แม่หนูให้กำเนิดลูกสำเร็จจากสเปิร์มที่แช่แข็งไว้ในอวกาศนานถึง 9 เดือน

อ่าน 7,446

อวกาศเป็นสถานที่อันตราย ภายนอกชั้นบรรยากาศของโลกเราเต็มไปด้วยรังสีพลังงานสูงต่างๆเช่นรังสีแกมมาและคอสมิคในปริมาณมาก ในทุกๆวันนักบินอวกาศในสถานี ISS ต้องเจอกับรังสีปริมาณสูงถึง 0.5 mSv หรือ 100 เท่าที่วัดได้บนพื้นโลก

แต่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยามานาชิของญี่ปุ่น นำโดย Teruhiko Wakayama ได้ทดสอบนำสเปิร์มจากหนูตัวผู้ 12 ตัวแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิ ?95?C แล้วส่งขึ้นไปเก็บไว้บนสถานีอวกาศ ISS เป็นเวลานาน 288 วัน โดยแบ่งสเปิร์มจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่เก็บไว้ในห้องทดลองบนพื้นโลกเป็นเวลานานเท่าๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ

และเมื่อนำสเปิร์มกลับจากอวกาศ ทีมงานก็พบว่า DNA ของสเปิร์มเสียหายจากการถูกรังสี ซึ่งจากที่เห็นไม่น่าจะเป็นสเปิร์มที่ใช้งานได้ แต่เมื่อลองฉีดสเปิร์มอวกาศเหล่านั้นเข้าไปในไข่ของหนูตัวเมีย ผลปรากฏว่าหนูตัวเมียสามารถตั้งครรถ์ได้ตามปกติและในอีก 3 สัปดาห์ต่อมา แม่หนูได้ให้กำเนิดลูกหนูที่แข็งแรงออกมามากมายถึง 73 ตัว

เมื่อทีมงานศึกษาลึกลงไปก็พบว่า DNA ที่เสียหายของสเปิร์มอวกาศได้รับการซ่อมแซมเติมเต็มโดยไข่ของหนูเพศเมีย ทำให้ขั้นตอนการพัฒนาเป็นเอ็มบริโอและเติบโตต่อไปกลายเป็นตัวอ่อนดำเนินไปตามปกติ

ทีมงานมองไกลถึงการสงวนเผ่าพันธุ์มนุษย์จากภัยพิบัติร้ายแรงโดยอาจนำสเปิร์มของมนุษย์และสัตว์สายพันธุ์ต่างๆไปเก็บไว้ในหลุมลึกทึ่เจาะเอาไว้เป็นพิเศษบนดวงจันทร์ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้สเปิร์มเหล่านั้นต้องถูกรังสีจากอวกาศ

ผลการทดลองนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences.



บทความแนะนำ


ที่เที่ยวเพลงฟังไม่ขึ้นผู้หญิงเล้าโลมเที่ยวต่างประเทศความสวยความงามทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก