Visa on Arrival ประตูสู่การเที่ยวต่างประเทศอีกหลายแห่งทั่วโลก

อ่าน 7,532

ไขข้อข้องใจ Visa on Arrival (VOA) คืออะไร ต้องทำที่ไหน สามารถเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศได้อีกหลายสิบประเทศจริงหรือไม่ แล้วต้องดำเนินการอย่างไร เรามีคำตอบ

การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นสิ่งที่ใครหลายคนใฝ่ฝัน

ซึ่งปัจจุบันก็มีประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถเดินทางไปเที่ยวได้โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่า

(ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา) มากถึง 29 ประเทศและดินแดน (อัพเดทรายชื่อที่ไม่ต้องขอวีซ่า)

เรียกได้ว่าแค่มีพาสปอร์ตและเงินก็สามารถที่จะไปลั้ลลาเมืองนอกได้แล้ว

แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามีวีซ่าอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถที่จะขอได้

ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น เรียกว่า Visa on

Arrival

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้นักท่องเที่ยวคนไทยสามารถไปเที่ยวต่างประเทศได้อีกหลายสิบประเทศและดินแดนทั่วโลก

(รวมประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าแล้ว)

ภาพจาก Kseniya Lanzarote / Shutterstock.com

Visa on Arrival คืออะไร

Visa on

Arrival เป็นวีซ่าที่สามารถทำได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง

และจะได้รับเมื่อเดินทางถึงประเทศที่เป็นจุดหมายการเดินทาง

ซึ่งจะได้รับตรงจุดตรวจคนเข้าเมือง โดยวีซ่าประเภทนี้

นักท่องเที่ยวสามารถขอได้เลย ณ

ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศนั้น ๆ

ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องขอรับการตรวจลงตราล่วงหน้า

ภาพจาก Iryna Rasko / Shutterstock.com

Visa on Arrival แตกต่างจาก Visa Free อย่างไร

Visa

Free

ก็คือการที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยจะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเข้าประเทศนั้น

ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว เรียกง่าย ๆ

คือเป็นประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอวีซ่านั่นเอง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 29

ประเทศและดินแดน

ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถไปเที่ยวได้เลยโดยที่ไม่ต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทาง

ส่วน

Visa on Arrival หรือวีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง

ก็ถือว่าเป็นวีซ่าประเภทหนึ่ง ต้องมีการขอก่อนเข้าประเทศจุดหมายปลายทาง

นักท่องเที่ยวสามารถขอได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง

ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ

ก็คือเราสามารถที่จะซื้อตั๋วเครื่องบินไป-กลับยังประเทศนั้น ๆ

แล้วค่อยไปทำวีซ่าเข้าเมืองที่สนามบินของประเทศนั้น ๆ ได้เลย

บางคนเดินทางท่องเที่ยวหลายประเทศในแถบเดียวกัน

ก็สามารถไปขอ Visa on Arrival ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของอีกประเทศได้

โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้าจากประเทศไทยนั่นเอง

(หากเอกสารครบถ้วนและมีจุดประสงค์การเดินทางที่ชัดเจน

ส่วนใหญ่จะได้รับการพิจารณาให้เข้าประเทศ) เช่น การไปเที่ยวประเทศจอร์เจีย

(ไม่ต้องขอวีซ่า) ซึ่งมีเขตติดต่อกับประเทศอาร์มีเนีย (Visa on Arrival)

บางคนอาจจะอยากเดินทางไปเที่ยวประเทศอาร์มีเนียด้วย ก็สามารถที่จะทำ Visa

on Arrival ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจุดต่าง ๆ ของประเทศอาร์มีเนียได้เลย

โดยที่ไม่ต้องขอวีซ่าจากเมืองไทยไปก่อนล่วงหน้า

จำไว้ว่า

Visa Free คือไม่ต้องขอวีซ่า

ลงเครื่องบินปุ๊บเดินไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย แต่ Visa on Arrival

จะต้องขอก่อนที่จะไปยังจุดตรวจคนเข้าเมืองเสมอ

ทั้งนี้การเข้าประเทศต่าง

ๆ ทั้งประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่า และต้องขอ Visa on Arrival

นักท่องเที่ยวจะได้เข้าประเทศจุดหมายปลายทางหรือไม่

ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งสิ้น

หากตรวจสอบพบว่ามีเอกสารการเดินทางครบถ้วน

และมีจุดประสงค์เข้าประเทศตรงตามที่ได้ยื่นขอวีซ่าไว้

ก็จะได้รับการพิจารณาให้เข้าประเทศได้

Visa on Arrival ทำได้ที่ไหน

Visa

on Arrival ต้องทำ ณ

ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินของประเทศที่มีข้อตกลงให้ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถทำ

Visa on Arrival ได้เท่านั้น

และแต่ละประเทศจะมีเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นขอวีซ่าแตกต่างกันออกไป

ต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ทางการของประเทศและดินแดนจุดหมายปลายทาง

Visa on Arrival เสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

Visa

on Arrival ถือได้ว่าเป็นวีซ่าประเภทหนึ่ง

เพราะฉะนั้นจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นปกติ

ซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ประเทศนั้น

และก็อาจจะมีบางประเทศที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมด้วยเช่นกัน

(ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดก่อนเดินทางอีกครั้ง)

Visa on Arrival มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวอย่างไร

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยแล้ว

ถ้าต้องการไปเที่ยวต่างประเทศ

นอกจากจะมีประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าให้ไปท่องเที่ยวได้ง่าย ๆ แล้ว

ก็ยังมีประเทศที่สามารถขอ Visa on Arrival

ให้ได้เดินทางไปเที่ยวกันแบบง่ายดายอีกด้วย ถึงแม้ว่า Visa on Arrival

จะเป็นวีซ่าประเภทหนึ่ง ที่ใครอาจจะแย้งในใจว่ายังไงก็ต้องทำวีซ่าอยู่ดี

แต่มันก็มีข้อดีตรงที่ เราไม่ต้องเผื่อเวลาในการขอวีซ่าล่วงหน้า

ไม่ต้องยุ่งเรื่องเอกสารมากเท่ากับประเทศที่ขึ้นสถานะ Visa Required

และบางประเทศหรือดินแดนยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าอีกด้วย อาทิ

หมู่เกาะโซโลมอนและฟิจิ

รายชื่อประเทศและดินแดนที่ไม่ต้องขอวีซ่า (Visa Free)

1. อาร์เจนตินา อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

2. บาห์เรน* อนุญาตให้อยู่ได้ 14 วัน

3. บราซิล อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

4. บรูไน* อนุญาตให้อยู่ได้ 14 วัน

6. ชิลี อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

7. เอกวาดอร์* อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

8. จอร์เจีย* อนุญาตให้อยู่ได้ 365 วัน

9. ฮ่องกง อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

10. อินโดนีเซีย* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

11. ญี่ปุ่น* อนุญาตให้อยู่ได้ 15 วัน

12. สาธารณรัฐเกาหลี อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

13. ลาว อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

14. มาเก๊า อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

15. มองโกเลีย อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

16. มาเลเซีย* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

17. มัลดีฟส์* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

18. เมียนมา อนุญาตให้อยู่ได้ 14 วัน เริ่มวันที่ 11 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป

19. ปานามา* อนุญาตให้อยู่ได้ 180 วัน

20. เปรู อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

21. ฟิลิปปินส์* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

22. รัสเซีย อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

23. เซเชลส์* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

24. สิงคโปร์* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

25. แอฟริกาใต้* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

26. ไต้หวัน* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

27. ตุรกี* อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

28. วานูอาตู* อนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน

29. เวียดนาม อนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน

หมายเหตุ

1. * หมายถึง ประเทศที่ประกาศยกเว้นการตรวจลงตราแก่ไทยฝ่ายเดียว ที่เหลือนอกจากนั้นคือประเทศที่ทำความตกลงทวิภาคีกับไทย

2.

รัฐบาลของเขตการปกครองพิเศษไต้หวันได้ประกาศยกเลิกการตรวจลงตราวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวชาวไทย

โดยมีผลบังคับทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2561

รายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยเดินทางไป

และไม่จำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราล่วงหน้า โดยสามารถขอ Visa on Arrival

(VOA) ได้ (อ้างอิงจาก consular.go.th) เช่น

1. ประเทศฟิจิ สามารถพำนักได้ไม่เกิน 4 เดือน (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

2. ประเทศจอร์แดน สามารถพำนักได้ไม่เกิน 30 วัน (40 ดีนาร์จอร์แดน)

3. ประเทศคีร์กีซสถาน สามารถพำนักได้ไม่เกิน 15 วัน/1 เดือน (50 เหรียญสหรัฐ/60 เหรียญสหรัฐ : สำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา)

4. ประเทศเนปาล สามารถพำนักได้ไม่เกิน 15 วัน (25 เหรียญสหรัฐ), ไม่เกิน 30 วัน (40 เหรียญสหรัฐ) และไม่เกิน 90 วัน (100 เหรียญสหรัฐ)

5. หมู่เกาะโซโลมอน สามารถพำนักได้ไม่เกิน 3 เดือน (ไม่มีค่าธรรมเนียม)

6. ประเทศติมอร์-เลสเต สามารถพำนักได้ไม่เกิน 30 วัน (30 เหรียญสหรัฐ)

นอกจากนี้ยังมีประเทศและดินแดนอีกหลายสิบแห่งที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย

สามารถขอ Visa on Arrival (VOA) ได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ passportindex.org (เพื่อความถูกต้องของข้อมูล ควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งในเว็บไซต์ทางการของประเทศและดินแดนจุดหมายปลายทาง)

ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกและโอกาสดี

ๆ สำหรับคนไทยที่อยากไปเที่ยวต่างประเทศ

ใครที่ใฝ่ฝันอยากไปหาประสบการณ์ใหม่ ได้รู้จักกับมิตรภาพดี ๆ

และได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ก็ลองพิจารณาประเทศเหล่านี้กันดูนะคะ

และก็ห้ามลืมที่จะเช็กข้อมูลต่าง ๆ ก่อนการเดินทางเด็ดขาด

เพราะถ้ามีอุปสรรคติดขัด อาจจะพาลเที่ยวไม่สนุกนะคะ :)

หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2560

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

consular.go.th, passportindex.org, henleyglobal.com



บทความแนะนำ


ความรักผู้หญิงหัวใจเต้นช้าลงผู้ชายParataเด็กเตรียมเด็กแข่งข้อสอบเซ็กส์หัวใจเต้นช้าลงทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก