เหตุการณ์ชวนสะพรึง เรื่องราวอาถรรพ์ที่เคยเกิดขึ้นใน "วันศุกร์ที่ 13" ความเชื่อหรือความจริง!!?

อ่าน 11,295

ศุกร์ 13 ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ถือเป็นวันที่โชคร้ายเป็นอย่างมาก โดยมีที่มาจากตำนานอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The Last Supper) ที่มีคนร่วมทานอาหารทั้งหมด 13 คน ก่อนที่พระองค์จะถูกนำตัวไไปตรึงบนไม้กางเขนในวันศุกร์ จึงเชื่อกันว่าวันศุกร์เป็นวันที่ไม่ดีจะมีเรื่องราวร้าย ๆ เกิดขึ้นนั่นเอง

และก็ได้มีการบันทึกเรื่องราวทั้ง 13 เรื่องอันเลวร้ายเหล่านี้ไว้ ซึ่งเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 พอดิบพอดีเลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้หลายคนเกิดความเชื่อและมีข้อพิสูจน์ได้ว่าแท้จริงแล้วศุกร์ 13 อาจเป็นวันที่นำมาซึ่งความโชคร้ายจริง ๆ ก็เป็นได้ ซึ่งแต่ละเรื่องจะแปลกและชวนสยองแค่ไหน ไปชมกันเลย..

ศุกร์ 13 พฤศจิกายน 1829

ภาพประกอบจาก www.snipview.com

เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่ความเชื่อร้าย ๆ ของวันศุกร์ที่ 13 ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเลย เป็นเรื่องของแซม แพทช์ นักกระโดดท้ามฤตยูที่โชว์การกระโดดลงมาจากหน้าผาของน้ำตกไนอาการ่ามาแล้วเป็นสิบ ๆ ครั้ง แต่ครั้งนี้หลายคนว่ากันว่าเขาเมามาก่อนที่จะมาแสดง ทำให้ตอนที่กระโดดลงมานั้นผิดท่าและลงผิดจุดจากปกติ ส่งผลให้เขาเสียชีวิตจากการแสดงในครั้งนี้

ศุกร์ 13 มกราคม 1939

ภาพประกอบจาก energensolutions.com.au

ในวันนั้นเกิดเหตุไฟไหม้ป่าทั่วรัฐวิคตอเรียของประเทศออสเตรเลีย มีผู้เสียชีวิตมากถึง 36 คนในวันนั้นเพียงวันเดียว (แต่ถ้านับทั้งเดือนจะมากถึง 71 ราย) นอกจากนี้ไฟยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ 75% ของรัฐอีกด้วย อาคารบ้านเรือนกว่า 1,300 หลังถูกทำลายจนหมด ซึ่งสาเหตุเกิดจากชาวไร่ที่ขาดความรอบคอบคิดจะเผาทำลายพืชผักที่ไม่โตในฤดูแล้งนั้นนั่นเอง

ศุกร์ 13 กันยายน 1940

เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นฝ่ายนาซีกำลังขยันทิ้งระเบิดใส่กรุงลอนดอน โดยเฉพาะที่พระราชวังบัคกิ้งแฮมที่โดนระเบิดไปถึง 16 ครั้ง แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนั้นเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 เมื่อระเบิด 5 ลูกถูกทิ้งใส่พระราชวัง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ โชคดีที่พระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระราชินีอลิซาเบธทรงปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระเบิดอีกหลายลูกตามมาแต่พ้นระยะสร้างความเสียหายให้แก่พระราชวังบัคกิ้งแฮมไปแล้ว

ศุกร์ 13 กรกฎาคม 1951

ภาพประกอบจาก www.crh.noaa.gov

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกามีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคมแล้ว ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นทั่วและหลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง จนกระทั่งวันศุกร์ที่ 13 นั้นระดับน้ำในแม่น้ำสูงถึง 12.4 เมตร ย่านธุรกิจในเมืองต้องจมอยู่ใต้น้ำสูง 2.4 เมตร มีผู้เสียชีวิต 28 รายและผู้คนอีกกว่า 5 แสนคนต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นจนกว่าระดับน้ำจะลดลง ความเสียหายคิดเป็นเงิน 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นวิกฤตน้ำท่วมที่ร้ายแรงที่สุดของย่านมิดเวสต์ในยุคนั้นเลยศุกร์ 13 มิถุนายน 1952

เหตุการณ์นี้เกือบเป็นชนวนให้เกิดสงครามร้อนทั้งๆ ที่ยังอยู่ในยุคสงครามเย็นแล้ว เมื่อเครื่องบินขนส่งทางทหาร DC-3 ของสวีเดนพร้อมลูกเรือ 8 คนถูกยิงตกโดยสหภาพโซเวียต สวีเดนอ้างว่าเป็นเครื่องบินฝึกบิน และโซเวียตปฏิเสธว่าตนเป็นผู้ยิง หลังจากนั้นทางสวีเดนก็ส่งเครื่องบินไปตามหา DC-3 แต่เครื่องบินรบของโซเวียตก็ยิงเครื่องบินที่ไปค้นหาของสวีเดนอีกลำ จากนั้นสวีเดนกับโซเวียตก็ไม่พูดกัน จนผ่านไปเกือบ 40 ปี สวีเดนจึงออกมายอมรับว่า DC-3 จริง ๆ เป็นเครื่องบินสอดแนม และโซเวียตก็ออกมายอมรับเช่นกันว่าตนเป็นคนยิงจริง ๆ ซากเครื่องบิน DC-3 เพิ่งถูกค้นพบในปี 2003 พร้อมศพลูกเรือ 4 คน ส่วนอีก 4 คนที่เหลือยังหาไม่พบ

ศุกร์ 13 มีนาคม 1964

ภาพประกอบจาก www.diversityact.org.au

เรื่องนี้เป็นข่าวคึกโครมสุด ๆ ในยุคนั้นเลย แถมยังส่งผลต่อกระแสสังคมในทุกวันนี้อีกด้วย นั่นคือข่าวการทำร้ายร่างกายคิตตี้ เจโนวีส เจ้าของบาร์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ก คิตตี้ถูกแทงและข่มขืนเป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง มีพยานเห็นเหตุการณ์ถึง 38 คน แต่ไม่มีซักคนที่โทรแจ้งตำรวจ เพราะทุกคนคิดว่า "คงมีคนโทรไปแล้ว" คดีนี้กลายมาเป็นการศึกษาทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Kitty Genovese syndrome หรือ Bystander Effect แม้การสืบสวนในภายหลังจะพบว่าพยานหลายคนเห็นการทำร้ายแค่เพียงไม่นานหรือเห็นว่าคิตตี้เสียชีวิตแล้ว แต่ก็ยังมีพยานจำนวนหนึ่งที่เห็นคาตาแต่กลับเมินหน้าหนี ไม่รีบแจ้งตำรวจให้ ฉะนั้นถ้าเห็นเหตุการณ์คนทำร้ายกัน ต่อให้อ้างว่าเป็นเรื่องของผัวเมียก็ไม่ควรผ่านไปเฉย ๆ

ศุกร์ 13 พฤศจิกายน 1970

ภาพประกอบจาก china.org.cn

วันนั้นคือวันที่บังกลาเทศถูกพายุไซโคลนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศพัดเข้าถล่ม พายุไซโคลนโพลาคร่าชีวิตคนไปกว่า 3 แสนคน พายุดันน้ำสูง 5 เมตรเข้าท่วมทั้งบังกลาเทศ ผู้คนต้องปีนต้นไม้เพื่อหนีน้ำ ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จึงเหลือเพียงผู้ชายร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์อายุ 15 - 49 ปี ส่วนเด็ก สตรี คนชรา และผู้ป่วยส่วนมากโดนน้ำพัดหายไปศุกร์ 13 ตุลาคม 1972

ภาพประกอบจาก www.mirror.co.uk

วันนั้นทีมรักบี้จากอุรุกวัยเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อไปแข่งที่ชิลี แต่ระบบนำร่องเกิดเสียทำให้เครื่องบินตกบนภูเขาหิมะ แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ผู้โดยสาร 27 คนจาก 45 คนรอดชีวิตจากการกระแทก แต่พวกเขาต้องเอาชีวิตรอดในอากาศหนาวโดยไม่มีอุปกรณ์กันหนาวใด ๆ ต้องกินน้ำโดยทำให้หิมะละลาย และเมื่อหิวสุด ๆ ก็ต้องตัดใจกินเนื้อเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้ว หลังจากนั้นก็เจอเหตุการณ์หิมะถล่ม รวมถึงโรคร้ายต่าง ๆ ที่คร่าชีวิตไปอีกหลายคน จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคมที่ผู้รอดชีวิต 2 คนเสียสละปีนเขาออกไปหาคนช่วย ทำให้สุดท้ายแล้วมีผู้รอดชีวิต 16 คนในวันที่ 23 ธันวาคม เหตุการณ์นี้กลายมาเป็นหนังสือและภาพยนตร์เรื่อง Alive

ศุกร์ 13 ตุลาคม 1972

ภาพประกอบจาก listverse.com

ในวันเดียวกันนี้อีกด้านหนึ่งของโลกก็เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกเช่นเดียวกัน เมื่อเครื่องบินจากปารีสมายังมอสโคว์ตกใกล้สนามบินในมอสโคว์ขณะเตรียมนำเครื่องลง ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 174 คนเสียชีวิตทันที ส่วนสาเหตุนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นเครื่องยนต์ทำงานผิดพลาด หรือนักบินอาจเสียการควบคุมเครื่องหลังเครื่องโดนฟ้าผ่า

ศุกร์ 13 สิงหาคม 1993

ภาพประกอบจาก listverse.com

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรานี่เอง เป็น 1 ในโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงมาก ๆ ของประเทศเลย นั่นคือเหตุการณ์ที่โรงแรมเจ้าพระยาพลาซ่าในจังหวัดนครราชสีมาถล่มลงมา โรงแรมนี้ถือว่าหรูสุด ๆ ในโคราชยุคนั้นเลย แต่การต่อเติม 3 ชั้นบนในปี 1990 นั้นทำโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สุดท้ายก็ถล่มลงมาในวันนั้นนั่นเอง ซึ่งวันนั้นมีงานประชุมครูและงานของบริษัทน้ำมันด้วย มีผู้เสียชีวิต 137 ราย และผู้บาดเจ็บอีก 227 คน

ศุกร์ 13 กันยายน 1996

ภาพประกอบจาก testtube.com

Tupac (ทูแพ็ค) แร็ปเปอร์ชื่อดังของอเมริกาในยุคนั้นถูกยิงในวันที่ 7 กันยายน ก่อนที่จะเสียชีวิตที่โรงพยาบาลลาสเวกัสในวันศุกร์ 13 ทุกวันนี้ยังปิดคดีไม่ได้ มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับแรงจูงใจในการฆ่า บ้างก็ว่าทูแพ็คยังไม่ตาย และแอบไปใช้ชีวิตสันโดษที่ไหนซักแห่งอยู่

ศุกร์ 13 ตุลาคม 2006

ภาพประกอบจาก U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration

ปกติรัฐนิวยอร์กก็เจออากาศหนาวและกองหิมะหนา ๆ ทุกฤดูหนาวอยู่แล้ว แต่ในปีนั้นหลายเมืองในนิวยอร์กมีหิมะตกจนสูงถึง 56 เซนติเมตรในเดือนตุลาคม บางเมืองสูงถึง 61 เซนติเมตรด้วยซ้ำ ผู้คนกว่า 1 ล้านคนในเมืองบัฟฟาโล่ไม่มีไฟฟ้าใช้หลายสัปดาห์ แถมตอนนั้นพายุหิมะนี้ยังยากต่อการพยากรณ์ความรุนแรงด้วย กรมอุตุฯ สหรัฐถึงกับบอกว่าไม่มีคำพูดใดที่จะใช้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้เห็นภาพชัดเจนพอ

ศุกร์ 13 มกราคม 2012

เหตุการณ์สุดท้ายนี้เป็นเหตุการณ์เรือพลิกคว่ำ เรือสำราญ Costa Concordia ที่ล่องอยู่บริเวณชายฝั่งทอสคานีเกิดไปชนแนวปะการังนอกเกาะ Isola del Giglio จึงเริ่มตะแคงและค่อยๆ จมลง ตอนแรกผู้โดยสารก็อพยพโดยเรือช่วยชีวิต แต่เรือช่วยชีวิตก็ลอยออกมาได้ไม่ไกลนักก่อนจะหยุดนิ่งเมื่อติดปะการังอีกแนว แม้เฮลิคอปเตอร์จะมาช่วยคนจากในเรือช่วยชีวิตได้ทัน แต่เหตุการณ์นี้ก็มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 32 คน ส่วนกัปตันของเรือนั้นก็โดนจับหลายกระทง ทั้งทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตและทิ้งเรือไปทั้งที่ควรอยู่สั่งการการอพยพ ที่จริงแล้ววันศุกร์ 13 ก็เป็นวันธรรมดา ๆ วันหนึ่งในสัปดาห์ อย่างเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้นก็มีอัตราการเกิดพอ ๆ กับวันอื่น ๆ ตามสถิติของ Aviation Safety Network แล้ววันที่เกิดอุบัติเหตุทางการบินมากที่สุดคือวันเสาร์ และรองลงมาคือวันพุธ ฉะนั้นไม่ต้องวิตกกังวลอะไรไปนะคะ



บทความแนะนำ


ตะกร้อชายคู่นักแสดงนางเอกทายนิสัยความรักผู้ชาย2015ซีเกมส์ซีเกมส์ครั้งที่ไม่น้อยใจทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก