สรงน้ำพระธาตุเมืองสร้อย เมืองร้างใต้บาดาลทะเลสาบแม่ปิง

อ่าน 7,479

นุ บางบ่อ...เรื่อง / ภาพ

ท่ามกลางอากาศร้อนระอุของวันต้นเดือนเมษายน 2559

ทุกอณูบนผืนแผ่นดินไทยช่วงนี้ไม่ว่าจะบ่ายหน้าไปทางไหนดูเหมือนแสงแดดจะแผด

เผาไปทั่ว อากาศร้อนไม่ค่อยมีผู้ใดปรารถนานัก

มันช่างเป็นช่วงเดือนที่น่ากลัวและเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตใจเหลือเกิน

หลายคนที่คุ้นเคยชักชวนผมให้ร่วมเดินทางไปคลายร้อนด้วยการไปรับลมทะเลตาม

ชายหาดต่างๆ ทางชายฝั่งตะวันออก

แต่ผมคิดว่านั่นคือการไปรับลมลมร้อนเสียมากกว่า

ผมกลับขอเลือกไปคลายร้อนยังทะเลสาบน้ำจืด เช่น ตามเขื่อนกักเก็บน้ำต่างๆ

การได้ลงแช่น้ำจืดท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรที่เงียบสงบน่าจะเป็นทางออกที่ดี

กว่า

ประกอบกับมีสหายเก่าแจ้งข่าวเรื่องการเดินทางไปยังดินแดนใต้บาดาลทะเลสาบแม่

น้ำปิง ที่ในหนึ่งปีเราจะสามารถเดินทางไปยังที่แห่งนี้ได้เพียงครั้งเดียว

เนื่องจากในช่วงฤดูแล้ง

น้ำปิงจะลดลงต่ำมากและเมืองใต้บาดาลที่สาบสูญไปจะผุดขึ้นมาให้เราได้พบเห็น

อย่างน่าอัศจรรย์ นั่นคือ ?เมืองสร้อย เมืองร้างใต้บาดาลทะเลสาบแม่ปิง?

การเดินทางของผมเริ่มขึ้นในเวลากลางดึกของวันที่ 7 เมษายน 2559

ผมใช้เวลาในการขับรถ 5 ชั่วโมง ก็ได้มาถึงเขื่อนภูมิพล จ.ตาก

จากนั้นเช้าตรู่ของวันที่ 8 เมษายน 2559

ผมต้องจอดรถไว้ที่ลานจอดของเขื่อนภูมิพลแล้วเดินทางต่อด้วยแพลากขนาดใหญ่

ทื่ชื่อว่า แพพรจามเทวี

เพื่อเดินทางต่อไปยังด้านเหนือเขื่อนเป็นระยะทางประมาณ 70

กิโลเมตร...มันเป็นระยะทางที่ไกลมากทีเดียวสำหรับการเดินทางไปบนผิวน้ำที่

เงียบสงบ แต่ทว่าไม่มีความน่าเบื่อเลยแม้แต่น้อย

สายลมพัดเย็นเข้ามาจากทุกทิศทาง

ด้านข้างมีธรรมชาติของขุนเขาปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่อันมีสายน้ำปิงไหลคด

เคี้ยวไปตามซอกซอนตามทิศตามทางธรรมชาติของมัน

ระหว่างช่วงเวลาที่กำลังเพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์นั้น

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องมิ้นท์ผู้เป็นลูกสาวของท่านเจ้าของแพพรจามเทวี

แพที่เปรียบเสมือนสะพานบุญที่ยิ่งใหญ่ในวันนี้ น้องมิ้นท์เล่าให้ฟังว่า

ปกติแล้วแพพรจามเทวีนั้นให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไปโดยจะพานักท่อง

เที่ยวไปชื่นชมธรรมชาติเหนือเขื่อนภูมิพล

ในช่วงฤดูที่เขื่อนแห่งนี้มีปริมาณน้ำมากก็สามารถพาขึ้นไปถึง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่

แต่ถ้าหากเป็นช่วงฤดูแล้งที่มีปริมาณน้ำน้อยอย่างช่วงนี้

แพจะสามารถเดินทางมาถึงได้เพียงบริเวณเมืองสร้อย

อันเป็นจุดหมายปลายทางที่ผมกำลังจะเดินทางไปในทริปนี้

น้องมิ้นท์เล่าต่อไปว่า คุณแม่ของเธอมีความศรัทธาต่อวัดพระธาตุแก่งสร้อยมาก ในทุกๆ ปีช่วงก่อนถึงวันสงกรานต์

ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุ

และคุณแม่ของเธอจะเป็นหัวเรี่ยวแรงสำคัญในการรวบรวมปัจจัยและผู้คนที่มีความ

ศรัทธาต่อองค์พระธาตุให้ร่วมเดินทางไปสรงน้ำพระธาตุร่วมกัน

ดังเช่นปีนี้คุณแม่ของเธอได้นำผ้าพระบฎสีเหลืองอร่ามปักห้อยด้วยภู่มาลัย

อันประณีตบรรจงติดไว้ด้วยความศรัทธาแรงกล้า เพื่อนำไปห่มองค์พระธาตุสีทอง

เป็นเครื่องสักการะแสดงออกถึงความเลื่อมใสในพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาเนิ่น

นานนับพันปี...สำหรับผมแล้วคุณแม่ของเธอนั้นเปรียบเสมือนสะพานบุญ

ที่ช่วยนำพาผู้คนบนแพกว่าร้อยชีวิตนี้ไปสู่ดินแดนพุทธภูมิอันเร้นลับ

ที่ถูกปกปิดไว้ด้วยผืนน้ำผืนป่าในดินแดนแห่งแคว้นล้านนา

บนแพขนาดใหญ่ 3 หลังผูกติดกัน ถูกลากจูงด้วยเรือยนต์

ไหลเอื่อยทวนกระแสน้ำปิงขึ้นไปทางทิศเหนือ

ราวกับการเดินทางไปสู่ดินแดนลึกลับ หลายช่วงเวลาขณะที่แพเคลื่อนหน้าไป

ผมแลเห็นเหลี่ยมเขาตรงหน้าปิดกั้นคล้ายกับประตูที่บดบังขวางไว้

แต่เมื่อเราเข้าไปใกล้มากขึ้นเหลี่ยมเขาก็เบี่ยงเบนเปิดออกให้เราได้เลี้ยว

เลาะไปทางขวาบ้างซ้ายบ้าง

พอจะคิดได้ว่า...?ธรรมชาตินั้นไม่ได้ปิดกั้นใครเลย

หากว่าเราได้เข้าไปสัมผัสแล้ว เราก็จะพบทางออกที่สวยงามเสมอ?

แต่ถ้าหากว่าเราเกิดท้อแท้ถอยหลังกลับเสียก่อน

คิดว่าหนทางข้างหน้าไร้ซึ่งทางออก เราก็คงต้องพ่ายแพ้อยู่ร่ำไป...

7 ชั่วโมง บนสายน้ำปิงผ่านไปอย่างเพลิดเพลินจนผมลืมเวลา

หลายคนบนแพเริ่มส่งเสียงฮือฮาระคนความตื่นเต้น

บ้างชี้มือไปเบื้องหน้าอันมีทิวทัศน์ไม่คุ้นตา

ภาพแห่งองค์พระธาตุสีทองเหลืองอร่ามงดงามประดิษฐานลอยเด่นอยู่บนเนินเขา

ใกล้กันบนเนินเขาอีกลูกหนึ่งมีพระพุทธรูปที่ผุดพ้นผิวน้ำแลเห็นเป็นโบราณ

วัตถุจากเมืองใต้บาดาล

ไกลออกไปเห็นพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานบนฉากหลังแห่งขุนเขา

แทบไม่น่าเชื่อว่าบริเวณนี้ที่รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้

จะมีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่งดงามน่ามหัศจรรย์

หากแต่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธาอย่างแรงกล้าจึงจะสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้

ให้คนรุ่นต่อไปได้ชื่นชม เพื่อทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่สืบต่อไป

ตำนานพระธาตุแก่งสร้อย

มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ณ ดินแดนแห่งนี้เมื่อสองร้อยปีก่อน

เคยเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อว่าเมืองศรีอุดม มีผู้คนอาศัยอยู่กันอย่างมากมาย

ด้วยเพราะทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

ชาวเมืองมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ซึ่งพิจารณาได้จากหลักฐานต่างๆ

ที่บ่งบอกว่าในบริเวณนี้มีวัดเป็นจำนวนมากถึง 99 วัด

โดยมีวัดพระธาตุแก่งสร้อยเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางของเมือง

วันเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

เกิดสงครามการสู้รบกันระหว่างเมืองใหญ่

ผู้คนในเมืองสร้อยแห่งแคว้นล้านนาถูกกวาดต้อนลงไปยังภาคกลางเพื่อเสริมกำลัง

ให้แก่กรุงศรีอยุธยา

เมืองสร้อยที่เคยรุ่งเรืองสว่างไสวได้กลับกลายเป็นเมืองเล็กเกือบจะรกร้าง

ผู้คน จนมาถึงช่วงเวลาแห่งการสร้างเขื่อน

ผู้คนในบริเวณนี้ถูกอพยพโยกย้ายไปอยู่ยังที่ได้จัดไว้ให้ทดแทน

เมื่อเขื่อนถูกสร้างเสร็จสายน้ำปิงด้านเหนือเขื่อนได้สูงเอ่อขึ้นท่วมทุก

สิ่งอย่างให้จมอยู่ใต้บาดาลไร้ผู้คนพบเห็นอีกต่อไป

เมืองสร้อยจึงกลายเป็นเมืองพุทธภูมิที่รุ่งโรจน์อยู่ใต้ทะเลสาบแม่น้ำปิง

เหลือไว้เพียงเรื่องราวเล่าขานจากคนรุ่นสู่รุ่นรอถึงวันลืมเลือนไปในที่สุด

ประมาณปี พ.ศ. 2467 ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย

ได้เดินทางมาบูรณะวัดพระธาตุแก่งสร้อย

ให้กลับฟื้นคืนความสว่างขึ้นมาอีกครั้ง

เปรียบเสมือนแสงเทียนสว่างนำทางผู้คนจากทั่วสารทิศให้เดินทางมาสู่เมืองร้าง

แล้วร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์

ให้วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ฟื้นคืนกลับมาเป็นอารามล้ำค่าเพื่อเชิดชูสืบทอด

พุทธศาสนา เป็นที่พึ่งให้แก่ผู้สัญจรผ่านไปมาทางสายน้ำปิง

จากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนการบูรณะในครั้งนั้นจึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

และต่อมาครูบาเจ้าชัยยะวงษาพัฒนา

นักบุญผู้สืบสายครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สืบทอดเจตนาผู้เป็นอาจารย์

บูรณะวัดพระธาตุแก่งสร้อยขึ้นอีกครั้งจนมีสภาพที่ดีขึ้นดังที่เห็นใน

ปัจจุบัน

สรงน้ำพระธาตุ , ถวายผ้าพระบฏ

เราเองผู้เป็นพุทธศาสนิกชน

การร่วมบุญเพื่อดำรงไว้ซึ่งประเพณีดีงามและเป็นการแสดงออกถึงความเลื่อมใส

ศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในหนึ่งปีอาจมีเพียงหนึ่งวันที่เราจะได้ถวายน้ำสรงองค์ธาตุ

เพื่อสร้างกุศลผลบุญแก่ตนเองให้ความสุขร่มเย็นดังน้ำที่เราได้บรรจงสรงองค์

ท่าน ถือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตที่น่าพึงกระทำ

วันที่ 8 เมษายน 2559 ในช่วงเวลาใกล้ค่ำ

แพพรจามเทวีจอดเทียบท่าหน้าวัดพระธาตุแก่งสร้อย

ผู้คนในแพต่างเคลื่อนย้ายขึ้นบนฝั่งของเมืองใต้บาดาล

หลายคนช่วยหอบหิ้วเครื่องไทยธรรมบ้างช่วยแบกขนข้าวสารอาหาร

และหลายคนช่วยลำเลียงผ้าพระบฏที่ปักร้อยภู่มาลัยสวยงามแพรวพรรณ

ขึ้นไปตั้งเป็นริ้วขบวนชวนให้น่าศรัทธา นำหน้าด้วยตุงทองฆ้องกลอง

เสียงโห่ร้องดังกึกก้องไปทั่วบริเวณเป็นการประกาศให้ดินแดนแคว้นล้านนารับ

รู้ว่า

วันนี้เหล่ามวลประชาบากบั่นดั้นด้นมาเพื่อทำนุสืบต่อพระพุทธศาสนาให้แรงกล้า

ต่อไป

ในช่วงเวลาพลบค่ำ

ท่ามกลางความเงียบสงบสายลมเย็นพัดตุงทองให้ปลิวสะบัดพัดพริ้วไสว

ผ้าพระบฏถูกนำไปห่มองค์พระธาตุสีทองอย่างเรียบร้อยอำพัน

หญิงชราผู้ร่วมบุญบางคนถึงกับน้ำตาเอ่อล้นและไหลรินไปตามริ้วรอยลงปริ่ม

แก้ม นั่นคือน้ำตาแห่งความปิติดีใจ

โดยที่แกปล่อยให้น้ำตาของแกไหลลงสู่พื้นพระธาตุ

ซึ่งอีกไม่นานน้ำตาหยดนั้นก็จะถูกผสานหลอมรวมไปกับสายน้ำปิงที่ปกปิดพื้นที่

แห่งนี้ให้อยู่ใต้บาดาล เป็นเพียงตำนานเล่าขานสืบต่อไป

สนันสนุนเนื้อหา โดยนุ บางบ่อ



บทความแนะนำ


เตือนภัยสมุนไพรน้ำต้มผักความรู้สึกความรักมิจฉาชีพมะเร็งอุบลราชธานีทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก