'gloomy sunday' ตำนานเพลงแห่งความตาย ที่ฆ่าชีวิตของคนกว่า 200 รายทั่วโลก!

อ่าน 4,577

เป็นที่เล่าลือกันมาสำหรับเพลง 'gloomy sunday' (วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า) ที่แต่งขึ้นโดยนักกวีชาวฮังการีผู้หนึ่งชื่อฮังกา เรียนนามเรสโซ เซเรสส์ จุดเริ่มต้นมาจากเรสโซเป็นที่เป็นนักแต่งเพลงยากจน เขาพยายามหาเลี้ยงตัวเองอยู่ในปารีส แต่ชีวิตของเขาก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ เพลงที่แต่งก็ขายไม่ได้ ส่งผลให้เกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาของเขาบ่อยครั้ง จนถึงขั้นเลิกรา

ซึ่งต่อมาเขาได้แต่งเพลงหนึ่งขึ้นในช่วงเวลาที่เขากำลังเครียด เศร้าหมองและหดหู่ ด้วยเปียโนของเขา เขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็ประพันธ์เพลงเสร็จ จากนั้นจึงได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆแต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ และสุดท้ายก็มีสำนักพิมพ์บทประพันธ์แห่งหนึ่งรับไว้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเพลงนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังมหานครต่างๆทั่วโลก

โดยหลังจากปล่อยเพลงได้เกิดเหตุขึ้นในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี ชายหนุ่มคนหนึ่งได้ขอให้วงดนตรีเล่นเพลงกลูมมี่ซันเดย์ให้ฟัง หลังจากนั้นเขากลับบ้านและระเบิดศีรษะด้วยปืนรีวอลเวอร์ ซึ่งก่อนจากไปเขาได้บ่นกับญาติๆว่า เขารู้สึกกดดันอย่างรุนแรงกับท่วงทำนองเพลงที่เขาไม่อาจลบมันออกไปได้

สัปดาห์ต่อมาที่กรุงเบอร์ลิน สาวผู้ช่วยร้านขายของแขวนตัวตายอยู่ในแฟลตที่พัก พบบทเพลง กลูมมี่ซันเดย์ อยู่ที่ห้องของเธอ จึงสันนิธานว่าน่าจะเป็นสาเหตุมาจากเพลงดังกล่าว

สองวันหลังจากนั้น เลขานุการิณีในนิวยอร์กได้ฆ่าตัวตายด้วยแก๊ส ในจดหมายลาตายของเธอได้ขอร้องให้เล่นเพลงนี้ในงานศพของเธอด้วย

สัปดาห์ถัดมา ชาวนิวยอร์กอีกรายเป็นชายวัย 82 ได้กระโดดจากหน้าต่างอพาร์ตเมนท์ชั้น 7 ลงมาตาย โดยก่อนตายเขาได้เล่นเพลงนี้

ในเวลาไล่เลี่ยกัน วัยรุ่นกรุงโรมก็กระโดดสะพานฆ่าตัวตาย หลังจากที่ได้ฟังเพลงมรณะนี้เช่นเดียวกัน

ไม่นานนักเจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนึ่งก็ได้ยิงตัวตายหลังจากที่ได้อ่านเนื้อเพลงนี้

รายต่อมาเป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่พยายามกินยาพิษเมื่อได้ยินเพลงนี้จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง

ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งในกรุงบูตาเบส ชายคนหนึ่งก็ได้ยิงตัวตายในขณะที่เพลงนี้กำลังบรรเลงอยู่ และยังมีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นอีกมากมาย

แต่ที่น่าตกใจสุดคือ ผู้ประพันธ์เพลงนี้เองก็ได้เจอชะตากรรมอันเลวร้ายเช่นกัน เมื่อเขากำลังคิดจะไปขอคืนดีกับภรรยา แต่เขากับได้รู้ว่า คนรักของเขาได้กินยาพิษฆ่าตัวตายไปแล้ว ที่ข้างศพของเธอคือแผ่นกระดาษบทเพลงกลูมมี่ซันเดย์นั่นเอง

จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลฮังการีสั่งห้ามไม่ให้เปิดเพลงนี้ออกสื่อทุกช่องทาง แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังคงเกิดในหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศอังกฤษ ซึ่งทางบีบีซีก็ได้ถูกสั่งห้ามเปิดเพลงนี้เช่นกัน แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์ขึ้นเหมือนกัน แต่กลับตัดสินใจที่จะไม่ทำอย่างรัฐบาลอังกฤษและฮังการี

สรุปได้ว่า เหยื่อของบทเพลงนี้มีประมาณ 200 รายทั่วโลก ซึ่งต่อมาในปี 1968 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ช็อกโลกขึ้นอีกครั้ง เมื่อชายหนุ่มชาวอังกฤษคนหนึ่งได้กระโดดจากชั้น 8 ของอาคารแห่งหนึ่งลงมาตาย ซึ่งปรากฎว่า เขาคนนั้นคือ เรสโซ เซเรสส์ ซึ่งมีจุดจบไม่ต่างจากผู้ฟังคนอื่นๆเช่นกัน



บทความแนะนำ


ความสวยความงามร้านTropicalMonkeyผู้หญิงร้านอาหารที่กินการศึกษาทรงผมทรงผมสั้นทรงผมประบ่าทรงผมถักเปียดูดวงดวงความรัก