 ราย ปี 2016 สั่งประหารชีวิต 153 ราย (ปี 1995 สั่งประหารชีวิตไป 192 ราย) การประหารชีวิตในซาอุดิ อาระเบียด้วยการตัดคออย่างเดียว

อิหร่านสั่งประหารหลายร้อยคนนับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา

จอร์แดนเคยระงับโทษประหารมา 8 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2014 เป็นต้นมาประหารไป 11 ราย

บาห์เรนเคยระงับโทษประหารมา 6 ปีและเมื่อต้นมกราคม 2017 ประหารไป 3 ราย

โทษประหารชีวิต

ประเทศส่วนใหญ่ที่มีโทษประหารในทางปฏิบัติถูกนำมาใช้ในคดีที่แตกต่างกัน (ขึ้นอยู่กับรัฐนั้นว่าจะตรากฎหมายออกมาใช้บังคับกับความผิดประเภทใด แต่ส่วนใหญ่แล้วมีดังนี้

คดีฆาตกรรม (การฆ่าผู้อื่น),การจารกรรม,การก่อกบฏ,การข่มขืนกระทำชำเรา, การคบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิท,การสังวาสที่ผิดธรรมชาติ(ซาดิมส์),การค้ายาเสพติด,การค้ามนุษย์(นำตัวไปใช้แรงงานเยี่ยงทาส,บังคับให้ค้าประเวณี),การทุจริตทางการเมืองเช่นการฉ้อโกงรัฐจะต้องถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต

กองทัพทั่วโลก มีศาลทหารกำหนดโทษประหารในความผิดโดยเฉพาะในช่วงสงครามเช่น ขี้ขลาด, ละทิ้งหน้าที่, ไม่เชื่อฟัง และกบฏ



บทความแนะนำ


ผู้หญิงหุ่นยนต์เทคโนโลยีโปรโมชั่นอันตรายน้ำยาลอกผิวขาวโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์ปูยักษ์ซีฟู้ดความสวยความงามทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก