จิตแพทย์ห่วงคนไทยเจ็บป่วยทางใจไร้ทางเลือกหันพึ่งโซเชียล มีเดียแต่เพื่อบันเทิงมากกว่าต่อยอด 4.0

อ่าน 13,716

จิตแพทย์ชี้คนไทยทุกวันแห่พึ่งโซเชียล มีเดียใช้เพื่อการบันเทิงมากกว่าหาความรู้ต่อยอดผลผลิตมีผลกระทบการพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 เผยทุกวัยใช้สื่อออนไลน์เพื่อความสนุกมากกว่าหาความรู้ คนทำงานใช้แก้เครียด คนสูงวัยใช้เพราะเหงา

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงการใช้สื่อออนไลน์ของประชาชนว่า ในไทยมีสัดส่วนการใช้สื่อออนไลน์เพื่อความสนุกสนานและสังคมมากกว่าการใช้เพื่อหาความรู้ในทุกกลุ่มวัย และมีการใช้ต่อเนื่องกันนานหลายชั่วโมง ทั้งนี้วัยเด็กติดโซเชียลฯเพราะ พ่อ แม่ติดเหมือนกันทำให้ละเลยความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนวัยทำงานใช้เพราะแก้เครียด และผู้สูงอายุใช้เพราะเหงา

ดังนั้นสาเหตุเป็นเพราะขาดความอบอุ่นภายในจิตใจทำให้หันไปหาความสนุกสนานผ่านสังคมออนไลน์ และไม่มีทางเลือกที่ดีเข้ามาทดแทน

ทั้งหมดนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์มากเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย แต่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการเรียนรู้และเพิ่มผลผลิต ซึ่งคิดว่าจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพราะถ้าอยากให้เราพ้นกับดักของประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ซึ่งมีเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง สังคมเป็นสุข ไม่เหลื่อมล้ำ มีการศึกษาที่มีคุณภาพ เครื่องมือที่สำคัญมากคือ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในสัดส่วนเพื่อการเรียนรู้และเพิ่มผลผลิตให้มากกว่านี้

ภาครัฐควรมีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสมสำหรับทุกกลุ่มวัยได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมพื้นที่สาธารณะจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมทดแทนการใช้งานสังคมออนไลน์ได้

"ไทยแลนด์ 4.0 คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ให้มาก หมายถึง เราต้องมีเวลาคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่อยู่แค่หน้าจอ เราต้องมีเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ซึ่งต้องใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ แต่ขณะนี้พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตมันตรงกันข้าม จุดแข็งของไทยคือใช้งานโซเชียลฯ เยอะ แต่จุดอ่อนคือใช้ความบันเทิงมากกว่า ดังนั้นต้องทำให้เกิดการใช้งานเพื่อการเรียนรู้และเพิ่มผลผลิตให้มากกว่านี้ หรืออย่างน้อยก็ขอให้มีสัดส่วนการใช้งานอย่างละครึ่งก็ยังดี" นพ.ยงยุทธกล่าว

นพ.ยงยุทธ์กล่าวว่าความจริงแล้วนักคิดทั้งหลายตั้งต้นที่การเปลี่ยนการปกครองพ.ศ. 2475 เป็นหลัก และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในปี 2575 ซึ่งทางรัฐมีแผนวัดผลการทำงานอยู่แล้วว่าแต่ละปีๆ จะเป็นอย่างไร แต่หากเราปรับตรงนี้ไม่ได้ เมื่อถึงปี 2575จริงๆ ก็บอกไม่ได้ว่านอกจากจะก้าวไปไม่ถึง4.0แล้วประเทศไทยจะล้าหลังไปอีกกี่ปี

นพ.ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต



บทความแนะนำ


โปรโมชั่นเทสโก้โลตัสอาภาแม็กกี้ข่าวล่าสุดฟ้าผ่ารถจักรยานยนต์แม้เบี้ยฟ้าผ่าตายทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก