ทูตอเมริกาพบนายกฯ หารือกรณีเกาหลีเหนือขอการสนับสนุนจากอาเซียน ก่อนนายกฯ ประชุมอาเซียนที่ฟิลิปปินส์

อ่าน 6,863

ทูตสหรัฐฯ เข้าพบนายกฯ ก่อนประชุมสุดยอดอาเซียน หารือสถานการณ์เกาหลีเหนือ โดยคาดสหรัฐฯต้องการให้ไทยร่วมกับอาเซียน ผนึกกำลังคว่ำบาตรเกาหลีเหนือตามมติสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 - นายกลิน ที เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองของสหรัฐอเมริการะดับสูง ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. โดยไม่มีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้าและใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมระหว่างวันที่ 28-30 เมษายนนี้ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยสหรัฐฯ ต้องการให้สมาชิกอาเซียนยึดตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2321 (ค.ศ.2016) เกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นการหารือสืบเนื่องมาจาก

สำนักข่าวเอเอฟพีได้รายงานว่า เกาหลีเหนือ ได้ส่งจดหมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เรียกร้องให้อาเซียนสนับสนุนเกาหลีเหนือ ในความขัดแย้งที่เกาหลีเหนือมีกับสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยง สิ่งที่เกาหลีเหนือเตือนว่าอาจเป็นการ ?สังหารหมู่ด้วยนิวเคลียร์?

ทั้งนี้จดหมายดังกล่าวซึ่งส่งถึงเลขาธิการอาเซียน นายรี ยองโฮ รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือเตือนว่า สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีนั้นสุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนากลายเป็นสงคราม เหตุเพราะพฤติกรรมของสหรัฐ และเรียกร้องเลขาธิการอาเซียนให้แจ้งกับคณะมนตรีต่างประเทศ 10 ชาติอาเซียน เกี่ยวกับสถานการณ์อันเคร่งเครียดในคาบสมุทรเกาหลี และมอบข้อเสนอหนึ่งแก่พวกเขา พร้อมกันนั้นยังได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างยืดยาวต่อการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้

สำหรับภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งยังเป็นวาระครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งอาเซียน มีหัวข้อของการประชุมในครั้งนี้ คือ "Partnering for Change, Engaging the World" ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันทบทวนว่าอาเซียนควรปรับปรุงในด้านใดเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเพื่อกำหนดทิศทางต่อไปในอนาคตของอาเซียนตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2025

โดยทิศทางของไทยในการประชุมคือการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับการมีพลวัต นวัตกรรม และมีความเชื่อมโยงอย่างสร้างสรรค์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและกับโลก พร้อมให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน เช่น นวัตกรรม วิสาหกิจเกิดใหม่ การสร้าง ASEAN branding สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย นอกจากนี้ นายกฯ จะผลักดันให้อาเซียนเร่งสร้างความเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกอาเซียน ตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ปี 2025 เน้นการพัฒนาไปสู่ประชาคมที่ส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงวัยของอาเซียน

ทั้งนี้ในการประชุมอาเซียนซัมมิตครั้งนี้ ยังมีอีกประเด็นที่นานาชาติจับตามอง คือการกดดันฟิลิปปินส์กรณีสงครามปราบปรามยาเสพติดที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน และอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

โดยแอมเนสตี้เชิญชวนผู้นำอาเซียนให้ร่วมกันแสดงจุดยืนคัดค้านการนองเลือดใน ?สงครามยาเสพติด? ของฟิลิปปินส์ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 7,000 คน ในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 30 ของประชาคมอาเซียน (อาเซียนซัมมิต) วันที่ 26-29 เมษายนนี้

แชมพา พาเทล ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าระหว่างที่ผู้นำอาเซียนกำลังนั่งประชุมในสถานที่อันสะดวกสบาย พวกเขาควรระลึกบ้างว่าประชาชนหลายพันคนถูกสังหารจากมาตรการอันโหดร้ายของประธานาธิบดีดูแตร์เต ผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาจากชุมชนชายขอบที่ถูกละเลย ซึ่งทำให้สงครามยาเสพติดเป็นเหมือนสงครามต่อคนยากจนมากกว่า

?การที่ฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพอาเซียนซัมมิตควรเป็นตัวกระตุ้นให้รัฐบาลต้องเร่งสอบสวนการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมนี้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องประกาศอย่างชัดเจนว่าจะมีการนำตัวผู้กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนระลอกนี้? แชมพา พาเทล กล่าว

แอมเนสตี้ชี้ว่าการสังหารจนวนมากในสงครามยาเสพติดของฟิลิปปินส์เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อธรรมนูญอาเซียน โดยเฉพาะการฝ่าฝืนต่อปฏิญญาที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามข้อ 20(4) ของธรรมนูญอาเซียน โดยก่อนหน้านี้แอมเนสตี้ทั่วโลกมากกว่า 20 ประเทศได้ร่วมลงนามในจดหมายที่ส่งถึงทางการฟิลิปปินส์เพื่อเรียกร้องให้สืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสงครามยาเสพติดอย่างมีมาตรฐานโดยทันที

นอกจากนี้ แอมเนสตี้ระบุด้วยว่าหากไม่มีการสืบสวนอย่างจริงจัง ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ควรพิจารณาเริ่มการไต่สวนเบื้องต้นต่อกรณีดังกล่าว โดยใช้อำนาจตามธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute)

ขอบคุณที่มา: http://www.thaitribune.org/contents/detail/302?content_id=27240&rand=1493360488Source :https://www.amnesty.or.th/news/press/988http://www.matichon.co.th/news/542899http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3319



บทความแนะนำ


ดูดวงความเข้มแข็งโรแมนติกบทเรียนรักMessageDirectTwitterความเชื่อทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก