รู้จักวิธีอ่าน ฉลากโภชนาการ อีกหนึ่งตัวช่วย ควบคุมปริมาณสารอาหารได้

อ่าน 8,754

อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องบริโภคเข้าไปทุกวัน

เพื่อนำไปเสริมสร้างประโยชน์และพลังงานให้แก่ร่างกาย

และในยุคที่คนหันมาดูแลเรื่องสุขภาพแบบนี้ การอ่าน ฉลากโภชนาการ

บนผลิตภัณฑ์หรืออาหารสำเร็จรูปต่างๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

เพราะมันจะทำให้เราได้รู้ว่า หากทานเข้าไปแล้ว

เราจะได้รับสารอาหารชนิดได้บ้าง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมอาหาร

หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDsทั้งหลายที่จำเป็นต้องควบคุมปริมาณสารอาหารด้วย เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคอ้วนลงพุง เป็นต้น

ฉลากโภชนาการ คือ

ฉลากอาหารที่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ

ซึ่งระบุชนิดและปริมาณสารอาหารของอาหารนั้นในกรอบสี่เหลี่ยมเรียกว่า

?กรอบข้อมูลโภชนาการ? ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบเต็มและแบบย่อ

1.ฉลากโภชนาการแบบเต็ม เป็นฉลากที่

แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญควรทราบ 15 รายการ

สำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด

สามารถแสดงฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบในลักษณะแบบแนวนอนหรือแบบขวางตามที่

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

2.ฉลากโภชนาการแบบย่อ

ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จากจำนวนที่กำหนดไว้ 15 รายการนั้น

มีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์

จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ

ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน

สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม

มากกว่าปริมาณสูงสุดที่แนะนำ ดังนี้ พลังงานไม่ควรเกิน 2,000 กิโลแคลอรี

น้ำตาลไม่ควรเกิน 65 กรัม ไขมันไม่ควรเกิน 65 กรัม โซเดียมไม่ควรเกิน 2,400

มิลลิกรัม

วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ

1. ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค เป็นปริมาณการกินต่อครั้งที่แนะนำให้ผู้บริโภครับประทาน

2. ดูจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ เป็นจำนวนที่บอกว่าถ้ากินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะแบ่งกินได้กี่ครั้ง

3. ดูคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ว่าจะได้พลังงานเท่าใด สารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด

4. ดูร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guidline Daily Amounts : GDA)

หรือฉลากหวานมันเค็ม โดยเป็นการ

แสดงปริมาณสารอาหารได้แก่ พลังงาน(กิโลแคลอรี) น้ำตาล(กรัม) ไขมัน(กรัม)

และโซเดียม(มิลลิกรัม) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (ถุง ซอง กล่อง)

โดยจะแสดงฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์

โดยมีการบังคับการแสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ในกลุ่มอาหาร 5 กลุ่ม คือ

กลุ่มอาหารขนมขบเคี้ยว กลุ่มช็อกโกแลต กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ

กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารมื้อหลักแช่เย็นแช่แข็ง

โดยผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบ

คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ได้ทันทีจากตัวเลขด้านหน้า

และยังนำไปปรับใช้ในการบริโภคอาหารให้สมดุล ดังนี้

1.หากกำลังควบคุมน้ำหนัก ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณพลังงานน้อย

2.หากกังวลเรื่องน้ำตาล หรือเป็นโรคเบาหวานควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย

3.หากกังวลเรื่องไขมัน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง อ้วน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมันน้อย

4.หากกังวลเรื่องโซเดียม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมน้อย

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการจัดทำตราสัญลักษณ์

?ทางเลือกสุขภาพ? (Healthier Choice) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง

มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

และสมาคมนิสิตเก่าคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(สวก.)

โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส.

เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

ที่มีคุณสมบัติทางโภชนาการอย่างเหมาะสม

และเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม การรู้จักอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง

ย่อมทำให้เราควบคุมปริมาณสารอาหารที่จะไดรับในแต่ละวันได้

และถ้าอยากห่างไกลจากโรค NCDs ก็ควรลดบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง

อาหารรสจัดอย่าง หวานจัด มันจัด เค็มจัด

เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินแล้วล่ะ

ค่ะ

ที่มา :www.thaihealth.or.th



บทความแนะนำ


ที่กินชอร์ตเค้กเค้กวานิลลาบราวนี่ช็อคโกแลตงานวัดมนต์เลิฟสิบหมื่นหนังกลางแปลงโรตีโอ่งทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก